ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
โฮมเพจ เว็บเพจ และเว็บไซต์
ส่วนประกอบในหน้าเว็บเพจ
ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism)
ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Scheme Theory)
องค์ประกอบของกราฟิก
หลักการออกแบบ
บรรณานุกรม
ส่วนประกอบในหน้าเว็บเพจ
การใช้ข้อความ
- ไม่ควรบรรจุข้อความเต็มหน้าจอ เพราะทำให้ยากต่อการอ่าน
ทำให้รู้สึกน่าเบื่ออาจลดการเรียนรู้ลงได้
ควรใช้การเขียนเป็นแบบโครงร่างรายการแทน
อาจใช้วิธีวางรูปประกอบไว้ด้านข้างของข้อความ หรือแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อย
สิ่งสำคัญของการออกแบบหน้าจอให้มีประสิทธิผล คือ การทำให้หน้าจอนั้นดูธรรมดา
และใช้ลักษณะตัวอักษร
หัวข้อหลักและหัวข้อย่อยในเว็บเพจแต่ละหน้าอย่างคงเส้นคงวา
แสดงการจัดข้อความให้อ่านง่าย
- การใช้ข้อความ เกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบการพิมพ์ที่เหมาะสมกล่าวคือ
เลือกลักษณะของตัวอักษร และจัดแถววางแนวของอักษรในแต่ละหน้าของเว็บเพจ
โดยมีข้อควรพิจารณาดังนี้ คือ ขนาดของตัวอักษรมีความคงเส้นคงวา ไม่ควรใช้
ตัวอักษรเกินกว่า 2 รูปแบบในภาวะปกติ ไม่เจตนาเน้นคำจนเกินควร
จัดข้อความให้อยู่ในรูปแบบที่อ่านง่าย และกำหนดช่องว่าง หรือช่องไฟให้เหมาะสม
- ใช้ข้อความเป็นส่วนเชื่อมโยงเพื่อกำหนดทิศทาง
การใช้ในลักษณะนี้เป็นการใช้ที่คุ้นเคยกัน ข้อความที่เป็นไฮเปอร์ลิงค์
จะมีเส้นขีดใต้ข้อความสีน้ำเงินด้วยเหตุนี้ในหน้าเว็บเพจ
จึงควรมีข้อความเป็นไฮเปอร์ลิงค์ควบคู่กับการใช้ภาพกราฟิกเป็นส่วนกำหนดทิศทางข้อดีของการใช้ข้อความเป็นส่วนเชื่อมโยงคือ
เข้าถึงข้อมูลเร็ว ดังนั้นถ้าเว็บเพจนั้นใช้ภาพกราฟิกขนาดใหญ่
การใช้ข้อความเป็นส่วนเชื่อมโยงก็จะมีความ เหมาะสม
ส่วนข้อเสียคือการใช้ข้อความเป็น ส่วนเชื่อมโยงจะทำให้ดูน่าเบื่อ
และถ้ามีมากไปก็จะทำให้ยากต่อการใช้ ในกรณีนี้ควรใช้แถบสีช่วยให้ดูน่ามอง
- ใช้เป็นเมนูแบบแสดงรายการให้เลือก โดยใช้ภาษาจาวาสคริปต์สร้างเมนูแบบแสดงรายการให้เลือกนี้ จะใช้พื้นที่ในหน้าจอน้อยกว่าการใช้กราฟิก
แถบเครื่องมือ (Navigational Menus)
สิ่งที่มองเห็นได้ (visual Cues)
เนื้อหาข่าวสารในอินเทอร์เน็ต
รูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร
การใช้ข้อความ
การใช้พื้นหลัง และสี
การใช้กราฟิก
ใช้เป็นภาพแผนที่
การใช้ภาพเคลื่อนไหว
การใช้วีดีทัศน์
การใช้เสียง