ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

มนุษย์กับการใช้เหตุผล

ความหมายและความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์
มนุษย์คือใคร: ทัศนะด้านศาสนา
มนุษย์ในทัศนะของศาสนาอินดู
มนุษย์ในทัศนะของศาสนาพุทธ
มนุษย์ในทัศนะของศาสนาคริสต์และอิสลาม
มนุษย์ในทัศนะของศาสนาขงจื้อ
มนุษย์คือใคร : ทัศนะด้านปรัชญา
มนุษย์คือใคร : ทัศนะด้านวิทยาศาสตร์
มนุษย์คือใคร : ทัศนะด้านสังคมศาสตร์
ความหมายของการใช้เหตุผล
สมองกับพัฒนาการการใช้เหตุผลของมนุษย์
สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา
ความเป็นมาและรูปแบบของการใช้เหตุผล
ความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เหตุผล
การคิดและการใช้เหตุผลของตะวันตกและตะวันออก

มนุษย์ในทัศนะของศาสนาพุทธ

พุทธศาสนาไม่ยอมรับทัศนะการสร้างมนุษย์ในศาสนาฮินดู พุทธศาสนาถือว่า มนุษย์มิใช่สิ่งสร้างของพระพรหมและไม่มีส่วนใดคงที่ มนุษย์เกิดจากองค์ประกอบทางกายหรือรูป (ดิน น้ำ ลม ไฟ) และทางจิต (เวทนา สัญญา สังขาร จิต/วิญญาณ) ทั้งหมดรวมกันเรียกว่า “ขันธ์ 5” โดยในส่วนของกายและจิตมีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติ แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ต่างกันในทัศนะของพุทธศาสนาก็คือ “กรรม” คนจะดีหรือชั่ว วัดได้ด้วยกรรมที่แต่ละคนทำ กรรมหรือการกระทำดีหรือชั่วต่างหากที่เป็นเครื่องกำหนด มิใช่พระพรหม และพุทธศาสนากันสอนเน้นไปที่จิตใจ โดยสอนให้เห็นความสำคัญถึงความดีทางใจสำหรับการดำเนินชีวิต

ฉะนั้น ตามทัศนะของพุทธศาสนา มนุษย์เกิดขึ้นโดยไม่ใช้จากการสร้างของพระเจ้าหรือพระพรหม แต่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของเหตุปัจจัย หรือตามกฎแห่งกรรม ตามหลักการที่ว่า

“เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไปด้วย” (พระธรรมปิฎก, 2546: 81)

จากมุมมองตรงนี้ มนุษย์ในทัศนะของพุทธศาสนา จึงไม่ได้มาจากการสร้างของพระเจ้า หรือพระพรหม ถ้าจะพูดให้กระชับตามภาษาทั่วไปก็คือ กรรมเป็นตัวกำหนดการเกิดของมนุษย์ ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กรรมลิขิต”



ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งที่พุทธศาสนาได้กล่าวไว้คือ องค์ประกอบของการการเกิดขึ้นของชีวิตมนุษย์ ประกอบด้วยขั้นตอน 3 ประการ คือ

  1. บิดามารดามีเพศสัมพันธ์กัน
  2. มารดาอยู่ในวัยมีประจำเดือน และมีไข่ตกขณะมีเพศสัมพันธ์กับบิดา
  3. มีสิ่งที่เรียกว่า “คันธัพพะ” หรือ “วิญญาณ” เข้าไปปฏิสนธิในรังไข่ของมารดา

แต่เมื่อว่าโดยธรรมชาติของศักยภาพในการพัฒนาด้านสติปัญญา (IQ) ของมนุษย์ พุทธศาสนาได้แบ่งระดับของบุคคลไว้ 4 จำพวก คือ

  • อุคติตัญญู หมายถึงกลุ่มมนุษย์ที่มีความฉลาดมาก เปรียบได้กับชนิดของบัวที่พ้นน้ำแล้ว
  • วิปจิตัญญู หมายถึงกลุ่มมนุษย์ที่มีความฉลาดพอควร เปรียบเหมือนบัวประเภทเสมอน้ำ
  • เนยยะ หมายถึงกลุ่มมนุษย์ที่ฉลาดปานกลาง เปรียบเหมือนบัวประเภทใต้น้ำ
  • ปทปรมะ คือคนประเภทโง่เขลา เปรียบได้กับบัวในโคลนตม จะเห็นว่า บุคคล 3 ประเภทแรกสามารถพัฒนาตนเองได้จากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง คือมนุษย์ประเภทที่ 2 และ 3 สามารถพัฒนาตนเองไปสู่ประเภทที่ 1 และ 2 ได้ ยกเว้นประเภทที่ 4 เท่านั้น

เมื่อเทียบกับระดับวรรณะในศาสนาฮินดูแล้ว มนุษย์จะถูกจำกัดศักยภาพของตนเองตามลำดับชั้นของตนเองเท่านั้น ไม่สามารถพัฒนาตนเองไปสู่ระดับที่สูงกว่าระดับวรรณะของตนเอง นี้เป็นมุมมองเกี่ยวกับมนุษย์ที่แตกต่างกันระหว่างศาสนา โดยศาสนาหนึ่งได้บทสรุปว่า มนุษย์เป็นประเภท “พรหมลิขิต” ส่วนอีกศาสนาหนึ่งกล่าวว่า มนุษย์เป็นประเภท “กรรมลิขิต”

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย