ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อการสอน
คุณค่าของสื่อการสอน
หลักในการใช้สื่อ
จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อ
ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการ
ธรรมชาติในการเรียนรู้ของมนุษย์
การใช้สื่อการสอน
พื้นฐานทางจิตวิทยา
จิตวิทยาการใช้สื่อ
แนวคิดทางการสอน
ความหมายของการสอน
เทคนิคการสอน
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
ตัวชี้วัด (Indicator)
จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อการเรียนการสอน
ตัวชี้วัด (Indicator)
ตัวชี้วัด (Indicator)
ที่แสดงให้เห็นว่าครูได้จัดการเรียนการสอนที่สนองความแตกต่างของผู้เรียน มีดังนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ควรใช้กระบวนการที่หลากหลายในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ กระบวนการคิด การตัดสินใจ
รวมทั้งคุณธรรม จริยธรรมและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ รวมทั้งมีการกำหนดงานมอบหมาย
โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างความรู้ โดยใช้ข้อมูลใหม่ ๆ ควรลงมือ ฝึกปฏิบัติ
การสร้างโครงงาน ชิ้นงาน หรือการแสดง ซึ่งจะช่วยพัฒนาปัญญาของผู้เรียน
อันเกิดจากการปฏิบัติ
2. พฤติกรรมของครู
ครูจะมีบทบาทแตกต่างไปจากเดิม (Devries, 1992: 3 -6)
คือจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และควบคุมการเรียนรู้
เปลี่ยนไปเป็นการให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวก และช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้
คือการเรียนการสอนจะต้องเปลี่ยนจาก Instruction ไปเป็น construction คือ
เปลี่ยนจาก การให้ความรู้ ไปเป็น การให้ผู้เรียนสร้างความรู้ บทบาทของครูก็คือ
จะต้องทำหน้าที่ช่วยสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดแก่ผู้เรียน
จัดเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตรงกับความสนใจของผู้เรียน
ดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปในทางที่ส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียน
ให้คำปรึกษาแนะนำทั้งทางด้านวิชาการและด้านสังคมแก่ผู้เรียน
ดูแลให้ความช่วยเหลือผู้เรียนที่มีปัญหา และประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน
นอกจากนั้นครูยังต้องมีความเป็นประชาธิปไตยและมีเหตุผลในการสัมพันธ์กับผู้เรียนด้วย
3. บรรยากาศการเรียนรู้
ผู้เรียน จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ แสวงหาความรู้
และร่วมประเมินผลการเรียนรู้ มีการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
ควรใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนูปกรณ์
การใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศ ห้องสมุด ทรัพยากรบุคคล/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
และสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชน
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เนื่องจากการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองนี้
ขึ้นกับความสนใจและการสร้างความหมายที่แตกต่างกันของบุคคล
ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจึงมีลักษณะหลากหลาย
ดังนั้นการประเมินผลจึงจำเป็นต้องมีลักษณะเป็น goal free evaluation
ซึ่งก็หมายถึงการประเมินตามจุดมุ่งหมายในลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล
หรืออาจใช้วิธีการที่เรียกว่า socially negotiated goal
และการประเมินควรใช้วิธีการหลากหลาย ซึ่งอาจเป็นการประเมินจากเพื่อน แฟ้มผลงาน
(portfolio) รวมทั้งการประเมินตนเองด้วย
นอกจากนั้นการวัดผลจำเป็นต้องอาศัยบริบทจริงที่มีความซับซ้อนเช่นเดียวกับการจัดการเรียนการสอนที่ต้องบริบท
กิจกรรม และงานที่เป็นจริง การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย
ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้
แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกของความเป็นจริง (real world criteria) ด้วย
ที่มา :
http://www.moe.go.th/cgi-bin/dcforum/dcboard.cgi?quote=not_empty&az=post&forum=DCForumID6&om=3373&omm=0