สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ
พัฒนาของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ
1. เศรษฐศาสตร์สวัสดิการในยุคแรกของพิกู
ได้รับอิทธิพลจากสำนักอรรถประโยชน์นิยม เน้นเรื่องการกระจายรายได้เพื่อคนจน
แต่ในภายหลังได้รับอิทธิพลจากวิจารณญาณพาเรโต้ และเน้นเรื่องประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ
2.
ภาวะที่เหมาะสมที่สุดตามหลักพาเรโต้ที่ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
ประกอบด้วยเงื่อนไข 3ประการ
ส่วนภาวะที่เหมาะสมที่ใช้ฟังก์ชั่นสวัสดิการสังคมจะเกิดขึ้นเมื่อสวัสดิการสังคมอยู่ในระดับสูงสุด
3.
วิจารณญาณพาเรโต้ที่ใช้ในการกำหนดภาวะเหมาะสมที่สุดในการใช้ทรัพยากรมีข้อบกพร่องบางประการ
4. การประเมินนโยบายเศรษฐกิจในยุคแรกของวิชาเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ
เน้นเรื่องการกระจายรายได้ แต่การประเมินนโยบายเศรษฐกิจในภายหลังตามข้อเสนอของ
คาลดอร์-ฮคซ์และซีทอฟสกี้ กลับเน้นเรื่องประสิทธิภาพเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
ประวัติทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สวัสดิการโดยสังเขป
หน่วยวัดแบบคาร์ดินัล เช่น ปริมาตร น้ำหนัก ส่วนสูง หน่วยวัดแบบออร์ดินัล
เช่น ลำดับที่รัชการ ลำดับที่จากผลการสอบ
แนวคิดสำคัญของพิกู คือ สังคมจะได้รับสวัสดิการสูงขึ้น
ถ้ามีการโยกย้ายรายได้จากคนรวยมาให้คนจน เพราะพิกูเชื่อในลัทธิอรรถประโยชน์นิยม
กล่าวคืออรรถประโยชน์สามารถจัดเป็นหน่วยๆ
และบุคคลทุกคนจะมีเส้นความพอใจหน่วยสุดท้ายเส้นเดียวกัน
ข้อสมมุติของพิกูถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ใช่วิธีการทางวิทยาศาสตร์
เพราะเป็นไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบความพอใจของมนุษย์
และความพอใจของมนุษย์ย่อมแตกต่างกัน
หลังจากคำวิจารย์ดังกล่าวก็มีการปรับปรุงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สวัสดิการของพิกูเป็น 2
แนวทาง แนวทางแรกคือการพัฒนาหลักเกณฑ์ที่ใช้ประเมินนโยบายเศรษฐกิจ
โดยอาศัยหลักวิจารณญาณขั้นต่ำ
แนวทางที่สองคือการพัฒนาเงื่อนไขการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยไม่ต้องมีการเปรียบเทียบความพอใจระหว่างบุคคล
แนวคิดเกี่ยวกับภาวะเหมาะสมที่สุด
1. ภาวะเหมาะสมที่สุดตามหลักการพาเรโตเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
หลังจากที่ถึงภาวะเหมาะสมที่สุดแล้วจะทำให้คนบางคนได้รับความพอใจสูงสุด
ขณะที่คนอื่นๆ ได้รับความพอใจลดลง โดยมีเงื่อนไขสำคัญ 3
ประการที่จะทำให้เราบรรลุภาวะเหมาะสมที่สุดดังกล่าวได้
2. ข้อบกพร่องที่สำคัญ คือ
ข้อเสนอแนะทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากวิจารณญาณดังกล่าว
อาจก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนรวย โดยที่คนจนไม่ได้ประโยชน์เลย
นอกจากนั้นนโยบายเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะเป็นนโยบายที่ปกป้องหรือค้ำจุน
สภาพเศรษฐกิจและสถาบันในรูปปัจจุบัน
การประเมินนโยบายเศรษฐกิจ
1. การประเมินนโยบายเศรษฐกิจต้องพิจารณา ผลกระทบต่อประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ
การกระจายรายได้ และผลกระทบต่อปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
2. หลักทรัพย์ของคาลดอร์เน้นเรื่องประสิทธิภาพ
แต่ละเลยเรื่องการกระจายรายได้ หลักเกณฑ์ที่ใช้ทดสอบคือ
นโยบายเศรษฐกิจใดก็ตามที่ทำให้ผู้ได้รับประโยชน์สามารถจ่ายเงินชดเชยแก่ผู้เสียประโยชน์
หลังจากการชดเชยแล้วหากผู้ได้รับประโยชน์ได้รับความพอใจมากขึ้น
และผูเสียประโยชน์ยินยอมให้มีการดำเนินนโยบายนั้นๆ นโยบายนั้นย่อมผ่านการทดสอบ
แสดงว่าสังคมจะได้รับสวัสดิการสูงสุดขึ้นกว่าเดิม
เมื่อมีการนำนโยบายใหม่ที่ผ่านการทดสอบมาใช้ดำเนินการ
ความสำคัญ ความหมายและวัตถุประสงค์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
พัฒนาของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ
ระเบียบวิธีและขอบเขตการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ