ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ลักษณะทั่วไปของปรัชญาตะวันตก – ปรัชญาตะวันออก

ลักษณะทั่วไป
ความแตกต่างระหว่างปรัชญาตะวันออก – ตะวันตก
ลักษณะปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาตะวันตก
เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญากรีก
เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาสมัยกลาง
เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาสมัยใหม่
ปรัชญาเปรียบเทียบ
ศิลปะในวิธีการศึกษา

ลักษณะปรัชญาอินเดีย

  • พระเวทเกิดขึ้นเมื่อราว 1,500 ปีก่อน ค.ศ.
  • ประวัติความคิดของอินเดีย อาจแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ

ยุคของพระเวท ซึ่งนับแต่ระยะแรกเริ่มมาจนสิ้นยุคของพระเวทประมาณ 500 ปีก่อน ค.ศ. หลักฐานต่าง ๆ ในยุคนี้เรียกว่า ศรุติ คือเป็นความรู้ที่พระเจ้าเปิดเผยให้รู้ แต่หลักฐานเหล่านี้ได้รับการรวบรวมขั้นในยุคกลาง และมีความแน่นอนเชื่อถือได้เพราะรักษากันมาในฐานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ยุคสันสกฤตหรือยุคคลาสสิก เป็นยุคที่มีการรวบรวมความคิดต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่ราว 500 ปีก่อน ค.ศ. เป็นต้นมา ในยุคนี้มีวรรณคดีและผลงานต่าง ๆ เกิดขึ้นมาก แต่มีความแน่นอนน่าเชื่อถือน้อยกว่าผลงานยุคแรก ในยุคสันสกฤตนี้ เราอาจจะแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ย่อยคือ ระยะก่อนระบบปรัชญา และระยะปรัชญา 6 ระบบ

ในปรัชญาอินเดียอุดมไปด้วยความคิดและมีความแตกตางกันในทางปฏิบัติมากมาย แต่อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะหรือ 2 กลุ่มคือ

  • อาสติกะ ได้แก่ กลุ่มความคิดที่มีบ่อเกิดจากพระเวทหรือยมรับความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวทเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพวกในจารีต ได้แก่ปรัชญา 6 ระบบของอินเดีย
  • นาสติกะ ได้แก่ พวกที่ไม่ได้มีบ่อเกิดจากพระเวท ไม่ยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวท และเป็นความคิดที่ต่อต้านพระเวท ได้แก่ พุทธปรัชญา ปรัชญาเชน และลัทธิจารวาก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พวกนอกรีต

 

ความคิดทั้ง 2 กลุ่มนี้ แม้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องบ่อเกิดและความหมายทั่ว ๆ ไป แต่ก็มีลักษณะบางอย่างร่วมกัน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นลักษณะพื้นฐานของปรัชญาอินเดีย ดังนี้

  • ศาสนาและปรัชญาไม่แยกจากกันเพราะจุดหมายปลายทางของศาสนาและปรัชญานั้นเหมือนกัน นั่นคือ การแสวงหาอันเป็นแก่นหรือหัวใจของสภาวธรรม
  • จุดหมายอันแท้จริงของปรัชญาคือ โมกษะ มิใช่เป็นเพียงการรู้แจ้งด้วยปัญหาเท่านั้น ฉะนั้น ปรัชญาอินเดีย จึงมิใช่เป็นการรู้เพื่อรู้แต่รู้เพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดเท่าที่มนุษย์จะพึงได้ในชีวิตนี้
  • จุดหมายของปรัชญาอินเดียอยู่เหนือจริยศาสตร์และตรรกศาสตร์ เพราะปรัชญาอินเดียมิได้เกิดจากความประหลาดใจใคร่จะรู้ แต่เกิดจากความบังคับหรือความจำเป็นของชีวิต อันเป็นผลจากความประจักษ์ความชั่วในแง่ศีลธรรมและความทุกข์ในชีวิต การขบคิดทางปรัชญาจึงเป็นการพยายามหาทางแก้ปัญหาชีวิตมากกว่าที่จะขบคิดปัญหาทางอภิปรัชญา ส่วนเรื่องทางอภิปรัชญาเป็นสิ่งที่ตามมาภายหลัง
  • ปรัชญาเป็นแนวทางชีวิตมิใช่เป็นเพียงแนวคิดเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเมื่อจุดหมายของปรัชญาคือโมกษะ ฉะนั้นปรัชญาจึงพยายามวางแนวทางในการปฏิบัติเพื่อดำเนินไปสู่โมกษะนั้น ดังปรัชญาเชนที่ว่า “อย่ามีชีวิตเพื่อรู้ แต่จงรู้เพื่อมีชีวิต”
  • ความหมายของปรัชญาในอินเดียนั้น มิใช่เป็นเพียงเรื่องของพุทธิปัญญาหรือศีลธรรมจรรยาเท่านั้น แต่เป็นทั้งสองอย่างรวมกัน และเหนือขอบเขตของทั้งสองอย่างนั้นไปอีกด้วย กล่าวคือ ปรัชญาเป็นทั้งเรื่องของทฤษฎีและการปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดที่ตรรกศาสตร์และจริยศาสตร์มิอาจจะทำให้บรรลุถึงได้

คุณค่าของปรัชญา อยู่ที่การโน้มน้าวบุคคลให้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ สอนให้รู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้ และทำให้เป็นในสิ่งที่ไม่เคยเป็น

จุดสุดยอดของความคิดทางปรัชญาของอินเดีย คือเวทานตะ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ เอกนิยมกับจักษุนิยม ความคิดของเวทานตะเป็นการแสดงให้เห็นว่า ความคิดที่มีชัยชนะเป็นขั้นสุดท้ายในอินเดียนั้น คือ อสัมพัทธนิยม (Absolutism) และเทวนิยม (theism)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย