ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ความหมายของนิทาน
ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
ความสำคัญของนิทานพื้นบ้าน
การแบ่งประเภทนิทานพื้นบ้าน
องค์ประกอบของการเล่านิทาน
จุดประสงค์ในการเล่านิทาน
องค์ประกอบของการเล่านิทาน
องค์ประกอบของการเล่านิทาน มีองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ
ผู้เล่านิทาน
คือ ผู้ส่งสารซึ่งจะมีทักษะ ความสามารถ ลีลาในการเล่าเรื่องเฉพาะตัว
ผู้เล่านิทานที่มีความสามารถจะทำให้เนื้อเรื่องที่สนุกสนานอยู่แล้วสนุกสนานตื่นเต้นชวนติดตามมากขึ้น
ผู้เล่านิทานแต่ละคนอาจจะจดจำเนื้อหาเรื่องราวได้ไม่เหมือนกัน
สนใจรายละเอียดต่างกัน
บางคนชอบเล่าแบบรวบรัดก็จะจำแต่เฉพาะเนื้อหาหลักๆข้ามเนื้อความบางตอนไปเสีย
บางคนสนใจรายละเอียดก็จะพรรณนาความมาก นิทานเรื่องเดียวกันจึงมี
เนื้อหาแตกต่างกันไป
เนื้อเรื่องของนิทาน
เนื้อเรื่องนิทานจัดเป็นเนื้อหาสาระที่ผู้เล่านิทานส่งไปให้ ผู้รับสาร คือผู้ฟัง
นิทานมีหลายประเภทดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น มีเนื้อหาและความยาว ต่างกัน
นิทานเรื่องเดียวกันอาจมีเนื้อเรื่องแตกต่างกันไปเรียกว่า มีหลายสำนวน (Version)
คำว่า สำนวน ประคอง นิมมานเหมินทร์ (2543, หน้า 38) อธิบายว่า
สำนวนเป็นคำศัพท์ที่ใช้กับนิทานพื้นบ้านเรื่องเดียวกัน แต่เก็บจาก
ที่ต่างๆกัน หรือเก็บจากผู้เล่าคนเดียวกันแต่ต่างเวลากัน นิทานที่เก็บได้
จากผู้เล่าคนหนึ่งหรือครั้งหนึ่งๆ ก็เป็นนิทานสำนวนหนึ่ง
ผู้ฟังนิทาน
คือ ผู้รับสาร
ซึ่งจะต่างจากผู้รับสารอื่นๆอยู่บ้างตรงที่ผู้ฟังนิทานส่วนใหญ่จะมีความสนใจในเนื้อเรื่อง
และพยายามจะมีส่วนร่วม เช่น มีการซักถาม คัดค้านหรือสนับสนุนเนื้อหาในนิทาน
เป็นปฏิกิริยาโต้ตอบกับผู้เล่าจะทำให้บรรยากาศในการเล่านิทานสนุกสนานยิ่งขึ้น
ในทางคติชนวิทยาแบ่งผู้ฟังนิทานออกเป็น 2 ประเภท (ศิราพร ฐิตะฐาน, 2523, หน้า
22-23) คือ
- Passive bearers tradition หมายถึง ผู้คนทั่วไปที่ชอบฟังนิทาน
จำเรื่องได้แต่ถ่ายทอดไม่ได้
- Active bearers tradition หมายถึง บุคคลที่มีวิญญาณของนักเล่านิทาน เมื่อฟังนิทานจากผู้เล่าคนหนึ่งๆ แล้วก็สามารถจดจำเนื้อเรื่องและสามารถถ่ายทอดได้อย่างมีชีวิตชีวา มีลีลาดึงดูดผู้ฟังได้อย่างน่าสนใจ ผู้ฟังประเภทนี้นับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการ ถ่ายทอดและ การแพร่กระจายของนิทาน