ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

วิวัฒนาการของศิลปะไทย

ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์ภูมิปัญญาไทยกับการดำรงชีวิต

การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ของมนุษย์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งผลงานศิลปะในยุคเริ่มแรกนั้นจะเป็นพวกสิ่งของเครื่องใช้และภาพวาด สามารถพบเห็นได้ตามถ้ำต่าง ๆ เชื่อกันว่า ผลงานนั้นเกิดจากแรงบันดาลใจของมนุษย์ที่มีต่อความงามของธรรมชาติหรือสภาพแวดล้อม ทำให้เห็นได้ว่าศิลปะนั้นมีความเกี่ยวพันธ์กับมนุษย์ในแง่ที่เป็นผลงานหรือวิธีการแสดงออกเพื่อสนองอารมณ์ของตนเอง อาจเป็นความประทับใจ ความซาบซึ้ง ผ่อนคลายความตึงเครียดหรือเพื่อชื่นชมและศรัทธาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาสติปัญญาและอารมณ์ของมนุษย์ และเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้นำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตในด้านต่าง ๆ เป็นมรดกตกทอดและเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมทั้งด้านที่เป็นศิลปะบริสุทธิ์และศิลปะประยุกต์

งานทัศนศิลป์ได้รับการพัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้นโดยศิลปิน ซึ่งศิลปินเองนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรม ศิลปินในปัจจุบันก็ได้รับแบบอย่างมาจากงานทัศนศิลป์ที่สืบทอดเป็นมรดกสืบต่อกันมา โดยได้รับแรงบันดาลใจและการสนับสนุนจากสังคม ทำให้มนุษย์ส่วนใหญ่ชื่อว่า 1.) ศิลปะช่วยกล่อมเกลาจิตใจของผู้คนให้ประณีตละเอียดอ่อน รู้จักเลือกสรรสิ่งที่ดีงามมาประพฤติปฏิบัติ 2.) ศิลปะช่วยบันทึกวัฒนธรรมของชาติและยุคสมัยและสะท้อนถึงลักษณะของวัฒนธรรม เช่น การแต่งกาย การนับถือศาสนา ศิลปินของแต่ละชาติต่างก็ทำหน้าที่เป็นผู้บันทึกประวัติศาสตร์ของชาตในยุคนั้น ๆ เป็นการแบ่งหรือกำหนดช่วงอายุของชุมชน แว่นแค้วน หรืออาณาจักร มีลักษณะเป็นประวัติศาสตร์ที่มิได้จารึกเป็นตัวอักษร แต่บันทึกไว้เป็นรูปภาพ รูปเคารพหรือสิ่งของเครื่องใช้ 3.) ศิลปะเป็นสื่อสะท้อนความคิดของปัจเจกบุคคลและสังคม เพราะศิลปินมีบุคลิกภาพอย่างไรผลงานก็จะแสดงออกมาอย่างนั้น แสดงถึงความเป็นตัวของตัวเอง จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมก็ได้อาศัยผลงานทัศนศิลป์ในการช่วยสนับสนุนเผยแพร่และส่งเสริมให้วัฒนธรรมดำรงอยู่ได้ ดังนั้น งานศิลปะหรืองานทัศนศิลป์จึงมีคุณค่ากับมนุษย์เป็นอย่างมาก ช่วยสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่สังคมและวิถีการดำรงชีวิตของไทยมาโดยตลอด ก่อให้เกิดภูมิปัญญาที่มีกระบวนการเกิดและผ่านการปรับปรุงองค์ความรู้จนมีความชำนาญ ที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นรุ่นหนึ่งมาสู่อีกรุ่นหนึ่ง จนมีคุณค่าและมีความสำคัญที่คนในปัจจุบันได้นำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต

ผลงานศิลปะที่เป็นศิลปกรรมท้องถิ่นจะใช้วัสดุพื้นถิ่นในการประดิษฐ์ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ คือความคิด ฝีมือ ความเรียบง่าย ประโยชน์ใช้สอยและความงามบนพื้นฐานของธรรมชาติแวดล้อม สังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ ศิลปกรรมท้องถิ่นจึงมีความหมายต่อการดำรงชีวิตและมีคุณค่าต่อการบำรุงขวัญ เป็นศิลปกรรมที่มีการศึกษาและสืบสานที่เป็นในเชิงวัฒนธรรม (มโน พิสุทธิรัตนานาท์. 2539) หรือที่เรียกว่างานศิลปะพื้นบ้านหรือศิลปกรรมหัตถกรรมพื้นบ้านนั่นเอง ดังนั้นงานศิลปะพื้นบ้านนอกจากจะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในด้านจิตใจแล้วยังตอบสนองความต้องการด้านร่างกายที่เกิดจากการนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าในวิถีการดำรงชีวิตของเรานั้นมีงานศิลปะจัดว่าเป็นภูมิปัญญาของคนไทยที่มีประโยชน์ซึ่งเราเรียกกันว่า งานหัตถกรรม ที่จัดเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของไทย

วิวัฒนาการของงานศิลปะไทย
ลักษณะของงานศิลปะไทย
คุณค่าของศิลปะไทย
การอนุรักษ์ศิลปะไทย
ศิลปะลายไทย
ความเป็นมาของลายไทย
ลักษณะของลวดลายไทยแบ่งตามกรรมวิธีการสร้างสรรค์
รูปแบบของลายไทย
ลวดลายไทย
ลายไทยในสถาปัตยกรรม
ภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
ประเภทของภูมิปัญญาไทย
ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์ภูมิปัญญาไทยกับการดำรงชีวิต
งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประเภทของงานศิลปหัตถกรรม
คุณค่าของงานหัตถกรรม
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย