ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมเปอร์เซีย
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุและอินเดีย
อารยธรรมจีน
อารยธรรมกรีก
ประเด็นทางความคิดหลักๆ
วิทยาศาสตร์กับอภิปรัชญาสมัยใหม่
วิทยาศาสตร์กับอภิปรัชญาสมัยใหม่
คำว่า วิทยาศาสตร์ (science) ในพจนานุกรมได้ให้ความหมายไว้ว่า
ความรู้ที่ได้โดยการสังเกตและค้นคว้าจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียน,
วิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ
นั่นหมายความว่าวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีระเบียบวิธีในการศึกษาอย่างเป็นระบบ
โดยอาศัยขบวนการที่มีประสบการณ์เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้
ซึ่งอิทธิพลของการเจริญเติบโตของวิทยาศาสตร์นั้นก็มีส่วนอย่างยิ่งในการพัฒนาความคิดของมนุษย์ในยุคต่างๆ
ถึงแม้บางยุคสมัยความคิดทางวิทยาศาสตร์อาจจะถูกครอบงำโดยความคิดทางศาสนาบาง
แต่ความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ไม่สายเกินไปที่จะรอให้ความจริงปรากฏออกมาในยุคต่อๆ
มา
เมื่อมนุษย์ได้พัฒนาความเฉลียวลาดและสมองขึ้นจากสภาพที่เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งขึ้นได้แล้ว
มนุษย์ก็พยายามเรียนรู้ พยายามทำความเข้าใจในเรื่องของธรรมชาติ
เรื่องของโลกและจักรวาล เป็นต้น ในบรรดากลุ่มชนของโลกสมัยโบราณ
กลุ่มชนที่มีความสนใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องของวิทยาศาสตร์ ก็คือ ชาวกรีก
โดยกรีกได้รับแรงกระตุ้นจากความเจริญทาวิทยาศาสตร์ของอียิปต์โบราณ
ซึ่งได้ริเริ่มทางคณิตศาสตร์ การทำปฏิทิน การสร้างเขื่อน
การระบายน้ำและการสร้างสุสาน
แต่กรีกมาได้รับยกย่องในฐานะเป็นผู้ใฝ่หาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ
ทั้งที่ไม่มีเครื่องมือในการตรวจสอบหรือทดลองแต่อย่างใด
ชาวกรีกสามารถใจถึงสาเหตุของการท่วมท้นฝั่งของแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ว่า
เป็นเพราะมีน้ำไหลบ่ามาจากเอธิโอเปีย
โดยที่ชาวอียิปต์ยังเขลาในเรื่องนี้เพราะเชื่อว่าเป็นการดลบันดาลของเทพเจ้า
ชาวกรีกยังเข้าใจของการเกิดจันทรคราส
และยังตั้งสมมติฐานว่าแสงของดวงจันทร์เป็นแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์
เมื่อเวลาผ่านไปคนสมัยปัจจุบันจึงพบว่า
ชาวกรีกโบราณนั้นถือว่าเป็นพวกที่มีความรู้ก้าวหน้ามากที่สุกแห่งหนึ่ง เช่น
ทฤษฎีเกี่ยวกับอะตอมได้เริ่มต้นมาจากดิโมคริตุส (Democritus) ซึ่งมีชีวิตระหว่าง
460-370 ปีก่อนคริสตกาล และจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ชื่อต่างๆ
ทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีต้นกำเนิดมาจากภาษากรีก เช่น อะตอม (atom)
คราส (eclipse) ถ้วยยูเรกา (Eureka) เป็นต้น
ความรุ่งเรืองสมัยแรกของกรีกโบราณที่เรียกว่า สมัยเฮเลนนิค (Hellenic)
นับเป็นช่วงของการปูพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ในระยะนี้พวกกรีกพยายามตั้งสมมติฐาน
พยายามหาคำตอบตามแนววิทยาศาสตร์ เช่น การตั้งสมมติฐานว่า
สิ่งสำคัญที่เป็นต้นเหตุหรือปฐมธาตุของโลกและสรรพสิ่งคืออะไร ซึ่งมีนักคิดหลายๆ
ท่านได้เสนอทฤษฎีขึ้น อาทิ ธาเลส (Thales) ได้เสนอว่า ปฐมธาตุคือน้ำ อะแนกซิมีนิส
(Anaximenes) เสนอว่า เป็นอากาศ เป็นต้น ความคิดที่รุดหน้าไปมากในยุคนี้ก็คือ
ความคิดด้านคณิตศาสตร์ ชีววิทยา และการแพทย์
นักคิดอีกท่านหนึ่งที่ตั้งทฤษฎีเรขาคณิตขึ้นมาก็คือ ไฟธากอรัส (Pythagoras)
และเขายังเป็นผู้ที่ใช้คำว่า คอสมอส (cosmos) หรือจักรวาล
และพูดถึงความสอดคล้องและความเป็นระเบียบที่งดงามของจักรวาล
ซึ่งต่อมากลุ่มลูกศิษย์ของไฟธากอรัสได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับตัวเลขและจัดระบบตัวเลข
โดยกำหนดให้มีเลขคี่ เลขคู่และเลขที่ไม่มีตัวหารลงตัว
นักคิดรุ่นแรกที่ให้ความสนใจเรื่องชีววิทยาก็คือ อะแนกซีมานเดอร์
(Anaximander) โดยเสนอทฤษฎีพัฒนาการของอินทรีย์
ซึ่งมีรากฐานจากหลักของการให้ชีวิตอยู่รอดโดยการปรับตัวให้เข้ากับภาวะแวดล้อม
ชีวิตเริ่มแรกปรากฏขึ้นในทะเล ซึ่งปกคลุมส่วนใหญ่ของโลก ต่อมาเมื่อทะเลเหือดแห้งลง
สิ่งมีชีวิตก็ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่กลายมาเป็นสัตว์บกและปรับตัวต่อมา
จนท้ายที่สุดมาเป็นมนุษย์
ส่วนนักคิดที่เป็นผู้วางรากฐานทางชีววิทยาที่แท้จริงก็คือ อริสโตเติล
(Aristotle) ซึ่งถือว่าเป็นนักปราชญ์ที่ให้กำเนิดแนวความคิดหลายๆ ด้าน เช่น ปรัชญา
การเมือง เศรษฐศาสตร์ ตรรกวิทยา วรรณคดี ดาราศาสตร์ และชีววิทยา เป็นต้น
ในส่วนของชีววิทยา ซึ่งอริสโตเติลได้ศึกษาโครงสร้าง อุปนิสัย
และการเจริญเติบโตของสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะแมลงหลายชนิดและปลาบางชนิด เช่น ปลาไหล
ปลาฉลาม เป็นต้น
ในส่วนของการแพทย์นั้นมีนักคิดที่เป็นผู้บุกเบิกก็คือ เอมปิโดคลีส
(Empedocles) เขาพบว่า เลือดไหลไปสู่หัวใจและกลับออกมาจากหัวใจ
รูตามผิวหนังมีส่วนช่วยถ่ายเทอากาศเวลาหายใจ ส่วนอัลซ์มีออน (Alcmeon)
เริ่มผ่าตัดสัตว์ และพบเส้นประสาทของสายตาและพบว่า สมองเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท
แต่นักคิดที่เป็นผู้วางรากฐานที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ คือ ฮิปโปเครตีส
โดยได้วางกฎการวินิจฉัยทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งประกอบด้วยการสังเกตอย่างระมัดระวังโดยใช้วิธีวิเคราะห์
การรวบรวมหลักฐานอย่างอดทน และการเปรียบเทียบข้อมูลเหล่านั้น
ฮิปโปเครตีสเสนอหลักว่า โรคทุกชนิดมีสาเหตุจากธรรมชาติ
หากไม่มีสาเหตุจากธรรมชาติจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นได้
นับเป็นการล้มเลิกการอธิบายสมุฐานของโรคว่า เป็นเพราะสิ่งลึกลับเหนือธรรมชาติ
นอกจากนั้น ฮิปโปเครติส ยังได้ศึกษาเปรียบเทียบอาการของโรคชนิดต่างๆ
และค้นพบลักษณะอาการที่ขึ้นถึงขีดสุดของโรคเหล่านั้น และเขาถือว่า
วิธีรักษาที่ดีที่สุดคือการกำหนดอาหารให้ผู้ป่วยและการให้ผู้ป่วยพักผ่อน
ความรุ่งเรืองด้านวิทยาศาสตร์ของกรีกถึงจุดสูงสุดในสมัยหลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์ไปแล้ว
ซึ่งเรียกว่า สมัยเฮเลนิสติค ประมาณ 300-100 ปี ก่อนคริสตกาล
สาขาของวิทยาศาสตร์ที่รุดหน้ามากในยุคนี้ก็คือ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์
การแพทย์ และฟิสิกส์
นักดาราศาสตร์คนสำคัญอีกคนหนึ่งก็คือ อริสตาร์คัส (Aristarchus) โดยเสนอวา โลกและดวงดาวอื่นๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์ ทฤษฎีนี้ไม่มีผู้ใดยอมรับ เพราะขัดแย้งกับสิ่งที่มองเห็นกันอยู่ และขัดกับคำสอนของปราชญ์ท่านอื่น เช่น อริสโตเติล และไม่สอดคล้องกับความเชื่อของศาสนายิวที่เผยแพร่อยู่แล้ว ในคัมภีร์ของศาสายิวชื่อว่า โจซัว (ผู้นำชาวยิวต่อจากโมเสส) ได้ออกคำสั่งให้ดวงอาทิตย์หยุดหมุน ดังนั้น ทฤษฎีของอริสตาร์คัส จึงต้องการเวลาอีกกว่า 1000 ปี ต่อมาจึงพิสูจน์ได้ว่าเป็นทฤษฎีที่ถูกต้อง
นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ยูคลิค งานของเขาเป็นการรวมสิ่งที่คนอื่นค้นพบไว้แล้ว ปรากฏว่าทฤษฎีเรขาคณิตที่ศึกษากันจนปัจจุบัน เป็นทฤษฎีที่ยูคลิคเป็นผู้รวบรวมไว้
ส่วนนักภูมิศาสตร์อีกท่านหนึ่งที่มีความสนใจในเรื่องของดาราศาสตร์และได้พยายามคำนวณเส้นรอบวงของโลกและได้ตัวเลขจำนวนหนึ่ง ซึ่งปรากฏว่าน้อยไปจากความเป็นจริง 200 กวาไมล์เท่านั้น ก็คือ อีราทอสเธนีส (Eratosthenes) และเขาได้เสนอทฤษฎีว่า มหาสมุทรรวมกันเป็นหนึ่งเดียว และเสนอเป็นคนแรกว่า อาจจะเดินทางไปถึงอินเดียได้ถ้ามุ่งไปทางตะวันตก ซึ่งก็หมายถึงโลกกลมนั่นเอง
ด้านการแพทย์ ผู้ศึกษากายวิภาคที่เดนที่สุดก็คือ เฮโรฟิลัส (Herophilus) เขาได้อธิบายเรื่องของสมองหน้าที่ของสมองสวนต่างๆ และได้ค้นพบการเต้นของชีพจรซึ่งมีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรค เขายังได้เสนอวา ในหลอดโลหิตจะมีแต่เลือด ซึ่งต่อมาข้อเสนอนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องของโลหิต
ส่วนผู้ที่นำเสนอพัฒนาการความคิดด้านฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งก็คือ อาร์คิมิดีส (Archimedis) โดยได้ค้นพบวิธีวัดความถ่วงจำเพราะโดยพยายามหาวิธีพิสูจน์ความคดโกงของช่างทองที่นำเงินมาผสมกับทองที่พระเจ้าแผ่นดินให้ทำมงกุฎ และทำมงกุฎให้มีน้ำหนักเท่ากับทองที่ได้รับไปมาถวาย อาร์คิมิดีสสามารถคิดหาวิธีวัดความถ่วงจำเพาะของทองคำบริสุทธิ์ ซึ่งแตกต่างไปจากความถ่วงจำเพาะของทองคำที่ผสมเงินนั้นได้ เหตุการณ์สำคัญที่ช่วยให้อาร์คิมินีสคิดได้ก็คือ การย่างเหยียบลงไปในอ่างน้ำ ซึ่งเป็นผลให้น้ำล้นออกมาจากอ่า หลักสำคัญที่เขาพบก็คือ สิ่งที่ลอยอยู่จะมีน้ำหนักกลดลงเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกแทนที่ นอกจากนี้อาร์คิมินีสยังได้ค้นพบวีวัดแรงดึงดูดและได้วางกฎเกี่ยวกับการใช้คานงัด และลูกรอก เขาได้พิสูจน์โดยการชักรอกเรือ ซึ่งบรรทุกน้ำหนักเต็มที่ขึ้นจากน้ำมาบนบกโดยใช้ฟันเฟืองและลูกรอก
เมื่อถึงสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ประมาณ ค.ศ. 1300-1600 หรือเป็นเวลาราว 1,000 ปี หลังจากที่ชาวกรีกโบราณได้เริ่มต้นแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ความเจริญรุดหน้าก็ได้ปรากฏอย่างชัดเจนอีกในด้านดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ การแพทย์ และฟิสิกส์ ซึ่งท้งหมดล้วนมีผลสะท้อนความคิดต่อโลกในปัจจุบัน
ทางด้านดาราศาสตร์ ได้มีการพิสูจน์ทฤษฎี ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล (Heliocentric theory) ซึ่งอริสตาร์คัน ชาวกรีกได้เสนอไว้ตั้ง 300 ปีก่อนคริสตกาล แต่ไม่เป็นที่ยอมรับ และต่อมายังถูกปฏิเสธแลบดบังโดยทฤษฎีโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล (Geocentric theory) ซึ่ง ปโตเลมี (Ptolemy) (ค.ศ.127-151) นักวิทยาศาสตร์สมัยโรมันรุ่งเรืองได้เสนอไว้ ในสมัยนั้นทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับเพราะเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ง่ายและด้วยตาเปล่า แต่ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ นิโคลัส โคเปอร์นิคุส (Nicholas Copernicus, ค.ศ. 1476-1543) ก็เป็นผู้ปฏิเสธทฤษฎีของปโตเลมี และพิสูจน์ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยได้ศึกษา สังเกต และวิเคราะห์ ในที่สุดโคเปอร์นิคุสก็แน่ใจว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง โลกและดาวดวงอื่นๆ เป็นฝ่ายโคจรรอบดวงอาทิตย์และได้เขียนเป็นตำราไว้ชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงของการโคจรของเทหวัตถุในท้องฟ้า (on the revolutions of Celestial Bodies) แต่โคเปอร์นิคุสก้ไม่กล้าเปิดเผยทฤษฎีของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามหนังสือของเขาก็ได้รับการตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1543 ซึ่งเป็นช่วงที่โคเปอร์นิคุสใกล้สิ้นชีวิตแล้ว
ต่อมากาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) ได้ศึกษาค้นคว้าต่อ เขาได้ใช้กล้องโทรทัศน์ ซึ่งโจฮัน ลิปเปอร์ชี (Johannes Lippershy) ประดิษฐ์ไว้ จากการใช้กล้องโทรทัศน์นี้กาลิเลโอได้ความรู้เพิ่มเติมทางดาราศาสตร์หลายประการ เขาสังเกตเห็นวงวงแหวนของดาวเสาร์ เห็นจุดดับในดวงอาทิตย์ เป็นต้น ผลจากการศึกษาค้นคว้าของกาลิเลโอ นับเป็นการยืนยันทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางที่เสนอไว้โดยโคเปอร์นิคุสว่าถูกต้อง
ทางด้านฟิสิกส์ ผู้ที่เข้าใจและสนใจโครงสร้างตลอดจนกลไกของธรรมชาติก็คือ ลีโอนาร์โด ดา วินซี (Leonardo da vinci) ชาวอิตาเลียน ซึ่งเป็นทั้งนักจิตรกรและนักวิทยาศาสตร์ เขาพยายามเข้าใจธรรมชาติเพื่อใช้ในการวาดภาพ และการหล่อรูป เช่น การเคลื่อนไหว การขยายตัวของกล้ามเนื้อแต่ละส่วน การเจริญเติบโตตามธรรมชาติของสัตว์ และพืช โดยการคิดคำนวณอย่างละเอียด จากสมัยของลีโอนาร์โดเป็นต้นมา การเหตุผลและการทดลองได้กลายเป็นพื้นฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนั้นลีโอนาร์โดยังได้ประดิษฐ์เครื่องระบายน้ำ อาวุธปืนกล และยุทโธปกรณ์อื่นๆ อีกทั้งยังคิดสร้างเครื่องขับเคลื่อนในทางดิ่ง ซึ่งเป็นการสอนงความต้องการของมนุษย์ในด้านกรบิน นับเป็นต้นเค้าของเครื่องเฮลิคอปเตอร์ในปัจจุบัน
ความแตกต่างของความคิดด้านศาสนา ปรัชญา และวิทยาศาสตร์
เมื่อพูดถึงความคิดเกี่ยวกับความจริง โลกและมนุษย์ตามทัศนะทางศาสนา ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ และละกลุ่มก็มีทัศนะย่อยๆ และแตกต่างกันออกไป ดังนี้
-
ความคิดทางศาสนา เกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา และการอุทิศตนรวมถึงการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ การมองโลก มองชีวิตและมนุษย์ในโลกทัศน์แบบนี้อยู่ในกรอบขอบข่ายของศาสนาแต่ละศาสนาโดยมีความเชื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการแสดงความคิดหรือโลกทัศน์ตามที่ตนเองตั้งไว้ เช่น ศาสนาฮินดูก็มองว่า มนุษย์ และโลกเกิดมาจากการสร้างของพระพรหม คริสต์มองว่า โลกและมนุษย์เกิดมาจากการสร้างของพระเจ้า เป็นต้น
-
ความคิดทางปรัชญา โลกทัศน์แบบนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสงสัย (Wender) การไตร่ตรอง (Reflection) การโต้แย้งด้วยเหตุผล ( Argument) และการวิพากษ์ (Critique of) เกี่ยวกับความจริงเกี่ยวกับมนุษย์และโลก โดยพยายามตั้งคำถามที่หลากหลาย เช่น คุณคือใคร? โลกนี้มาจากไหน? เราจะดำรงอยู่อย่างไร? ความจริงเป็นอย่างไร? ความหมายของชีวิตอยู่ที่ไหน? ชีวิตที่ดีคืออะไร? ความถูกผิด ควร ไม่ควร ตัดสินตรงไหน เรามีเสรีภาพไหม? เป็นต้น ซึ่งมีทัศนะย่อยๆ คือ สสารนิยม จิตนิยม ธรรมชาตินิยม และอัตถิภาวนิยม เป็นต้น
-
ความคิดทางวิทยาศาสตร์โลกทัศน์แบบนี้ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง การทดลอง พิสูจน์และอธิบาย เป็นการศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับชีวะหรือ กายภาพ และที่สำคัญคือ การแสวงหาความจริงเกี่ยวกับกำเนิดมนุษย์และโลกตามตามขอบเขตโลกทัศน์ของวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์แต่ละยุคแต่ละสมัยก็อธิบายโลกและมนุษย์ต่างกันออกไป เช่น ทฤษฎีจักรวาลของนิวตันมองโลกอย่างหนึ่ง ทฤษฎีของไอน์สไตน์มองอีกอย่างหนึ่ง ทฤษฎีของชาร์ล ดาร์วินก็อธิบายไปอีกอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับความคิดทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยววิถีชีวิตของมนุษย์ เช่น ปัญหาเรื่องพันธุวิศวกรรมศาสตร์ หรือพืช GMO ปัญหาเรื่องการทำแท้ง ปัญหาเรื่องการุณยฆาต เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับความคิดด้านอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ความคิดทางวัฒนธรรม ศาสนา จริยธรรม และศีลธรรม เป็นต้น
เมื่อกล่าวโดยสรุป ความคิดของมนุษย์ซึ่งเป็นที่หล่อหลอมภูมิปัญญาที่หลากหลายนั้น สามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ได้ 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ ความคิดทางศาสนา ความคิดทางปรัชญา และความคิดทางวิทยาศาสตร์