ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมเปอร์เซีย
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุและอินเดีย
อารยธรรมจีน
อารยธรรมกรีก
ประเด็นทางความคิดหลักๆ
วิทยาศาสตร์กับอภิปรัชญาสมัยใหม่
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนยุคโบราณเริ่มก่อตัวที่บริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห
เมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเป็นชุมชนเกษตรกรรม
บริเวณนี้พบหมู่บ้านเกษตรกรรมแห่งแรกเรียกว่า Ban Po ใกล้เมืองซีอาน
เพราะความอุดมสมบูรณ์จากพื้นดินร่วนซุย
ที่สะสมจากการพัดพาของลมและกระแสน้ำจนเป็นที่ราบลุ่มแม้น้ำเหลือง มีการทำปสุสัตว์
ทำเครื่องปั้นดินเผา เลี้ยงตัวหม่อนเพื่อนำมาทำผ้าไหม
ความเจริญของจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏอย่างเด่นชัดในยุคหินใหม่ตามมณฑลต่างๆ
ของจีนตั้งแต่ทางตอนเหนือจนถึงทางใต้จากแหล่งวัฒนาธรรม 2 แห่งคือ วัฒนธรรมหยางเฉา
(Yang-Shao) และลุงซาน (Lung-Shan)
วัฒนธรรมหยางเฉาโดดเด่นในเรื่องการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีการเขียนลายลายบนผิวภาชนะ
คือ สีแดง ขาว ส่วนวัฒนธรรมลุงซานทำเครื่องปั้นดินเผาสีดำเรียบไม่มีการระบายสี
ทั้งสองวัฒนธรรมนี้ถือว่าเป็นรากฐานของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหในเวลาต่อมา
อารยธรรมจีนหลังอารยธรรมยุคโบราณ และช่วงก่อนเส้นทางสายไหม
อาจเริ่มต้นจากสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก โจรตะวันออก และราชวงศ์จิ๋น ประมาณ 1,000 ปี
ก่อนคริสตกาล ช่วงสมัยราชวงศ์โจว กษัตริย์ได้ยกย่องฐานะของตนเองขึ้นเป็น
โอรสสวรรค์ โดยมีความเชื่อว่า เทียน เป็นเทพเจ้าสูงสุด ราชวงศ์โจวช่วงต้น
ซึ่งเรียกว่า โจวตะวันตก ครองอำนาจการปกครองจนถึงปี 770 ก่อนคริสตกาล
หลังจากนั้นมีกลุ่มอำนาจใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า โจวตะวันออก
เข้าปกครองต่อมาจนถึงประมาณ 403 ปีก่อนคริสตกาล ช่วงปลายราชวงศ์โจว
เกิดความวุ่นวายยุ่งเหยิงทางการเมืองเพื่อแย่งความเป็นใหญ่ระหว่างรัฐต่างๆ
จึงเรียกยุคนี้ว่า ยุคสงครามระหว่างรัฐ ประมาณ 403-221 ปีก่อนคริสตกาล
ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่บริเวณใกล้เมืองซีอานในปัจจุบัน กระทั่ง 256
ปีก่อนคริสตกาลชิวั่งตี่แห่งแคว้นจิ๋นได้ปราบปรามรัฐต่างๆ
แล้วรวบรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยใช้การปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
และสถาปนาตนเองเป็นจิ๋นซีฮ่องเต้
ต่อมาได้สร้างกำแพงเมืองจีนขึ้นและจัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก
แม้ว่าช่วงปลายของราชวงศ์โจวเป็นยุคที่จีนมีความวุ่นวายทางการเมืองระหว่างรัฐ
แต่เป็นยุคที่มีการพัฒนาทางความคิดด้านศาสนาและปรัชญาอย่างโดดเด่น
จนได้รับการขนานนามว่า ยุคทองของนักปรัชญาจีน หรือยุคปรัชญาร้อยสำนัก เช่น
เหล่าจื้อ ผู้ก่อตั้งปรัชญาสำนักเต๋า ขงจื้อ ศาสดาของศาสนาหรือลัทธิขงจื้อ เม่งจื้อ
และม่อจื้อ เป็นต้น แต่นักปรัชญาที่โดดเด่นและมีอิทธิพลต่อชาวจีนมาที่สุดคือ
เหล่าจื้อและขงจื้อ
พัฒนาการของความคิดจีนก่อนยุคนักปราชญ์นั้น
มีลักษณะเป้นควาเชื่อแบบวิญญาณนิยม (Animism) ซึ่งก็ไม่ต่างไปจากอารยธรรมอื่นๆ มาก
เช่น การนับถือเทพเจ้าน้ำ เทพเจ้าแห่งลม
แต่เทพเจ้าสูงสุดที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถือคือ เทียน หมายถึง ฟ้า หรือสวรรค์
จนเข้าสู่ยุคนักปราชญ์ ความคิดจึงได้เริ่มพัฒนาอย่าเป็นระบบ