ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
ประเภทของภูมิปัญญาไทย
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2541)
ได้แบ่งสาขาหรือประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ 11 สาขาดังนี้
1. สาขาเกษตรกรรม
2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม
3. สาขาการแพทย์แผนไทย
4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน
6. สาขาสวัสดิการ
7. สาขาศิลปกรรม
8. สาขาการจัดการองค์กร
9. สาขาภาษาและวรรณกรรม
10. สาขาศาสนาและประเพณี
11. สาขาการศึกษา
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2535)
แบ่งประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ดังนี้
1. ภูมิปัญญาด้านการเกษตร
2. ภูมิปัญญาด้านเศรษฐกิจ
3. ภูมิปัญญาด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ความเชื่อ
4. ภูมิปัญญาด้านการจัดการทรัพยากรและการพัฒนาหมู่บ้าน
5. ภูมิปัญญาด้านศิลปะ
6. ภูมิปัญญาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
7. ภูมิปัญญาด้านภาษาและวรรณกรรม
นอกจากนี้ยังมีการแบ่งประเภทหรือขอบข่ายของภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เป็น 4
สาขาใหญ่ๆ คือ
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ คติ ความเชื่อ และหลักการพื้นฐาน
เรื่องที่เกี่ยวกับ คติ ความเชื่อ และหลักการพื้นฐาน
เป็นความรู้ที่เกิดจากการสั่งสม ถ่ายทอดกันมา ได้แก่การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
ของแต่ละท้องถิ่น
เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการพึ่งพาธรรมชาติมาใช้ประโยชน์เพื่อการยังชีพ
เช่น ชุมชนภูเขา มีความเชื่อเรื่องผีป่า เจ้าป่า เทพารักษ์
ผู้ที่อยู่ตามพื้นราบจะเชื่อในเรื่อง พระภูมิเจ้าที่ พระภูมินา การสู่ขวัญ
การให้ความเคารพแม่โพสพ ผู้ที่อยู่ตามแม่น้ำ ริมทะเล
มักจะเชื่อในเรื่องของแม่ย่านางเรือ เป็นต้น ความคิด ความเชื่อ
เหล่านี้จะนำมาสู่การพัฒนาชีวิตและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น
การตั้งธนาคารแห่งชีวิตเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน โดยยึดหลักธรรมในพระพุทธศาสนา
การจัดพิธีกรรมบวชต้นไม้ การจัดตั้งป่าสมุนไพร ธนาคารผ้า กลุ่มทอผ้า กลุ่มชาปนกิจ
เป็นต้น
เป็นเรื่องราวแนวความคิด หลักการปฏิบัติ และเทคโนโลยี
เป็นเรื่องราวแนวความคิด หลักปฏิบัติ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ชาวบ้านนำมาใช้ใน
ในชุมชน ซึ่งเป็นอิทธิพลของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อซีเมนต์
โดยจัดระบบถ่ายเทน้ำและคิดสูตรอาหารปลาขึ้นมาเอง
การประดิษฐ์เครื่องนวดข้าวแบบประหยัด เป็นต้น
เป็นเรื่องของศิลปะ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี
เป็นตัวชี้ที่สำคัญต่อการแสดงออกถึงภูมิปัญญาของชุมชนต่อการดำเนินชีวิต เช่น
ประเพณีการบวชนาคเข้าพรรษา แต่งงาน
นอกจากนั้นยังมีศิลปกรรมพื้นบ้านที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ
เช่น งานจักสาน และงานทอกระเป๋าลิเพาภาคใต้ สื่อจันทรบูร เครื่องจักรสานต่าง ๆ
เครื่องปั้นดินเผา งานแกะสลัก งานปั้น งานหล่อด้วยโลหะ
การก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ภาพเขียนบนผนัง การฟ้อนรำ และเพลงพื้นบ้าน เป็นต้น
เป็นเรื่องการประกอบอาชีพในแต่ละท้องถิ่น
การประกอบอาชีพในท้องถิ่นได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับสมัย เป็นการดำเนินชีวิตที่
เคยถูกครอบงำจากสภาพแวดล้อม พ่อค้าคนกลาง ระบบเศรษฐกิจ ระบบโรงงาน
กลับสู่การเกษตรที่อาศัยความสมดุลทางธรรมชาติ
สามารถยืนหยัดต่อสู้กับความล้มเหลวกับการล้มละลายทางสังคม
เศรษฐกิจและวัฒนธรรมได้อย่างภูมิใจด้วยกำลังกาย และการสั่งสมประสบการณ์ กำลังปัญญา
เช่น การทำเกษตรแบบผสมผสาน การเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง
การทำสวนสมุนไพรและการแพทย์แผนโบราณ
วิวัฒนาการของงานศิลปะไทย
ลักษณะของงานศิลปะไทย
คุณค่าของศิลปะไทย
การอนุรักษ์ศิลปะไทย
ศิลปะลายไทย
ความเป็นมาของลายไทย
ลักษณะของลวดลายไทยแบ่งตามกรรมวิธีการสร้างสรรค์
รูปแบบของลายไทย
ลวดลายไทย
ลายไทยในสถาปัตยกรรม
ภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
ประเภทของภูมิปัญญาไทย
ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์ภูมิปัญญาไทยกับการดำรงชีวิต
งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประเภทของงานศิลปหัตถกรรม
คุณค่าของงานหัตถกรรม
บรรณานุกรม