วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
สุภาษิตพระร่วง
สุภาษิตพระร่วง
ถือได้ว่าเป็นวรรณคดีคำสอนที่เก่าแก่ที่สุดของไทย
ที่ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสันนิษฐานว่า กษัตริย์ในสมัยกรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์
มีนักวรรณคดีหลายท่านกล่าวว่า คำว่า พระร่วง
เป็นสมญานามเรียกแทนชื่อกษัตริย์ทุกพระองค์ของสุโขทัยเท่านั้น
และนักวรรณคดีเหล่านี้ก็ยังเชื่ออีกว่า กษัตริย์ที่แต่งสุภาษิตพระร่วงน่าจะเป็น
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชและพระมหาธรรมราชาลิไทย
เพราะทั้งสองพระองค์เป็นนักปราชญ์ที่มีจริยะวัตรเหมือนกัน คือ ทรงสั่งสอนประชาชน
ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเคยทรงสอนธรรมะราษฎรบนพระแท่นมนังคศิลา
ส่วนพระมหาธรรมราชาลิไทยก็ทรงสอนประชาชนด้วยหนังสือไตรภูมิพระร่วง
ซึ่งถ้าตรวจสอบจากลักษณะภาษาที่ใช้แต่งนั้น
น่าจะเป็นภาษาในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมากกว่าเพราะภาที่ใช้นั้นเป็นคำง่ายๆสำหรับปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
ไม่ใช้ศัพท์สูง ไม่กล่าวถึงอภินิหารต่างๆเหมือนอย่างเช่นไตรภูมิพระร่วง
อีกทั้งสำนวนภาษายังคล้ายกับศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
นักวรรณคดีหลายท่านรวมไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเชื่อว่าสุภาษิตพระร่วงนั้นเป็นของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
สุภาษิตพระร่วง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บัญญัติพระร่วง
ในคำนำการพิมพ์สุภาษิตพระร่วงเป็นหนังสือที่ระลึกวันสถาปนากรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.
2505 นายธนิต อยู่โพธิ์ ได้กล่าวไว้ว่า
สุภาษิตพระร่วงเป้นพระบรมราโชวาทของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ที่ทรงสั่งสอนประชาชนชาวไทย
ภายหลังมีผู้แก้ไขแต่งเติมภายหลังเพื่อให้เข้าแบบกวีนิพนธ์
จึงกลายเป็นบัญญัติพระร่วงหรือสุภาษิตพระร่วง
จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อใช้สั่งสอนประชาชน
ลักษณะคำประพันธ์
ลักษณะคำประพันธ์เป็นร่ายสุภาพ ร่ายเป็นร้อยกรองที่เก่าแก่ของไทย
กวีนิยมแต่งคู่กับโคลง
ร่ายมีมีการบังคับฉันทลักษณ์น้อยเมื่อเทียบกับร้อยกรองประเภทอื่นๆ
แต่มีถ่วงทำนองที่ไพเราะ ร่ายที่มีการจบด้วยโคลงสอง
เรียกว่า ร่ายสุภาพ ลักษณะของร่ายสุภาพมีรูปแบบดังนี้
ลักษณะของร่ายสุภาพ
1. ร่ายสุภาพเป็นบทประพันธ์ที่ไม่กำหนดความยาว
จะแต่งให้ยาวเท่าใดก็ได้แต่จะจบด้วยโคลงสองสุภาพ
2. ในแต่ละวรรคจะใช้คำ 5 คำเป็นส่วนใหญ่ บางวรรคอาจจะมีมากกว่า 5 คำ
แต่จะนิยมให้มี 5 คำ
ข้อสังเกต
1. ถ้าคำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสเป็นรูปเอกหรือโท
คำที่รับสัมผัสในวรรคต่อไปจะเป็นรูปเอกหรือโท
2. ถ้าคำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสเป็นคำเป็นหรือคำตาย
คำที่รับสัมผัสในวรรคต่อไปจะเป็นคำเป็นหรือคำตายด้วยเช่นกัน
ตัวอย่าง