ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ตำนานมังกร
"มังกร" นั้นถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน แม้ว่ามังกรจะมีการกล่าวถึง
ว่าเป็นสัตว์เทพในนิยายและตำนานของหลากหลายชาติ ทั้งทางเอเซียและยุโรป
แต่มังกรจีนก็นับว่ามีตำนานที่ยาวนานและมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างออกไปจากมังกรของทางตะวันตกอย่างเห็นได้ชัดเจน
ตามคำบอกเล่าแต่โบราณแล้ว "มังกร" ในความเชื่อของชาวจีน
มักได้รับการกล่าวขานในแง่ของความเป็นมิตรมากกว่าความร้ายกาจ และถูกยกให้เป็น
สัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุขและความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง
มังกรในความเชื่อของจีนสามารถพบได้ในแม่น้ำและทะเลสาบ ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน
ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ และเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจ
ความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์
อย่างในสมัยราชวงศ์ชิงกษัตริย์หรือฮ่องเต้จะต้องประทับบนบัลลังก์มังกร
เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และบรรทมบนเตียงมังกร
ของใช้ต่างๆรวมถึงเสื้อผ้าก็จะตัดเย็บด้วยผ้าที่ประดับด้วยลวดลายมังกร
โดยที่คนธรรมดาสามัญไม่สามารถตัดเย็บหรือใช้ของที่มีลายมังกรได้โดยเด็ดขาด
และมังกรของจักรพรรดินั้นจะพิเศษกว่ามังกรโดยทั่วไป นั่นคือมันจะต้องมี 5 เล็บ
ลักษณะเฉพาะของมังกรจีน ตามพจนานุกรมจีน "มังกร" มีความหมายว่า
สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลักษณะหัวคล้ายหัวอูฐ มีเขาคล้ายเขากวาง
ดวงตาคล้ายกับดวงตาของกระต่ายป่า หูคล้ายหูวัว ปีกคล้ายนกอินทรี มีลำคอยาวคล้ายงู
ช่วงท้องมี ลักษณะคล้ายกบหรือหอยกาบ และเกล็ดเหมือนของปลาคาร์พ
รูปร่างคล้ายกับปลาตัวใหญ่ เท้าคล้ายกับเท้าเสือ เสียงร้องคล้ายเสียงตีฆ้อง
เมื่อหายใจลมหายใจของมันมีลักณะคล้ายเมฆ ซึ่งบางครั้งก็ออกมาเป็นฝน
บางครั้งก็เป็นเปลวไฟ
มังกรจีนจะมีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่ขากรรไกรบน
มีหนวดยาวลักษณะเหมือนไม้เลื้อย และมีแผงคอเหมือนของสิงโตอยู่บนคอ ,คาง และข้อศอก
มีเกล็ด 117 แผ่น แบ่งออกเป็นหยินและหยาง โดย 81 แผ่นเป็นหยางมีความดี 36
แผ่นเป็นหยินมีความชั่ว
เขามีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหางเป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน
มีโหนกอยู่บนหัวไว้สำหรับบินเรียกว่า เชด เม่อ (chih muh) แต่ถ้าเขาไม่มีโหนกนี้
มังกรก็จะกำคทาเล็กๆที่เรียกว่า โพ เชน (po-shan) ในการบินแทน
สีของมังกรจีนมีหลายสี
ตั้งแต่แกมเขียวจนถึงทองหรือบางแหล่งก็ว่ามังกรจีนมีสีน้ำเงิน ,ดำ ,ขาว ,แดง ,เขียว
หรือเหลือง มังกรจีนในตำนานมีอิทฤทธิ สามารถทำตัวเองให้ใหญ่เท่ากับจักรวาล
หรือให้เล็กเท่ากับหนอนไหม นอกจากนี้ยังมีนิสัยเมตตากรุณา ,เป็นมิตร ,ทะเยอทะยาน
และมองโลกในแง่ดี นอกจากนี้ มังกรจีนยังฉลาด ,มีปัญญามาก ,มีความเด็ดขาดและมีพลัง
จึงถูกยกย่องให้เป็นที่ปรึกษาของผู้นำ
ชนิดของมังกรจีน
คนจีนก็แทนลักษณะเฉพาะของมังกร 9 อย่าง
ตามลักษณะของมังกรที่แตกต่างกันดังนี้
- พิว โหล (pu lao) ถูกสลักบนยอดของระฆังและฆ้องเพราะว่าเขามีนิสัยชอบส่งเสียงร้องดังเมื่อถูกโจมตี
- ไชยู (chiu) อยู่บนที่หมุนของซอตั้งแต่มังกรส่วนมากชอบดนตรี
- ไพ ไซ (pi his) ถูกสลักที่ส่วนบนของโต๊ะหินเนื่องจากความรักของมังกรที่มีต่อวรรณคดี
- พา ไซ อะ (pa hsai) พบได้ที่ฐานของอนุสาวรีย์หินในฐานะที่มังกรสามารถรับน้ำหนักมากได้
- เชโอะ เฟ่ง (chao feng) วางอยู่ที่ชายคาของวัดในฐานะที่มังกรตื่นตัวต่ออันตรายเสมอ
- เช่ย (chih) ปรากฏบนคานของสะพานตั้งแต่มังกรชอบน้ำ
- ซ่วง หนี่ (Suan ni) ถูกสลักบนบัลลังก์ของพระพุทธรูปในถานะที่มังกรชอบพักผ่อน
- เย่ สึ (Yai tzu) ถูกสลักบนด้ามดาบ ตั้งแต่มังกรถูกรู้ว่ามีความสามารถที่จะฆ่าได้
- ไพ ฮั่น (pi han) ถูกสลักบนประตูคุก เพราะมีมังกรที่ชอบการทะเลาะ และการสร้างปัญหา
กำเนิดมังกรจีน
ชาวจีนมีตำนานกล่าวว่า มังกรเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้าอึ่งตี่หรือหวงตี้
โดยทรงมีพระราชประสงค์ในการสร้างมังกร เพื่อให้เป็นเครื่องหมายประจำชาติ
ด้วยการนำเอาสัญลักษณ์ของกลุ่มชนเผ่าต่างๆที่อาศัยอยู่ภายในประเทศจีนขณะนั้นมาผสมผสานกัน
ความเชื่ออื่นๆเกี่ยวกับมังกร
มีตำนานกล่าวว่ามังกรเป็นสัตว์อมตะและยังมีอิทธิฤทธิ์มาก
เนื่องจากมังกรมีลูกแก้ววิเศษอยู่ในปาก
ทำให้สามารถเหาะเหิรเดินอากาศได้หรือจะเดินดิน-ดำน้ำก็ได้
สามารถล่องหนหายตัวแปลงกายให้เล็ก ใหญ่ สั้นยาวก็ได้
ชาวจีนจึงยกย่องให้มังกรเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง
ทั้งยังเป็นพาหนะของเจ้าแม่กวนอิมอีกด้วย
ธรรมชาติของมังกรเป็นสัตว์ดุร้ายแต่ก็สามารถจะบันดาลประโยชน์สุข
ให้บังเกิดแก่มวลมนุษย์ได้เช่นกัน
เพราะมังกรสามารถทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆบันดาลให้เกิดฝน-ลม-ไฟ ช่วยกำจัดสิ่งชั่วร้าย
ดังตำนานของชาวจีนที่เล่าต่อกันมาว่า เมืองจีนในช่วงฤดูหนาวบังเกิดความแห้งแล้ง
มีสาเหตุมาจากเป็นช่วงเวลาที่มังกรหลับ
แต่พอมังกรตื่นขึ้นมาจะนำพาเอาน้ำมาด้วยอย่างมากมายจนเกิดอุทกภัย
สร้างความเดือดร้อนไปทั่วทั้งแผ่นดิน
จากความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับประชาชนหมู่มากนี้เอง
ทำให้เจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์ต้องลงโทษให้มังกรต้อง
เข้าไปจำศีลภาวนาชดใช้กรรมอยู่ภายในถ้ำถึง 3,000 ปี
จนมังกรบังเกิดบารมีจนกลายเป็นสัตว์ชั้นเทพ สามารถเหาะขึ้นไปยังสรวงสวรรค์ได้
ทั้งยังต้องทำหน้าที่เฝ้าดูแลลูกแก้ววิเศษของเจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์อีกด้วย
เราจึงมักเห็นรูปวาดของมังกรจีนมีลูกแก้วอยู่ในมือยังไงล่ะคะ
การเชิดมังกร
ตำนานการเชิดมังกรมีที่มาดังนี้ ตำนานเล่าว่ามีอยู่วันหนึ่ง
มังกรเกิดมีอาการปวดและคันที่เอวตลอดเวลารักษาด้วยวิธีการใดก็ไม่หาย
จึงจำเป็นต้องแปลงกายเป็นมนุษย์เพื่อหาหมอที่เก่งกาจวิชาการแพทย์มาช่วยรักษา
มังกรเข้ารับการรักษากับแพทย์หลายคนก็ไม่หาย
จนได้ไปพบกับหมอท่านหนึ่งที่สามารถล่วงรู้ได้ว่า
แท้จริงผู้ที่มาขอรับการรักษานั้นมิใช่มนุษย์ธรรมดา
จึงสั่งให้มังกรคืนร่างเดิมเป็นมังกรเพื่อหมอจะได้ตรวจอาการป่วยที่แท้จริง
ซึ่งหลังจากการตรวจ หมอได้พบตะขาบตัวหนึ่งซ่อนอยู่ที่ใต้เกล็ดมังกร
จึงจับตะขาบออกมาแล้วใส่ยาตรงที่ถูกตะขาบกัดให้ทำให้มังกรหายป่วย
มังกรจึงอนุญาตให้มนุษย์สามารถทำหุ่นมังกรออกแห่ได้ปีละครั้ง
ในยามใดที่หุ่นมังกรปรากฏฝนก็จะตกลงมา
ทั้งขจัดสิ่งที่ชั่วร้ายให้หมดสิ้นไปส่งผลให้เกิดประเพณีแห่มังกรนับแต่นั้นเป็นต้นมา
เนื่องจากความผูกพันทั้งทางด้านความเชื่อ และความเป็นมงคล
คนจีนจึงนิยมการเชิดมังกรเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง
การเฉลิมฉลองเรื่อยมา นับแต่โบราณจวบจนปัจจุบันนี้
การเชิดมังกรก็ยังมีให้เห็นอยู่ตามงานเฉลิมฉลองใหญ่ๆ เช่นงานตรุษจีน เป็นต้น
การเชิดมังกรในประเทศไทย
ประเทศไทยมีการแสดงมังกรมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีในงานฉลองกรุงธนบุรี พ.ศ. 2322
ซึ่งในการแสดงครั้งนั้นใช้ผู้แสดงทั้งหมด 13 คน
และใช้ฆ้องเป็นเครื่องประกอบการแสดงมังกรเพียงอย่างเดียว ต่อมาปี พ.ศ.2506
ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จังหวัด
นครสวรรค์ได้ริเริ่มนำเอาการแสดงแห่มังกรขึ้นมาใหม่
ซึ่งจัดแสดงโดยคณะมังกรทองลูกเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์
ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นคณะมังกรคณะแรกของประเทศไทย
การแสดงมังกรของจังหวัดนครสวรรค์ใช้ผู้เชิด
และผู้ที่คอยสลับผลัดเปลี่ยนเข้ามาตลอดจนมโหรี จำนวนมากกว่า ร้อยคน
และยังมีการจัดเชิดทุกปีมาจนถึงทุกวันนี้