สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
โรคไข้กาฬหลังแอ่น
(Meningococcal Meningtis)
ผู้เรียบเรียง วาที สิทธิ สำนักระบาดวิทยา
ระบบการรายงานโรคไข้กาฬหลังแอ่นเป็นการรายงานผู้ป่วยตามกลุ่มอาการที่เข้าได้กับนิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย
โดยสำนักระบาดวิทยา ในปี พ.ศ. 2552(ค.ศ. 2009) สำนักระบาดวิทยา
ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่น จำนวนทั้งสิ้น 34 ราย (สัญชาติไทย 33 ราย
และสัญชาติจีน 1 ราย) อัตราป่วย 0.05 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 5 ราย
คิดเป็นอัตราตาย 0.01 ต่อประชากรแสนคน และอัตราป่วยตาย ร้อยละ 14.71
เมื่อพิจารณาอัตราป่วยในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา คือระหว่าง พ.ศ. 2543
2551(ค.ศ. 2000 2008) พบแนวโน้มของอัตราป่วยลดลง แต่ในปี พ.ศ. 2552(ค.ศ. 2009)
มีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2551(ค.ศ. 2008)
สำหรับอัตราป่วยตายแนวโน้มไม่ชัดเจน พบว่าปี พ.ศ. 2543 2546
อัตราป่วยตายมีแนวโน้มลดลง ปี พ.ศ. 2546 2550
มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีและลดลงในปี พ.ศ. 2551(ค.ศ. 2008)
แต่ในปีนี้มีแนวโน้มของอัตราป่วยตายสูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2551
ผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่นพบได้ตลอดปี ไม่มีฤดูกาลเกิดโรคที่ชัดเจน สำหรับปี
พ.ศ. 2552 มีการรายงานผู้ป่วยทุกเดือน เดือนละ 1 - 5 ราย
ผู้ป่วยมีอายุระหว่าง 1 เดือน 74 ปี
เมื่อจำแนกตามกลุ่มอายุพบว่ากลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ 0 - 4 ปี เท่ากับ
0.18 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ 10 - 14 ปี(0.08) 5 - 9 ปี (0.07) 25 - 34
ปี(0.06) 15 - 24 ปี(0.05) และ 35 ปีขึ้นไป (0.03) (รูปที่ 3)
ผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยพบ เพศชาย 20 ราย เพศหญิง 14 ราย
อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1.43: 1
ผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่นเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
ร้อยละ 53 โรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 32.2 โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 11.8
และโรงพยาบาลเอกชน/คลินิก ร้อยละ 3 เป็นผู้ป่วยใน ร้อยละ 64.7 ผู้ป่วยนอก ร้อยละ
35.3
ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา คือระหว่าง พ.ศ. 2548 2551 (ค.ศ. 2005 - 2008)
ภาคใต้มีอัตราป่วยสูงสุดอย่างต่อเนื่อง และ ในปี พ.ศ. 2552 ภาคใต้มีอัตราป่วยสูงสุด
0.13 ต่อประชากร แสนคน รองลงมา คือ ภาคเหนือ(0.06) ภาคกลาง(0.05)
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(0.03)
จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด 10 อันดับแรก
ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปัตตานี(0.62) พัทลุง(0.59)
พังงา(0.40) ภูเก็ต(0.30) กระบี่(0.24) และยะลา(0.21) จังหวัดในภาคเหนือ 3 จังหวัด
ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน(0.81) อุตรดิตถ์(0.43) และเพชรบูรณ์(0.30)
จังหวัดในภาคกลาง 1 จังหวัด คือ จังหวัดปราจีนบุรี(0.22)
โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 91.2 ในเขตเทศบาล
ร้อยละ 8.8
สำหรับผู้เสียชีวิต 5 ราย อยู่ในกลุ่มอายุ 5 - 9 ปี 1 ราย อายุ 10 - 14 ปี
1 ราย อายุ 15 - 24 ปี 2 ราย และอายุ 25 - 34 ปี 1 ราย พบในจังหวัด แม่ฮ่องสอน
เพชรบูรณ์ ปัตตานี และกระบี่
ข้อมูลการตรวจยืนยันเชื้อ Neisseria meningitidis ในปี พ.ศ. 2552
จากฝ่ายแบคทีเรียทั่วไป สถาบันวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
โดยแยกเชื้อและทดสอบ serogroup ด้วยวิธี PCR จากผู้ป่วยที่ส่งตรวจทั้งหมด 32 ราย
สามารถตรวจยืนยันเชื้อจากผู้ป่วยได้ 14 ราย (ร้อยละ 43.75) โดยเป็นวิธี Hemoculture
6 ราย ซีรั่ม 2 ราย น้ำไขสันหลัง 3 ราย เสมหะ 1 ราย Nasopharyngeal swab 1 ราย
และจากจ้ำเลือด 1 ตัวอย่าง ซึ่งพบเป็น serogroup B จำนวน 12 ราย serogroup W 135
จำนวน 2 ราย
ในปี พ.ศ. 2552 ไม่พบมีการระบาดของโรคไข้กาฬหลังแอ่น
แบบกลุ่มก้อนแต่พบมีผู้เสียชีวิต 1 ราย
เป็นแรงงานไทยเดินทางกลับมาจากประเทศแอฟริกาใต้เมื่อเดือนกันยายน ตรวจพบเชื้อ
Neisseria meningitidis serogroup W 135 ซึ่งเป็น serogroup
ที่พบในประเทศแถบทวีปแอฟริกา
สำหรับ serogroup ของเชื้อ Neisseria meningitidis ที่พบในประเทศไทย
จากข้อมูลการตรวจยืนยันเชื้อ โดยฝ่ายแบคทีเรียทั่วไป สถาบันวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า serogroup ที่พบบ่อยคือ serogroup B รองลงมาคือ
serogroup A ส่วน serogroup C, Y และ W 135 พบได้ประปราย(1)
โรคไข้กาฬหลังแอ่นเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
แต่วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น สามารถป้องกันเฉพาะ serogroup A, C, Y และ W 135
ดังนั้นการตรวจหา serogroup จึงมีความสำคัญ ต่อการทราบระบาดวิทยาของเชื้อ Neisseria
meningitidis แต่ละสายพันธุ์ ในประเทศไทย เพื่อการวางแผนควบคุมป้องกันได้ดียิ่งขึ้น
เช่น การให้วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
- กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดต่ออุบัติใหม่ 2552. [สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2553]
- แหล่งสืบค้น. http://www.beid.ddc.moph.go.th/th/images/situationeid53.doc