สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม

การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย

บทบาทและพฤติกรรมของบุคคลและสถาบันทางการเมืองกับการเลือกของสังคม

1. ผู้ออกเสียงจะเลือกพรรคการเมืองที่จะให้ประโยชน์กับตนมากที่สุด ในขณะเดียวกันพรรคการเมืองก็พยายามดำเนินนโยบายที่จะให้ได้เสียงสนับสนุนมากที่สุด เพื่อการได้รับเลือกเข้ามามีอำนาจใหม่ ส่วนกลุ่มผลประโยชน์นั้นเป็นการรวมบุคคลที่มีผลประโยชน์ร่วมกันเพื่อโน้มน้าวรัฐบาลให้ออกระเบียบหรือกฏเกณฑ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มของตน โดยปกติกลุ่มผลประโยชน์ขนาดเล็กมักจะมีประสิทธิภาพในการดำเนินกิจการสูงกว่ากลุ่มขนาดใหญ่

2. พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาล จะพยายามรักษาความนิยมในหมู่ประชาชน เพื่อให้ได้รับเลือกให้ได้เป็นรัฐบาลต่อไปในความพยายามที่จะเรียกร้องความนิยมให้กว้างขวางที่สุด พรรคการเมืองอาจจะทำความตกลงระหว่างกันเอง เพื่อหาประโยชน์ร่วมกันในการดำเนินนโยบายบางอย่างที่จะได้รับเสียงข้างมากจากประชาชน ส่วนข้าราชการประจำมีส่วนทำให้การใช้จ่ายสาธารณะสูงเกินความจำเป็น เนื่องจากข้าราชการประจำมีเป้าหมายที่จะแสวงหาอำนาจซื่อเสียงและเงินทองด้วยการขยายหน่วยงานของตน

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ออกเสียง พรรคการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์

ผู้ออกเสียงพยายามเลือกที่ก่อให้เกิดอรรถประโยชน์สูงสุดเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง พรรคการเมืองแต่ละพรรคก็มีจุดมุ่งหมายที่จะได้รับเลือกเข้าไปเพื่อบริหารประเทศโดยมุ่งหวังทั้งประโยชน์ของพรรคและของตนเอง ส่วนกลุ่มผลประโยชน์ก็มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง โดยอาศัยวิธีการต่างๆ ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ของตนเสมอ

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล พรรคการเมือง และข้าราชการประจำ

บทบาทของข้าราชการประจำถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลไกของรัฐบาล เนื่องจากเป็นผู้รับเอานโยบายรัฐบาลไปปฏิบัติ แต่บางครั้งข้าราชการประจำไม่เห็นด้วยกับนโยบายนั้นก็อาจมีการกระทำอย่างไม่เต็มใจ ทำให้เกิดความล่าช้าหรือขาดประสิทธิภาพและอาจเป็นผลเสียต่อการบริหารของรัฐบาลก็ได้

กลไกทางรัฐศาสตร์กับทางเลือกของสังคม
รูปแบบของการออกเสียงและปัญหาที่เกี่ยวข้อง
บทบาทและพฤติกรรมของบุคคลและสถาบันทางการเมืองกับการเลือกของสังคม
ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายสวัสดิการสังคม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย