ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อการสอน
คุณค่าของสื่อการสอน
หลักในการใช้สื่อ
จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อ
ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการ
ธรรมชาติในการเรียนรู้ของมนุษย์
การใช้สื่อการสอน
พื้นฐานทางจิตวิทยา
จิตวิทยาการใช้สื่อ
แนวคิดทางการสอน
ความหมายของการสอน
เทคนิคการสอน
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
ตัวชี้วัด (Indicator)
จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อการเรียนการสอน
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
วีก็อทสกี้ (Vygotsky) นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย
ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาในสมัยเดียวกับเพียเจต์ (Piaget)
โดยวีก็อทสกี้ ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก เขาอธิบายว่า
มนุษย์ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด
เป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางสังคม
ซึ่งก็คือวัฒนธรรมที่แต่ละสังคมสร้างขึ้น ดังนั้นสถาบันสังคมต่าง ๆ
เริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัวจะมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคล
นอกจากนั้น ภาษายังเป็นเครื่องมือสำคัญของการคิดและการพัฒนาเชาว์ปัญญาขั้นสูง
พัฒนาการทางภาษาและทางความคิดของเด็กเริ่มด้วยการพัฒนาที่แยกจากกัน
แต่เมื่ออายุมากขึ้น พัฒนาการทั้ง 2 ด้านจะเป็นไปร่วมกัน
การนำทฤษฎีการสร้างความรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน
สามารถทำได้หลายประการดังนี้
- การสร้างความรู้ ผลของการเรียนรู้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้
(process of knowledge construction) และการตระหนักรู้ในกระบวนการนั้น
(reflexive awareness of that process)
เป้าหมายการเรียนรู้จะต้องมาจากการปฏิบัติงานจริง (authentic tasks)
ครูจะต้องเป็นตัวอย่างและฝึกฝนกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเห็น
ผู้เรียนจะต้องฝึกฝนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
- เป้าหมายของการสอน
จะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว
ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย การเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ
จะต้องให้มีประสิทธิภาพถึงขั้นทำได้และแก้ปัญหาจริงได้
- การเรียนการสอน ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ (Devries, 1992:
1 - 2) ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่าง ๆ
และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง
โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง
ซึ่งไม่ได้หมายความว่าผู้เรียนจะต้องออกไปยังสถานที่จริงเสมอไป
แต่อาจจัดเป็นกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ
วัสดุอุปกรณ์ สิ่งของหรือข้อมูลต่าง ๆ
ที่เป็นของจริงและมีความสอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน
โดยผู้เรียนสามารถจัดกระทำ ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ ทดลอง
ลองผิดลองถูกกับสิ่งนั้น ๆ จนเกิดเป็นความเข้าใจขึ้น
ดังนั้นความเข้าใจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการคิดการจัดกระทำกับข้อมูล
มิใช่เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ จากการได้รับข้อมูลหรือมีข้อมูลเพียงเท่านั้น
- การจัดการเรียนการสอน ครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคม จริยธรรม ให้เกิดขึ้น กล่าวคือ ผู้เรียนจะต้องมีโอกาสเรียนรู้ในบรรยากาศที่เอื้อต่อการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งทางสังคมถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างความรู้เพราะลำพังกิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์ทั้งหลายที่ครูจัดให้หรือผู้เรียนแสวงหามาเพื่อการเรียนรู้ไม่เป็นการเพียงพอ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดและประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และบุคคลอื่น ๆ จะช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนกว้างขึ้น ซับซ้อนขึ้น และหลากหลายขึ้น