สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ
ความสำคัญ ความหมายและวัตถุประสงค์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
- เศรษฐศาสตร์สวัสดิการเป็นพื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์เกือบทุกสาขา เพราะเศรษฐศาสตร์สวัสดิการเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ประเมินนโยบายของรัฐบาล
- เศรษฐศาสตร์สวัสดิการเป็นวิชาที่ศึกษาผลกระทบของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจต่างๆ ที่มีต่อสวัสดิการสังคม และกำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินนโยบายเศรษฐกิจ
- วัตถุประสงค์ของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ คือการศึกษาถึงฐานะความเป็นอยู่ของสังคมส่วนรวม
- เนื่องจากเศรษฐศาสตร์สวัสดิการเป็นวิชาที่ศึกษาการเลือกวัตถุประสงค์ของสังคม ความรู้เรื่องความพอใจของสังคม หรือฟังก์ชั่นสวัสดิการสังคม จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะช่วยให้เราเลือกวัตถุประสงค์ของสังคมได้อย่างถูกต้อง
ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ
วิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไปเป็นเพียงการศึกษาหรืออธิบายปรากฏการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอดีต
ปัจจุบันและอนาคต แต่วิชาเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ
เป็นวิชาที่กำหนดหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินนโยบายต่างๆ
ของรัฐบาลว่านโยบายใดพึงปรารถนา หรือก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม
ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ
เศรษฐศาสตร์สวัสดิการคือวิชาที่ศึกษาถึงความเป็นอยู่ของคนในสังคม
โดยศึกษาผลกระทบของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ
ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์ที่ใช้เลือกนโยบายที่จะก่อให้เกิดสวัสดิการสูงสุดต่อสังคม
ประโยคที่แฝงวิจารณญาณ เช่น
(ก) ไม่มีความจนในหมู่คนขยัน
(ข) ควรมีการกระจายรายได้จากคนจนสู่คนรวยเป็นต้น
ประโยคที่ไม่มีวิจารณญาณแฝง เช่น
(ก) เขาทำงานหนักเขาจึงมีรายได้สูง
(ข) เมื่อราคานำมันแพงขึ้นจะเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของวิชาเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ และฟังก์ชั่นสวัสดิการสังคม
1. วัตถุประสงค์หลักของวิชาเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ
คือศึกษาฐานะความเป็นอยู่ของสังคมส่วนรวม
โดยศึกษาถึงวัตถุประสงค์ข่อต่างๆของสังคมว่าจะมีผลกระทบต่อสวัสสดิการสังคมอย่างไร
ทั้งนี้เพื่อจะได้สามารถเลือกนโยบายเศรษฐกิจที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสังคมได้
2. ฟังก์ชั่นสวัสดิการสังคม
เป็นแนวคิดที่ใช้แสดงวัตถุประสงค์ของสังคมในรูปของกฎที่ใช้ในการเรียงลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
นอกจากนักเศรษฐศาสตร์บางคน เช่น แอร์โรว์
ยังใช้ฟังก์ชั่นสวัสดิการสังคมในฐานะที่เป็นกฏในการรวมฟังก์ชั่นสวัสดิการสังคมของแต่ละบุคคลเข้าเป็นฟังก์ชั่นของสังคม
ความสำคัญ ความหมายและวัตถุประสงค์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
พัฒนาของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ
ระเบียบวิธีและขอบเขตการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ