สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องพุทธศาสนากับการทำแท้ง

ความหมายของการทำแท้ง
การทำแท้งและกฎหมาย
สิทธิของแม่ : วิธีการของนักสตรีศึกษา
ข้อเท็จจริงทางศีลธรรมของการทำแท้ง
ทัศนะทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับศีลธรรมในการทำแท้ง
ความเป็นคนเริ่มต้นเมื่อใดตามทัศนะของพุทธศาสนา
การทำแท้งคือการฆ่ามนุษย์ตามทัศนะพุทธศาสนา
เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมการทำแท้ง
บทสรุป
เอกสารอ้างอิง

สิทธิของแม่ : วิธีการของนักสตรีศึกษา

ตราบเท่าที่การโต้เถียงในเรื่องศีลธรรมของการทำแท้งถูกนำมาเกี่ยวข้อง วิธีการของนักสตรีศึกษา ก็กำลังเดินไปอย่างมีบทบาทสำคัญ กลุ่มผู้สนับสนุนสตรีจำนวนมาก ได้เรียกร้องขอความสนับสนุนให้อนุญาตออกกฎหมายการทำแท้ง

คำอธิบายในเรื่องการทำแท้งของสิทธิสนับสนุนสตรี พุ่งไปที่การรณรงค์ “การทำแท้งบนความต้องการ” ตัวอย่างเช่น การรณรงค์สำหรับการบัญญัติกฎหมายที่จะอนุญาตให้ผู้หญิงมีสิทธิตามกฎหมายในการทำแท้งเมื่อใดก็ตามที่เธอประสงค์ มุมของกลุ่มผู้สนับสนุนสตรีในเรื่องของการออกกฎหมายจำกัดสิทธิ ในการทำแท้งนี้เป็นการจำกัด “สิทธิของผู้หญิงในการที่จะเลือก” และทำให้ชีวิตของผู้หญิงถูกจำกัด เพราะเมื่อพวกเธอเกิดท้องขึ้นมาก็จะต้องเก็บเด็กเอาไว้ ก็ยังเป็นที่โต้แย้งกันอีกว่า การออกกฎหมายในลักษณะนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการสมคบคิดที่จะทำให้ผู้หญิงตกเป็นรองในสังคม

มีการกล่าวอ้างว่าผู้หญิงได้ให้สิทธิแก่ทารกในการที่จะมีชีวิตโดยการตั้งท้อง ดังนั้น การทำแท้งจึงเป็นการไม่ยุติธรรมที่จะฆ่าและละเมิดสิทธิในการมีชีวิตของทารก การกล่าวอ้างนี้ดูจะมีเหตุผล จากการอ้างอิงของ จูดิธ จาร์วิส ทอมสัน (1971: 50-51) ในบทความเรื่อง “การต่อต้านการทำแท้ง” ได้โต้แย้งในเรื่องที่มีการกล่าวว่าจะได้รับสิทธิในการมีชีวิตอยู่ และได้รับสิทธิในการใช้ร่างกายของผู้เป็นแม่ก็ต่อเมื่อตัวอ่อนหรือทารกนั้นได้เข้ามาอยู่ในครรภ์ หรือในมดลูกจากกิจกรรมโดยสมัครใจเท่านั้น ถ้าเป็นหญิงที่ตั้งครรภ์จากการถูกข่มขืน การ่วมประเวณีระหว่างพี่น้อง เธอจะไม่สามารถที่จะมอบสิทธิเหล่านั้นแก่ทารก จากการโต้แย้งนี้ ถึงแม้ว่าธอมสันจะมิได้เอ่ยถึง เราก็สามารถคาดเดาได้ว่า สตรีผู้เยาว์ที่ยังไม่รู้เรื่องหรือสตรีที่ขาดภาวะความเป็นผู้ใหญ่ และผู้ที่ตั้งครรภ์โดยไม่สมัครใจหรือไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถที่จะมอบสิทธิแก่ทารกในการใช้ร่างกายของเธอได้



อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้หญิงมิได้ให้สิทธิแก่ทารกหรือตัวอ่อนในการใช้ร่างกายของเธอ เราต้องจำไว้ว่าทารกหรือตัวอ่อนซึ่งถูกคำนึงถึงในแง่ของศีลธรรม และความมีตัวตนจริง ๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ร่างกายของสตรีในการมีชีวิตอยู่ได้ ดังนั้น ผู้หญิงจึงไม่ควรปฏิเสธทารกในการใช้ร่างกายของเธอ

ในกรณีนี้ ธอมสัน บอกว่าการปฏิเสธในลักษณะเช่นนี้ มิใช่การฆ่าอย่างอยุติธรรม แต่เป็นการกระทำที่โหดร้าย และขาดซึ่งความเห็นใจต่อเด็กที่ยังไม่เกิด เธอเปรียบเทียบการกระทำนี้กับกรณีที่คน ๆ หนึ่งไม่ช่วยเหลือใครบางคนที่กำลังต้องการความช่วยเหลือจากเขาเป็นอย่างที่สุด เธอชี้ว่า ถ้าคน ๆ หนึ่งมีไข้และเขาต้องการมือของใครสักคนแตะไปที่หน้าผากของเขา สถานการณ์เช่นนี้จะไม่ทำให้เขาได้รับอนุญาตที่จะได้สัมผัสเช่นนั้น แม้ว่าเขาจะต้องการมันเพื่อรักษาชีวิตของเขา มันคงจะเป็นการดีกว่าฉันมาจากที่ห่างไกลเพื่อที่จะจัดหาสิ่งที่เขาต้องการ แต่มิใช่ว่า เขาจะมีสิทธิมาบังคับ ฉันให้ทำตาม อย่างไรก็ตาม สมมติว่าฉันไม่ได้อยู่ห่างมาก และเพียงแต่ฉันต้องเดินมาที่นี่ วางมือลงบนศรีษะของเขาอย่างรวบรัดและช่วยชีวิตของเขาได้ นั่นเป็นสิ่งแน่นอนที่ฉันควรปฏิเสธที่จะทำจะเป็นการไม่เหมาะสม ขาดซึ่งความเห็นใจผู้อื่น และยึดตัวเองเป็นหลัก แต่มิใช่ความอยุติธรรม จากการกล่าวมาทั้งหมด สามารถที่จะบอกเป็นนัยได้ว่าเขามีสิทธิ์เหนือตัวฉัน เช่นเดียวกันกับถ้าหญิงสาวที่ถูกข่มขืน ควรที่จะให้เด็กที่ยังไม่เกิดมาได้ใช้ร่างกายของเธอช่วงเวลาหนึ่งตามที่เด็กต้องการ มันไม่ควรจะรวมถึงการที่เขามีสิทธิ์ทำเช่นนั้น มันควรจะรวมถึงการที่เธอยึดตนเองเป็นที่ตั้ง ขาดความเหมาะสมแต่มิใช่ความอยุติธรรมถ้าเธอจะปฏิเสธ อย่างไรก็ตาม ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องยืนยันในจุดนี้ มีหลายกรณีที่ไม่จำเป็นที่จะมีความต้องการทางด้านศีลธรรมของพวกเราที่จะอนุญาตใครบางคนในการใช้ร่างกายของเราและเขาก็ไม่มีสิทธิทำเช่นนั้น กรณีของแม่และเด็กที่ยังไม่เกิดก็คล้ายคลึงกับตัวอย่างประเภทนี้ ธอมสัน (1971: 50-51) กล่าวว่า

“ไม่มีใครหรอกที่มีความต้องการที่จะเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ในเรื่องของสุขภาพ ผลประโยชน์หรือสิ่งเกี่ยวข้องเรื่องอื่น ๆ หน้าที่และข้อตกลงหรือสัญญาจะเป็นเวลาสัก 9 ปี หรือแม้แต่ 9 เดือน เพื่อที่จะช่วยรักษาชีวิตของผู้อื่น”

อย่างไรก็ตามผู้สนับสนุนบางคนได้แย้งว่ากฎหมายหรือข้อบังคับที่กำหนดให้ผู้หญิงอนุญาตให้ทารกมีสิทธิในการใช้ร่างกายของพวกเธอเป็นการกดขี่สตรี อย่างไรก็ตาม การกดขี่นี้ไม่ควรส่งผลต่อภาวะกดขี่ของทารกซึ่งยังไม่เกิด การถูกกดขี่ของสตรีมิได้เป็นการให้เหตุผลที่จะเพิกเฉยต่อสถานภาพทางศีลธรรมของทารกซึ่งยังไม่เกิด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย