ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

วิวัฒนาการของศิลปะไทย

ประเภทของงานศิลปหัตถกรรม

การจัดประเภทของงานศิลปหัตถกรรมนั้นมีการจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆได้หลาย ลักษณะ เช่น

  • การจัดประเภทของงานศิลปหัตถกรรมไทยตามประโยชน์ใช้สอย เช่น ที่อยู่อาศัย เครื่องมือประกอบอาชีพและอาวุธ เครื่องใช้ต่าง ๆ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะและวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ
  • การจัดประเภทของงานศิลปหัตถกรรมไทยตามวัสดุและกรรมวิธีการผลิต เช่น การปั้นและหล่อ การทอและเย็บปักถักร้อย การแกะสลัก การก่อสร้าง การเขียนหรือการวาด การจักสาน การทำเครื่องกระดาษ และกรรมวิธีอื่น ๆ
  • การจัดประเภทของงานศิลปหัตถกรรมไทยตามสถานภาพของช่าง เช่น ศิลปหัตถกรรมฝีมือช่างหลวง ศิลปหัตถกรรมฝีมือชาวบ้าน

ในการศึกษาครั้งนี้จะเลือกแบ่งประเภทของงานศิลปหัตถกรรมไทยตามวัสดุและกรรมวิธีการผลิต ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ คือ

  1. การปั้นและหล่อ ศิลปหัตถกรรมที่เป็นงานปั้นและทำขึ้นเพื่อใช้สอยก็คือ เครื่องปั้นดินเผา มี 2 ประเภท คือ
    1) เครื่องปั้นดินเผา เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เผาในอุณหภูมิต่ำ ไม่เคลือบสีหรือ ทำลวดลายบนภาชนะ
    2) เครื่องเคลือบดินเผา เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เผาในอุณหภูมิสูง เคลือบสี เช่น สีน้ำตาล สีเขียวแกมเข้ม ที่เรียกว่าสีเซลาดอน เป็นต้น
    การหล่อเป็นกรรมวิธีการทำศิลปหัตถกรรมเครื่องโลหะและประติมากรรม ได้แก่ ภาชนะเครื่องใช้ที่เป็นโลหะ พระพุทธรูป และรูปเคารพอื่น ๆ
  2. การทอและเย็บปักถักร้อย ผ้าทอของไทยมีทั้งผ้าทอด้ายหรือฝ้าย ผ้าทอไหม และผ้าทอแกมไหม
    1) ผ้าไหม เป็นผ้าทอด้วยไหมล้วน ๆ ถ้าเป็นดอกเป็นดวงใช้ไหมต่างสี เรียกว่า ผ้ายก ผ้าทอที่ทอให้มีลวดลายดอกดวงเต็มทั้งผืน เรียกว่า ผ้าปูม
    2) ผ้าม่วง เป็นผ้าทอเกลี้ยง ๆ ไม่มีลาย ถ้าทอให้มีลวดลายที่เชิงผ้า เรียกว่า ผ้าม่วงเชิง
    3) ผ้าด้ายแกมไหม เป็นผ้าทอด้วยไหมปนเส้นด้าย ถ้าทอด้วยด้ายล้วน ๆ เรียกว่า ผ้าพื้น ซึ่งเป็นผ้าที่คนสามัญใช้นุ่งห่มกัน
    4) ผ้าลาย เป็นผ้าทอลาย เป็นตา ตามอย่างที่ช่างเขียนขึ้น เช่น ผ้าลายอย่าง ก็คือผ้าที่ทอตามอย่างลายที่ช่างหลวงออกแบบ และส่งทำถึงต่างประเทศ
    โดยในการทอนั้นมีกรรมวิธีหลายแบบ เช่น การยกหรือขิด และมัดหมี่
  3. การแกะสลัก เป็นกรรมวิธีสำหรับตกแต่งสถาปัตยกรรม เครื่องมือเครื่องใช้และ การสร้างงานประติมากรรม โดยใช้วัสดุประเภท ไม้ หิน เขาสัตว์ งาช้าง เป็นต้น หรือจะเป็นการแกะสลักของสดและวัสดุเนื้ออ่อน เช่น ผลไม้ ผักสด หยวกกล้วย หนังโค กระดาษ เป็นต้น หรือเป้นพวกวัสดุเนื้อแข็ง เช่น จำหลักหน้าบัน บานประตู เป็นต้น
  4. การก่อสร้าง เป็นกรรมวิธีการสร้างที่อยู่อาศัย อาคารทางศาสนา และโรงเรือน ต่าง ๆ โดยมีกรรมวิธีในการสร้างสรรค์ ดังนี้
    1) การผูก โดยใช้ไม้ไผ่หรือไม้รวก มาเป็นโครงสร้าง และมุงหลังคาและฝา ด้วยทางสาคู ทางจาก ทางระกำ ฟาง ใช้เชือก หวายหรือเถาวัลย์ ในการยึดส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
    2) การสับ เป็นกรรมวิธีการเข้าไม้โดยใช้วัสดุที่เป็นไม้จริง ในการก่อสร้างจะใช้ วิธีมากและเจาะเพื่อทำเดือยและรูเดือย และเอาไม้แต่ละชั้นสอดใส่ประกบเข้าด้วยกันตามตำแหน่งของเดือยและรูเดือย ในบางกรณีอาจใช้สลักลิ่มตอกให้แน่นขึ้น
    3) การก่อ คนไทยนิยมใช้อิฐและศิลาแลงในการก่อสร้างอาจจะมีการใช้ปูนเชื่อม ให้แผ่นอิฐหรือศิลาแลงติดกันแล้วฉาบภายนอกด้วยปูนให้เรียบหรือไม่ใช้ปูนก็ได้
  5. การเขียนหรือวาด เป็นการเขียนภาพลายเส้น ภาพเขียนระบายสี บนวัสดุ ที่เป็นแผ่นหรือผืน เช่น กระดาษ ผ้า กระดาน และผนังฉาบปูน สีที่ใช้ในการเขียนจะเป็นสีฝุ่น 2.3.5 การจักสาน เป็นกรรมวิธีการทำภาชนะบรรจุสิ่งของหรือเครื่องใช้ด้วยวิธีการจัก สาน ถัก ผูก และพัน ใช้วัสดุประเภทไม้ไผ่ หวาย ใบลาน ฟาง ก้าน และใบมะพร้าว ใบเตย เป็นต้น
    1) การจัก คือ การทำให้เป็นแฉก ๆ หรือหยัก คล้ายฟันเลื่อย เอมีดผ่าไม้ไผ่ หรือหวายให้แตกจากกันเป็นเส้นบาง ๆ อันหมายถึงขั้นตอนของการเตรียมวัสดุที่นำมาสานเป็นสิ่งของต่าง ๆ นั่นเอง
    2) การสาน คือ การใช้เส้นตอกหรือสิ่งที่เป็นเส้นอื่น ๆ ที่อ่อนตัวได้มาขัดกัน คือ ยกและข่มให้เกิดเป็นลายที่ต้องการ
    3) การถัก คือ การใช้เส้นเชือกหรือหวายเป็นต้น ไขว้สอดประสานกันให้เป็น

    ลวดลายต่าง ๆ บ้างให้เป็นเส้นและเป็นผืนบ้างให้ติดต่อกัน การจักสานมีรูปทรง 2 แบบ คือ
    - รูปทรงที่มีโครงสร้างเสริม นอกเหนือจากตอกยืนและตอกสาน เป็น ผลิตภัณฑ์ที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ เช่น กระบุง กระจาด เป็นต้น
    - รูปทรงที่ไม่มีโครงสร้างเสริม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น หมวก ซองใส่ยาสูบ
  6. การทำเครื่องกระดาษ การทำกระดาษและเครื่องใช้สอยจากกระดาษ เช่น การทำกระดาษข่อยหรือกระดาษสา นอกจากนี้ยังมีงานกระดาษที่ใช้ตกแต่งงานเทศกาลต่าง ๆ ซึ่งทำขึ้นจากการตัดกระดาษเป็นริ้วธง พุ่มดอกไม้ เป็นต้น
  7. กรรมวิธีอื่น ๆ ศิลปหัตถกรรมไทยที่สร้างด้วยกรรมวิธีอื่น ๆ ยังมีอีกหลายวิธี เช่น การบุและการดุล การฉลุ เป็นต้น
    1) การบุ คือ การนำโลหะมาตีแผ่ขึ้นรูปแล้วแกะสลักดุนเป็นลวดลาย เช่น ขันน้ำลงหิน ขันของทางภาคเหนือ ฯลฯ.
    3) การดุล เป็นการฉลุแผ่นไม้ โลหะ เพื่อตกแต่งอาคาร ทำเครื่องประดับ สถาปัตยกรรม เครื่องสูง เป็นต้น

วิวัฒนาการของงานศิลปะไทย
ลักษณะของงานศิลปะไทย
คุณค่าของศิลปะไทย
การอนุรักษ์ศิลปะไทย
ศิลปะลายไทย
ความเป็นมาของลายไทย
ลักษณะของลวดลายไทยแบ่งตามกรรมวิธีการสร้างสรรค์
รูปแบบของลายไทย
ลวดลายไทย
ลายไทยในสถาปัตยกรรม
ภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
ประเภทของภูมิปัญญาไทย
ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์ภูมิปัญญาไทยกับการดำรงชีวิต
งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประเภทของงานศิลปหัตถกรรม
คุณค่าของงานหัตถกรรม
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย