ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

การออกแบบหน้า
Home Page

โฮมเพจ เว็บเพจ และเว็บไซต์
ส่วนประกอบในหน้าเว็บเพจ
ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism)
ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Scheme Theory)
องค์ประกอบของกราฟิก
หลักการออกแบบ
บรรณานุกรม

ส่วนประกอบในหน้าเว็บเพจ

รูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร

ลักษณะของสื่ออินเทอร์เน็ต แตกต่างจากสื่อดั้งเดิมนั้นรูปแบบการนำเสนอของเว็บไซด์ต่าง ๆ จึงปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสื่อด้วย การสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตสามารถใส่ข้อมูลข่าวสารในหน้าเว็บเพจทั้งข้อความรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียงรูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร

จากการศึกษาของ ศุจิกา ดวงมณี (2539) เรื่องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่าน เวิลด์ไวด์เว็บ ของสื่อมวลชนไทย พบว่านำเสนอได้หลายรูปแบบในเวลาเดียวกัน โดยพิจารณา 2 ส่วน คือ

1. รูปแบบของการนำเสนอข้อมูล ในส่วนการเลย์เอาท์ของหน้าเว็บไซต์

ในส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าแรก หรือโอมเพจ เน้นความชัดเจนในการเสนอแนวคิด เนื้อหาสาระและการบริการต่าง ๆ เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจให้ผู้ใช้งานติดตามในรายละเอียด ซึ่งส่วนนี้ประกอบด้วย ชื่อและสัญลักษณ์ประจำสื่อนั้น หัวข้อหรือรูปภาพที่เชื่อมโยงไปยังรายละเอียดข่าวสารตัวเลขระบุจำนวนผู้เข้ามาในโฮมเพจ การนำเสนอเรื่องเด่นของแต่ละวัน การแจ้ง ข่าวสารพิเศษ การลงทะเบียน การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ภายนอก ลักษณะการจัดวางหน้าเว็บไซต์ นำเสนอออกมาเป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. ลักษณะการใช้กรอบ (frame) นิยมแบ่งออกเป็น 2 ส่วนซ้ายและขวา โดยด้านซ้าย ของหน้าจอจะเป็นหัวข้อเรื่องหลักๆ ส่วนจอด้านขวาจะนำเสนอ รายละเอียดของแต่ละหัวข้อหลักทางซ้าย และพื้นที่สำหรับการนำเสนอหัวข้อเรื่องหลักจะแคบกว่าพื้นที่แสดงรายละเอียดทางด้านขวาการใช้กรอบในการแบ่งหน้าจอนี้เป็นเสมือนกับการนำเสนอ 2 หน้า จอในเวลาเดียวกัน วิธีการนำเสนอแบบใช้กรอบนี้พบการใช้ในหน้าเว็บเพจของสื่อมวลชนไทยทุกประเภทยกเว้นวิทยุกระจายเสียง
  2. ลักษณะไม่ใช้กรอบ การนำเสนอแบบนี้ใช้กับสื่อมวลประเภทที่เน้นลักษณะการเสนอเป็น 3 แบบคือ
    - กลุ่มนำเสนอรูปแบบเดียวกับสื่อนิตยสารฉบับตีพิมพ์กลุ่มนี้นำหน้าปกนิตยสารฉบับที่ทำการเผยแพร่นั้นมาลงโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
    - กลุ่มที่นำเฉพาะภาพที่เป็นจุดเด่นบนหน้าปก กลุ่มนี้จะนำเฉพาะรูปที่เป็นจุดเด่นขึ้นนำเสนอ และมีการออกแบบส่วนประกอบอื่นเพิ่มเติม โดยคงลักษณะของความเป็นหน้านิตยสารไว้
    - กลุ่มที่นำเสนอรูปแบบที่มีความแตกต่างไปจากการนำเสนอในสื่อฉบับปกติ กลุ่มนี้สร้างความแตกต่างในด้านรูปแบบให้เกิดขึ้น เช่น การสร้างภาพเพิ่มเติมจัดวางตำแหน่งของภาพใหม่ สร้างภาพเพิ่มเติมจากของเดิม รวมทั้งมีการรวมภาพเข้าด้วยกัน และสร้างข้อความเชื่อมโยงในลักษณะของการแทรกอยู่ในภาพซึ่งทำให้เกิดความแปลกใหม่

2. รูปแบบการใช้เทคโนโลยีระบบสื่อผสมในการนำเสนอข้อมูล

ความสามารถของอินเทอร์เน็ตนอกจากสามารถนำเสนอด้วยข้อความและภาพแล้ว ยังสามารถนำเสนอด้วยเสียงและภาพเคลื่อนไหวทำให้เกิดการนำเสนอในแบบสื่อผสมเกิดขึ้นดังนี้

  1. เทคโนโลยีด้านเสียง เสียงก็นำมาใช้ประกอบในหน้าเว็บเพจในลักษณะเป็นเสียงประกอบคลออยู่เบื้องหลังเว็บไซต์
  2. เทคโนโลยีด้านภาพวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหวเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มีถูกนำมาในหน้าเว็บเพจเช่นเดียวกับแบบเสียงการนำเสนอข้อมูลข่าวสารจะถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลวิดีโอ เช่น .avi,.mov,.mpeg เป็นต้น
  3. การสื่อสารสองทางระหว่างเว็บไซต์กับผู้เข้าชมการสื่อสารแบบสองทางที่นิยมนำมาใช้เพื่อการสื่อสารทางเว็บเพจต่าง ๆ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้ามาในเว็บเซต์สามารถถามคำถามเสนอความคิดเห็นให้คำแนะนำโดยสื่อสารทางจดหมายอิเล็คโทรนิกส์ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการติดต่อสามารถส่งจดหมาอิเล็คโทรนิกส์ได้ การสื่อสารสองทางจึงใช้เพื่อสอบถาม เสนอความคิดเห็นหรือให้คำแนะนำต่างๆ รวมทั้งใช้ในการรับสมัครสมาชิก จากแนวคิดและทฤษฎีนี้ จะเห็นได้ว่า อินเทอร์เน็ตมีความแตกต่างไปจากสื่อปกติ มีคุณสมบัติเสนอได้ทั้งภาพและเสียงสามารถเพิ่มคุณสมบัติการติดต่อสื่อสารสองทางได้ เนื้อหาที่อยู่ปรากฏในเว็บไซด์ต่างซึ่งเป็น ข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏอยู่ ถูกนำเสนอออกมาด้วยรูปแบบต่าง คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ทราบสภาพการใช้งานอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีมีลักษณะอย่างไร

หน้าโฮมเพจ หน้าโฮมเพจเป็นอินเทอร์เฟซสำคัญที่จะทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจว่า จะเข้ามาดูหน้านี้หน้าเดียวหรือหน้าอื่น ๆ ที่มีอยู่ในเว็บไซต์นั้น ถ้าไม่มีอะไรที่แสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์นี้มีประโยชน์อะไร ผู้ใช้ก็จะผ่านเว็บไซต์นี้ไป ถ้าข้อมูลในโฮมเพจแสดงให้ทราบได้ในระยะเวลาสั้นว่าเป็นโฮมเพจเกี่ยวกับเรื่องอะไร เป็นของใครสร้างหรือปรับปรุงขึ้นเมื่อไร มีที่มาจากที่ไหน และติดต่อกับผู้พัฒนาเว็บไซต์นั้นได้อย่างไร ก็จะทำให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่จะตัดสินใจในการเข้าชมเว็บเพจหน้าอื่นของเว็บไซต์นั้น โฮมเพจเป็นเสมือนศูนย์รวมของข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นั้น ควรมีการเชื่อมโยงระหว่างหน้าเว็บเพจอื่นกับโฮมเพจ โดยมีส่วนการเชื่อมโยงที่ชัดเจนในหน้าเว็เพจแต่ละหน้าเพื่อกลับไปยังโฮมเพจ นอกจากนี้ควรมีการให้ข้อสังเกตเมื่อมีข้อมูลใหม่เกิดขึ้น และมีส่วนติดต่อกลับไปยังผู้พัฒนาเว็บไซต์ เพื่อสอบถามหรือแสดงความคิดเห็น

 

  1. แถบทิศทางเดินหลัก เว็บไซต์ส่วนใหญ่นิยมสร้างแถบทิศทางเดินหลักโดยจัดวางไว้ด้านบนหรือด้านซ้ายของหน้าเว็บเพจ แทนการวางปุ่มคลิกไปทีละหน้าเหมือนการเปิดหนังสือ ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกต่อการใช้งาน การแสดงแถบทิศทางเดินหลักให้ปรากฏในทุกหน้าที่เชื่อมโยงไปจะทำให้มีการถ่ายโอนข้อมูลของแถบทิศทางเดินเพียงครั้งเดียว แต่ใช้ทรัพยากรบนแถบทิศทางเดินในทุกหน้าร่วมกันแสดงแถบทิศทางเดินหลักในหน้าเว็บเพจ
  2. เส้นทางเดิน เส้นทางเดินหน้าช่วยในการเข้าไปยังข้อมูลต่าง ๆ ในเว็บไซต์การออกแบบเส้นทางเดินในหน้าเว็บเพจ ได้มีการสร้างและพัฒนาเส้นทางเดินหลากหลายรูปแบบโดยใช้ภาษาจาวาและภาษาจาวาสคริปต์ เพื่อให้เส้นทางเดินมีความน่าใช้และง่ายต่อการใช้งานทำให้ผู้ใช้สะดวกไม่เกิดความสับสน รูปแบบเส้นทางเดินอาจมีดังต่อไปนี้

    เส้นทางชั้นเมนู (Menu-tree navigation) เป็นการเข้าสู่เนื้อหาที่จัดเป็นลำดับชั้นของเมนูที่แตกกิ่งแยกย่อยออกไป และย้อนกลับออกทางเดิมที่เข้าไป
     
    เส้นทางปรากฏเมื่อเลือก (Pop-up navigation) เมื่อคลิกรายการที่ต้องการจะมีกรอบรายการปรากฏให้คลิกเลือกรายการที่ต้องการต่อไป
     
    เส้นทางแถบแท็บ (Tab-stop navigation) เนื้อหาจัดเป็นระดับหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย ผู้ใช้จะไปยังหัวข้อดังกล่าวโดยวิธีการกดแป้นแท็บเหมือนแท็บของแฟ้มเอกสาร
     
    เส้นทางดัชนี (Index navigation) จัดทำเป็นตารางสารบัญ ให้เลือกคลิกรายการที่ต้องการ โดยไม่ต้องเข้าไปเป็นชั้นเพื่อไปยังข้อมูล
     
    เส้นทางเมนูแบบปล่อย (Pull-down menu) ใช้ภาษาจาวาสคริปต์ในการสร้างเพื่อให้ไปยังส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์
     
    เส้นทางสัญรูป (Iconic navigation) ใช้สัญรูปแทนข้อความ ซึ่งควรมีข้อความประกอบอยู่ด้วย เพื่อความชัดเจนขึ้น
     
    เส้นทางพลิกหน้า (Page Turning navigation) เหมาะสำหรับเนื้อหาที่จัดทำในลักษณะบทเรียน
     
    เส้นทางประสมประสาน (Combining navigation) เป็นการใช้เส้นทางลักษณะดังกล่าวข้างต้น ประสมประสานให้มีความเหมาะสม

การใช้องค์ประกอบมัลติมีเดียเกี่ยวข้องกับการใช้ข้อความ สี กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ และเสียง ให้มีความเหมาะสม ประสมประสานในการนำเสนอข้อมูลจากเว็บเพจนั้น ๆ ให้น่าสนใจและเกิดการรับรู้ข้อมูลได้ดีขึ้น การวางรูปแบบขององค์ประกอบมัลติมีเดียในเว็บเพจจะต้องมีความคงเส้นคงวา และมีตรรกะ

แถบเครื่องมือ (Navigational Menus)
สิ่งที่มองเห็นได้ (visual Cues)
เนื้อหาข่าวสารในอินเทอร์เน็ต
รูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร
การใช้ข้อความ
การใช้พื้นหลัง และสี
การใช้กราฟิก
ใช้เป็นภาพแผนที่
การใช้ภาพเคลื่อนไหว
การใช้วีดีทัศน์
การใช้เสียง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย