ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
การออกแบบหน้า
เวิลด์ไวด์เว็บเริ่มต้นจากสถาบันเซิร์น(CERN:European Laboratory for Particle
Physics) โดย
สถาบันนี้ได้พัฒนาเว็บบราวเซอร์ขึ้นครั้งแรกและเป็นรุ่นที่มีความสามารถทั้งเป็นเว็บบราวเซอร์
และ โปรแกรมแก้ไขในตัวโปรแกรมโดยโปรแกรมเหล่านี้ใช้งานบนคอมพิวเตอร์ Next Step
ลักษณะการ แสดงผลของบราว์เซอร์แสดงผลเฉพาะข้อความเพียงอย่างเดียว
ซึ่งต่างจากเว็บบราวเซอร์ในปัจจุบัน
นอกจากสถาบันเซิร์น แล้วในระยะเดียวกันมีผู้พัฒนาเว็บบราวเซอร์อื่นๆ
ออกมาเช่นกัน อาทิ เช่น Erwise, Viola และ Lynx เป็นต้น
ซึ่งในปัจจุบันนี้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ที่ชื่อ Lynx ซึ่งแสดงผลด้วย
ข้อความเพียงอย่างเดียวยังมีใช้ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้บนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์,
ลีนุกซ์
ในระยะต่อมา สถาบัน NCSAC (National Center for Supercomuting Appli
cations) ร่วมกับ University of Illinois Urbana - Champain พัฒนาเว็บบราวเซอร์
ชื่อ Mosaic ซึ่งใช้งานแบบกราฟฟิกได้ โดยใช้กับคอมพิวเตอร์ PC/Windows และ
Macintosh เมื่อเดือนกันยายน พศ. 2536
บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเว็บบราวเซอร์ คือ Mark And Reesen
ซึ่งเป็นนักศึกษา ในสถาบัน NCSA ร่วมกับ เพื่อน ๆ อีก 5 คน ได้ออกจากสถาบัน NCSA
และ ร่วมกันตั้ง Mosaic Communication Corporation ขึ้นซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็น
Netscape Communication Corporation ซึ่ง ได้พัฒนามาเป็น Netscape Communication
Corporation เว็บบราวเซอร์ รุ่นแรกออกมาของ Netscape Navigator ใช้ชื่อเรียกกว่า
Mozilla ตอนช่วงปลายปี พศ. 2537 ในขณะเดียวกันบริษัทไมโครซอฟต์ พัฒนาเว็บบราวเซอร์
ชื่อ IE(Internet Explorer) ออกมาและเป็นคู่แข่งสำคัญของ Netscape Navigator
ของบริษัท Netscape Communication Corporation (NavarroAnn,1998)
พัฒนาการของเว็บบราวเซอร์ ที่มีอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเพิ่มขีด
ความสามารถด้านการเสนอ
ข้อมูลข่าวสารผ่านเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตมายังจอคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทำให้การสื่อสารบน
อินเทอร์เน็ตมีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากแสดงด้วยภาพเสียงมีสีสรรชวนติดตาม
ทำให้เวิลด์ไวด์เว็บ
กลายเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและเสนอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้มีการยอมรับและใช้งานกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกในปัจจุบัน
โฮมเพจ เว็บเพจ และเว็บไซต์
ส่วนประกอบในหน้าเว็บเพจ
ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism)
ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Scheme Theory)
องค์ประกอบของกราฟิก
หลักการออกแบบ
บรรณานุกรม