ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย
ประเทศอินเดียเป็นดินแดนอารยธรรมแห่งหนึ่งของโลกที่มีการรับอารยธรรมจากภายนอกและเผยแพร่ อารยธรรมไปสู่ดินแดนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศ อินเดียได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากต่างประเทศ 4 ครั้ง คือ ครั้งที่หนึ่ง ประมาณ 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช อิทธิ พลจากประเทศเมโสโปเตเมียได้แพร่เข้ามาในลุ่มแม่น้ำสินธุจนถึงประมาณ 1,000 ปีก่อนพุทธศักราช เมื่อชาว อารยันได้บุกรุกอินเดียและทำลายอารยธรรมดั้งเดิม ครั้งที่สอง ราวพุทธศตวรรษที่ 3 ได้รับอิทธิพลศิลปะจาก อิหร่านและกรีก ครั้งที่สามพุทธศตวรรษที่ 6 ได้รับอิทธิพลของกรีกและโรมันเข้ามามีบทบาทต่อศิลปอินเดียและ ครั้งที่สี่พุทธศตวรรษที่ 16 กลุ่มมุสลิมซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้รุกรานอินเดียและพุทธศตวรรษที่ 21 ราชวงศ์ โมกุลเข้าครอบครองอินเดีย
ศิลปะอินเดียระยะต่อมาก็ได้รับอิทธิพลของอิหร่าน
อินเดียเป็นประเทศที่มีศาสนาหลายศาสนา ศาสนาดั้งเดิม คือ ศาสนาพระเวท
ซึ่งต่อมาก็กลายเป็น ศาสนาพราหมณ์ และในช่วงต้นพุทธศักราชได้เกิดศาสนาไชนะ
และพุทธศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนาที่รุ่ง เรืองในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศตวรรษที่
6 พุทธศาสนาได้เกิดลัทธิขึ้นใหม่คือ ลัทธิมหายาน ซึ่ง
ได้รับเอาความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์เข้ามาปะปน พุทธศตวรรษที่ 10 ศาสนาพรามหณ์
ได้ปรับปรุงเพื่อ ต่อต้านพุทธศาสนาลัทธิมหายาน จึงเป็นศาสนาฮินดู ซึ่งแบ่งเป็น 2
ลัทธิใหญ่ คือ ไศวนิกายซึ่งนับถือ พระศิวะ หรือพระอิศวรเป็นใหญ่
และไวษณพนิกายซึ่งนับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นใหญ่ ต่อมาพุทธศาสนาก็
เกิดลัทธิตันตระ
ก่อนที่ชาวมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลามเข้ามามีอิทธิพลในอินเดียตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
16 ศาตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงแบ่งศิลปะอินเดียออกเป็น 2
สมัยโดยกว้างคือ สมัย ก่อนอินเดีย
และศิลปะอินเดียแท้ซึ่งมีรายละเอียดของพัฒนาการดังนี้คือ
สมัยก่อนอินเดีย
รากฐานศิลปะก่อนอินเดียคือวัฒนธรรมที่ใช้ภาษาสันสกฤต
มีศิลปะที่เมืองหะรัปปา (Harappa) และโมเหนโช- ดาโร (Mohenjo-daro)
ทางแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ เมื่อ 1,500 ปีก่อนพุทธศักราช
นักโบราณคดีค้นพบซากเมืองที่ใช้ อิฐในการก่อสร้าง
มีการวางผังเมืองและท่อระบายน้ำอย่างเป็นระเบียบ นอกจากนั้นยังพบตราประทับ
ประติมากรรมลอยตัวขนาดเล็กเป็นรูปชายมีเครา
ศิลปะสมัยอินเดียแท้
สมัยที่ 1
ศิลปะอินเดียโบราณบางครั้งเรียกว่าศิลปะแบบสาญจีหรือแบบราชวงศ์โมริยะ
และแบบสมัยพระเจ้าอโศก มหาราชที่เรียกว่าตุงคะ ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 3
ถึงพุทธศตวรรษที่ 6 ศาสนสถานที่เหลือร่องรอยอยู่ คือ สถูปรูปโอคว่ำ
ตั้งอยู่บนฐานมีฉัตรปักเป็นยอด แต่เดิมสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่คงเป็นไม้
เนื่องจากภาพสลักนูน ต่ำหรือถ้ำที่ขุดเข้าไปในภูเขาเลียนแบบสถาปัตยกรรมแบบไม้ เช่น
ที่ถ้ำราชา เพทสา และการ์ลี
สำหรับประติมากรรมที่เก่าแก่ที่สุดคงเป็นเสาของพระเจ้าอโศกมหาราชราวปลายพุทธศตวรรษที่
3 ทำ เป็นรูปสิงห์ตามแบบศิลปะในเอเชียไมเนอร์
บัวหัวเสารูประฆังคว่ำได้รับอิทธิพลจากศิลปะอิหร่าน ส่วน
ประติมากรรมลอยตัวมีรูปร่างใหญ่และหนา เช่น รูปยักษ์ที่เมือง ประขัม
ส่วนใหญ่ของงานประติมากรรมสมัยนี้ เป็นภาพสลักบนรั้วและประตูล้อมรอบสถูป
ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาไม่สลักเป็นพระพุทธรูปหรือรูปมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ
แต่ใช้สัญ ลักษณะแทน เช่น
ปางเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็มีภาพของม้าเปล่าไม่มีคนขี่แต่มีฉากกั้น ซึ่งแสดงว่าพระ
โพธิสัตว์ซึ่งจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปได้ประทับอยู่หลังม้า ปาฎิหาริย์ทั้ง 4
ปาง คือ ประสูติ ตรัสรู้ ปฐม เทศนาและปรินิพพาน ก็มีสัญลักษณะแทนคือ
ดอกบัวแทนปางประสูติ ต้นโพธิ์แทนปางตรัสรู้ ธรรมจักรแทน
ปางปฐมเทศนาและพระสถูปแทนปางปรินิพพาน
สมัยที่ 2
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 10
มีอิทธิพลภายนอกที่มีต่อศิลปะอินเดียคือ ศิลปคันธารราฐ และศิลปะอินเดียเองคือ
ศิลปะแบบมถุรา ทางเหนือและศิลปะแบบอมราวดีทางตะวันออกเฉียงใต้
1. ศิลปะคันธารราฐ เกิดขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 7 มีรูปแบบ ศิลปะกรีกและโรมัน
แต่เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ศิลปะคันธารราฐ
เป็นศิลปะยุคแรกประดิษฐพระพุทธรูปเป็นรูปมนุษย์ แต่มีลักษณะคล้ายกรีกและโรมัน
ดังนี้พระ พุทธเจ้าในปางต่าง ๆ จึงประดิษฐเป็นรูปลักษณ์ของมนุษย์
แต่อย่างไรก็ตามยังพบประติมากรรม อื่นที่ได้รับอิทธิพลศิลปะกรีกและโรมันอยู่มาก
เช่น ประติมากรรมรูปชาวโกลกำลังตาย และท่อ ระบายน้ำที่สลักเป็นรูปสัตว์
พระพุทธรูปบนยอดเสาโครินเธียนเป็นต้น
2. ศิลปะมถุรา ศิลปะมถุรารุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-9
ประติมากรรมสลักด้วยศิลาทรายบางรูปได้รับอิทธิ พลจากศิลปกรีกและโรมัน
แต่ก็มีรูปแบบพระพุทธรูปแบบอินเดียเป็นครั้งแรก 3. ศิลปะอมราวดี
เกิดขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6-7
ศิลปะสมัย นี้มีลักษณะอ่อนไหวแต่เน้นลักษณะตามอุดมคติ
พระพุทธรูปสมัยนี้มักทำห่มจีวรคลุมทั้งองค์ แต่ลักษณะพระ
พักตร์ยังคล้ายแบบกรีกและโรมัน สถานที่สำคัญทีพบศิลปะแบบอมราวดี คือ เมือง อมราวดี
สมัยที่ 3
1. ศิลปะตุปตะ และหลังคุปตะ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9-13
เจริญรุ่งเรืองขึ้นทางภาคเหนือของประเทศ อินเดีย พระพุทธรูปมีลักษณะแบบอินเดียแท้
แต่กลับพบประติมากรรมสลักนูนสูงมากกว่าประติมากรรมลอย ตัว ศิลปะที่เด่นในสมัยนี้คือ
จิตรกรรมฝาผนังที่ถ้ำอชันตา ส่วนศิลปะหลังคุปตะอยู่ในช่วงประมาณพุทธ ศตวรรษที่
11-13 สถาปัตยกรรมมีรูปร่างใหญ่ขึ้น สมัยนี้มีเทวสถานที่สำคัญ คือ เอลลูรา
และเอเลฟันตะ สมัยนี้ เริ่มมีศาสนสถานที่ก่อสร้างด้วยอิฐ
สมัยที่ 4
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14
เป็นต้นมาเป็นช่วงสมัยของศิลปะทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หรือศิลปทมิฬ (Dravidian)
แยกออกจากส่วนที่เหลือของอินเดีย
ศิลปะทมิฬหรือดราวิเดียน
ศิลปะแบบทมิฬแบบที่เก่าสุดมีประติมากรรมจากศิลา รูปสำริดและรูปสลักจาก ไม้
ประติมากรรมสำริดที่รู้จักกันดีคือ รูปพระศิวนาฏราชฟ้อนรำอยู่ในวงเปลวไฟ
สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่หลัง คาสร้างเป็นหินซ้อนกันเป็นชั้นเช่น
สถาปัตยกรรมที่เป็นเทวสถานใหญ่ชื่อลิงคราชที่เมืองภูวเนศวร ศิลปะปาละ เสนะ
ศิลปะทางพุทธศาสนาของอินเดียภาคเหนือภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์ปาละ-เสนะ ใน
แคว้นเบงคอลและพิหารระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-18 พุทธศาสนาในสมัยปาละ คือ
พุทศาสนาลัทธิตันตระซึ่ง กลายมาจากลัทธิมหายาน
โดยผสมความเชื่อในลัทธิฮินดูเข้าไปปะปนสถาปัตยกรรมที่สำคัญคือ
มหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็นศูนย์กลางการสอนพุทธศาสนาลัทธิตันตระในแคว้นเบงคอล
ส่วนประติมากรรมมี
ทั้งภาพสลักจากศิลาและหล่อจากสำริดทั้งทางพุทธศาสนาและตามคติแบบฮินดู
ประติมากรรมสลักจากศิลาในสมัยนี้แบ่งออกเป็น 3
- ยุคคือ ยุคแรกพุทธศตวรรรษที่ 14-15 มีพระโพธิสัตว์และ พระพุทธรูปทรงเครื่อง
- ยุคสองพุทธศตวรรษที่ 16-17 พระพุทธรูปทรงเครื่องมากขึ้น สร้างตามคตินิยมลัทธิ ตันตระ
- ยุคที่สามยุคราชวงศ์เสนะ พุทธศตวรรษที่ 18 นับถือศาสนาฮินดูจึงเป็นยุคของประติมากรรมแบบฮินดู ศิลปะแบบปาละ เสนะ ได้แพร่หลายไปยังที่ต่าง ๆ เช่น ประเทศเนปาล ธิเบต ศรีลังกา ชวาทางภาคกลาง เกาะ สุมาตราในอินโดนีเซีย พม่า และประเทศไทย