ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมเปอร์เซีย
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุและอินเดีย
อารยธรรมจีน
อารยธรรมกรีก
ประเด็นทางความคิดหลักๆ
วิทยาศาสตร์กับอภิปรัชญาสมัยใหม่
ประเด็นทางความคิดหลักๆ
ประเด็นทางความคิดหลักๆ ในยุคนี้ คือ
-ความคิดเกี่ยวกับเรื่องของเทพเจ้ามากมาย
-ความคิดเกี่ยวกับรัฐ กฎหมายและระบบของรัฐ
-ความคิดเกี่ยวกับเรื่องความดีงามของอาริสโตเติล เป็นต้น
ในยุคนี้สิ่งที่แตกต่างออกไปจากวิธีคิดแบบเดิมก็คือ การโต้แย้งประเด็นต่างๆ
เกี่ยวกับชีวิต ความจริง ธรรมชาติ โลก เป็นต้นด้วยเหตุผล แทนความเชื่อทางศาสนา
จนเกิดทฤษฎีทางปรัชญาขึ้นอยากมากมาย แต่มีแนวความคิดหลักๆ ก็คือ
-
จิตนิยม ที่ถือว่าจิตหรือสภาวะที่เป็นนามธรรมเป็นความจริงสูงสุดหรือเป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง
-
สสารนิยม ซึ่งเชื่อว่า ความจริงเป็นสสาร หรือในยุคนั้นเรียกว่า อะตอม เป็นความจริงสูงสุด และเป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่งด้วย ซึ่งแต่ละความความคิดก็มีนักคิดหลายท่านเป็นฝ่ายสนับสนุน และก็มีหลายท่านเห็นแย้ง ความคิดแบบกรีกโบราณถือว่ามีอิทธิพลอย่างมากต่อสังคมในยุคต่อๆมา
ความคิดตะวันตกยุคกลาง
ยุคกลางเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยุคคริสเตียน
ในยุคนี้ความคิดทางปรัชญาแบบกรีกโดยเฉพาะของนักคิดทั้งสามท่านก็ถูกปรับประยุกต์ให้มารับใช้หลักคำสอนของศาสนาคริสต์
ในยุคกลางอิทธิพลของศาสนาคริสต์แผ่ควบคลุมไปทั่วยุโรป
จึงทำให้วิธีคิดและระบบความคิดต่างๆ ตกอยู่ภายใต้อำนาจของศาสนจักร
ทำให้คนต้องคิดอยู่ภายในกรอบที่ถูกกำหนดมาไว้แล้วโดยศาสนจักร ถ้าใครคิดต่างออกไป
ก็ถือว่ามีความผิดต้องถูกลงโทษถึงกับประหารชีวิตก็มี
เพราะฉะนั้นในยุคนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยุคมืดทางปัญญา (Dark Age)
ความคิดตะวันตกยุคใหม่
แต่ต่อมาในยุคสมัยใหม่ ซึ่งนำโดยนักคิดหลายๆ ท่าน เช่น ฟรานซิส เบคอน
เรเน่ เดกราตส์ เป็นต้นได้เสนอแนวคิดใหม่ ๆ
ขึ้นมาทำให้ความคิดในยุคกลางมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของประชาลดลงไปมา
เพราะในยุคนี้มีการให้หลักการทางวิทยาศาสตร์
และความเป็นเหตุเป็นผลในการต่อสู่กับวิธีคิดแบบเดิมๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงทำให้ยุโรปส่วนมากสลัดตนเองออกมาจากอำนาจของศาสนจักร และเริ่มเข้าสู่ยุคสมัยใหม่
(Modern Thought)
และในยุคนี้ถือว่าเป็นยุคเริ่มต้นอย่างเป็นระบบของความคิดทางวิทยาศาสตร์
จนมีนักคือบางท่านถือว่า
มนุษย์มิใช่สิ่งที่สร้างขึ้นจากพระเจ้าตามคติความสอนขอศาสนา
แต่มนุษย์คือเครื่องจักร ซึ่งเป็นที่มาของแนวความคิดแบบจักรกลนิยม
แต่ก็ยังจักอยู่ในประเภทสสารนิยมหรือวัตถุนิยม