ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
อารยธรรม
คำว่า อารยธรรม มีความหมายตามศัพท์ว่า เจริญงอกงาม ตรงกับภาษาอังกฤษว่า civilization มาจากคำภาษาละตินว่า civilis ซึ่งหมายถึง พลเมือง civitas แปลว่า เมืองหรือนคร ความหมายของอารยธรรมทั่วไปจึงมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์อารยธรรมและสังคมเมืองพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (1367)ให้ความหมาย อารยธรรมว่า ความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งศีลธรรมและกฎหมาย; ความเจริญเนื่องด้วยองค์การของสังคม เช่น การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม, ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี โดยทั่วไปอารยธรรมหลักของโลกมีลักษณะเด่น คือ การมีความเจริญเป็นรุปแบบเฉพาะของตนเองและสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะร่วมกัน คือ อารยธรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยได้รับแรงกระตุ้นจากอารยธรรมที่เก่าแก่กว่า ดังเช่น อารยธรรมอียิปต์โบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมเมโสโปเตเมียในช่วงระยะหนึ่ง
กำเนิดของอารยธรรกับพัฒนาการความคิด
ความเจริญและวิทยาการทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันล้วนมีรากฐานมาจากอารยธรรมในสมัยโบราณแทบทั้งสิ้น
ทั้งนี้ได้มีการผสมผสานกันและเชื่อมโยงกันระหว่างอารยธรรมเก่าและใหม่และมีการสืบทอดกันต่อๆ
มา แหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลกสมัยโบราณเกิดขึ้นที่บริเวณราบลุ่มแม่น้ำที่สำคัญ
โดยเริ่มจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์โบราณ อารยธรรมอินเดียโบราณ
และอารยธรรมจีนโบราณ ต่อจากนั้นเป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นบริเวณริมฝั่งทะเล คือ
อารยธรรมกรีกโบราณ และมาสิ้นสุดสมัยนี้ที่อารยธรรมโรมันโบราณ
อารยธรรมเหล่านี้ถือว่าเป็นแหล่งเชื่อมสัมพันธ์และติดต่อกันและเป็นรากฐานของความเจริญให้แก่ดินแดนทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออกในปัจจุบัน
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมเปอร์เซีย
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุและอินเดีย
อารยธรรมจีน
อารยธรรมกรีก
ประเด็นทางความคิดหลักๆ
วิทยาศาสตร์กับอภิปรัชญาสมัยใหม่