ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะความหมายของคำว่า หัตถกรรม
ความหมายของงานหัตถกรรม
หัตถกรรม หมายถึง การทำด้วยฝีมือ การช่างซึ่งเริ่มต้นทำกันในบ้าน
หมู่บ้าน โดยที่ ชาวบ้านใช้เวลานอกเหนือเหนือจากอาชีพหลัก
เป็นการทำงานอดิเรกเพื่อเพิ่มพูนรายได้
เพื่อการดำรงชีวิตให้ดีขึ้นและทำขึ้นเพื่อใช้กันเองในครอบครัว
โดยใช้วัสดุที่หาง่ายตามท้องถิ่นนั้น ๆ มีรูปแบบเฉพาะตามลักษณะของวัสดุ
สภาพการใช้งานและความพอใจของผู้ผลิตในแต่ละท้องถิ่นทำให้เกิดรูปแบบเฉพาะ (STYLE)
ของท้องถิ่น
เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นสิ่งที่ประดิษฐ์ได้ขยายมากขึ้นจนกลายเป็นอาชีพสามารถขยายตลาดไปทั่วประเทศหรือเผยแพร่ไปยังต่างประเทศ
หัตถกรรม (CRAFT) หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นด้วยฝีมือมนุษย์
แสดงออกถึงความชำนิ ชำนาญของผู้ผลิต
ในชั้นแรกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน ต่อมามีการพัฒนาและ
ปรับปรุงรูปแบบ
การใช้วัสดุและกรรมวิธีการผลิตมาโดยตลอดเป็นเวลานับพันปีจนเป็นงานศิลปะที่ตอบสนองประโยชน์ใช้สอยและมีคุณค่าความงามจนแยกไม่ออกจึงเรียกว่า
ศิลปหัตถกรรม (วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. 2533: 5)
ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน หมายถึง
สิ่งที่ชาวบ้านสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยใน ชีวิตประจำวัน
โดยกลุ่มชนแต่ละกลุ่มจะพัฒนาสิ่งของขึ้นมาใช้โดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อม
ดังนั้น อาจจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ศิลปะชาวบ้าน หรือ ศิลปะพื้นบ้าน (วิบูลย์
ลี้สุวรรณ. 2533: 10)
หัตถกรรมพื้นบ้านของไทยครอบคลุมงานศิลปกรรมที่เป็นสถาปัตยกรรม จิตรกรรม
และประติมากรรม (ซึ่งอาจรวมเรียกว่า ทัศนศิลป์พื้นบ้าน) และงานศิลปกรรมเพื่อใช้สอย
ซึ่ง หมายถึง ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านประเภท เครื่องเคลือบดินเผา
การทอผ้าและเย็บปักถักร้อย การแกะสลัก หัตถกรรมโลหะ เครื่องจักสาน
การทำเครื่องกระดาษ รวมทั้งเครื่องเขิน เครื่องดนตรี เครื่องประดับ และยานพาหนะ
(เอกสารประกอบการสอน ศิลปะกับสังคมไทย หน่วยที่ 7 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
2544: 18)
ขอบข่ายของงานศิลปหัตถกรรม
จากความหมายที่กล่าวมาทำให้งานศิลปหัตถกรรมมีความหมายคล้ายกับงาน
ประยุกต์ศิลป์ เพียงแต่งานศิลปหัตถกรรมจะทำขึ้นด้วยฝีมือเป็นหลัก
แต่งานประยุกต์ศิลปะจะรวมไปถึงสิ่งที่สร้างขึ้นด้วยเครื่องจักรด้วย ดังนั้น
งานศิลปหัตถกรรมจึงได้แก่ เครื่องจักสาน เครื่องถักทอ เครื่องเขิน เครื่องถม
เครื่องโลหะรูปพรรณ รวมไปถึงงานช่างไม้ งานช่างแกะสลัก งานช่างปูน งานปั้น หล่อ
งานเขียนระบายสี ลายรดน้ำ ฯลฯ.
จะเห็นได้ว่างานศิลปหัตถกรรมครอบคลุมงานฝีมือช่างทุกสาขาที่สร้างขึ้นด้วยมือและเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานศิลปะในแขนงต่าง
ๆ เช่น งานสถาปัตยกรรม งานวิจิตรศิลป์ งานปั้น งานแกะสลัก เป็นต้น
แต่ก็ใช่ว่างานศิลปะทุกประเภทจะเป็นงานหัตถกรรมได้
ยังต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และคุณค่าของงานนั้น ๆ เช่น
- งานวิจิตรศิลป์จะแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ แสดงคุณค่าทางอารมณ์
- งานศิลปหัตถกรรม ผลิตเพื่อใช้สอยหรือประดับตกแต่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเพื่อการค้า
ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้วศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไม่ได้มีเจตนาที่จะสร้างให้เป็นงาน
ศิลปกรรม แต่เมื่อผลิตไปนาน ๆ
เข้าจนเกิดความชำนาญทำให้ผลงานนั้นมีความสวยงามมากขึ้นและสามารถสะท้อนให้เห็นชีวิตและสังคมของชุมชนในท้องถิ่นได้จึงทำให้ผลงานได้รับการยกย่องว่าเป็น
ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านมักจะมีราคาถูก
มีลักษณะเฉพาะท้องถิ่นที่ผลิตให้มีรูปแบบ ซ้ำ ๆ กันจำนวนมาก มีรูปแบบที่เรียบง่าย
มีกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนและวัสดุที่นำมาทำเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่
วิวัฒนาการของงานศิลปะไทย
ลักษณะของงานศิลปะไทย
คุณค่าของศิลปะไทย
การอนุรักษ์ศิลปะไทย
ศิลปะลายไทย
ความเป็นมาของลายไทย
ลักษณะของลวดลายไทยแบ่งตามกรรมวิธีการสร้างสรรค์
รูปแบบของลายไทย
ลวดลายไทย
ลายไทยในสถาปัตยกรรม
ภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
ประเภทของภูมิปัญญาไทย
ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์ภูมิปัญญาไทยกับการดำรงชีวิต
งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประเภทของงานศิลปหัตถกรรม
คุณค่าของงานหัตถกรรม
บรรณานุกรม