ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

วิวัฒนาการของศิลปะไทย

ลักษณะของภูมิปัญญาไทย

เรื่องราวของภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นเป็นที่สนใจของประเทศต่าง ๆ และได้ทำการศึกษาในหลาย ๆ ลักษณะ เช่น การประกอบอาชีพ การรักษาสุขภาพอนามัย และวิถีชีวิตของชาวบ้าน สำหรับในประเทศไทยได้มีการศึกษาถึงลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ดังนี้

รุ่ง แก้วแดง (2542) ได้แบ่งภูมิปัญญาออกเป็น 2 ระดับ คือ ภูมิปัญญาชาติหรือภูมิปัญญาไทย กับภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน

  1. ภูมิปัญญาชาติ เป็นภูมิปัญญาที่ช่วยรักษาชาติให้ปลอดภัยอยู่รอดมาได้จนถึงปัจจุบันและเป็นภูมิปัญญาที่ช่วยสร้าง “ภาพแห่งความมีอารยธรรม” ให้แก่ชาติ
  2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ความรู้ที่เกิดขึ้นเฉพาะท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง ซึ่งทั่ว ๆ ไปก็เป็น ภูมิปัญญาที่ใช้แก้ปัญหาของผู้คนในท้องถิ่นนั้นเป็นหลัก โดยอาจจะเรียกภูมิปัญญาท้องถิ่น นี่ว่า “ภูมิปัญญาชาวบ้าน”

ภูมิปัญญาท้องถิ่นค่อนข้างจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากภูมิปัญญาชาติพอสมควร คือ โดยปรกติแล้วจะแสดงออกในรูปของการนำภูมิปัญญาที่สร้างขึ้นไปใช้ในการเอื้ออำนวยให้การดำเนินชีวิตในกลุ่มเป็นไปอย่างราบรื่นและสงบสุข ภาพของภูมิปัญญานั้น เป็นเรื่องของชุมชน ชาวบ้าน และชนบท ดังนั้นจึงไม่แปลกนักที่การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจะมีความเกาะเกี่ยวอยู่กับธรรมชาติ ต้นไม้ ป่าเขาลำเนาไพร ผืนฟ้า สิงสาราสัตว์ต่าง ๆ ชาวบ้านมักจะนำเอาสิ่งที่หาได้และมีอยู่ใน ท้องถิ่นมาช่วยในการอยู่กินตลอดเวลา

เสรี พงษ์พิศ (2529) กล่าวว่าภูมิปัญญามี 2 ลักษณะ คือ

  1. ลักษณะนามธรรม ได้แก่ ทฤษฎี ปรัชญา หรือหลักการอันลึกซึ้งซึ่งซ่อนเร้นนัยแห่งความหมายอันแท้จริงเอาไว้ ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ออกมาให้สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ และลักษณะความเชื่อบุคคลในยุคสมัยนั้น ๆ จึงจะสามารถเข้าใจได้ ภูมิปัญญาไทยในลักษณะความเชื่อจะปรากฏออกมาในรูปของนิทาน คำบอกเล่า บทเพลง ภาษา วรรณคดี เป็นต้น เช่น สุภาษิต คำพังเพย เคล็ดลางและคำสั่งสอนของบรรพบุรุษเกี่ยวกับข้อห้ามและข้อปฏิบัติ ฯลฯ.
  2. ลักษณะรูปธรรม ได้แก่ สิ่งที่เป็นผลผลิตที่ปรากฏออกมาให้เห็นได้ เช่น อาคารสถานที่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และแม้แต่ดนตรี อาหาร และเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เมื่อแสดงหรือปรากฏออกมาย่อมเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นเอกลักษณ์ของมนุษย์กลุ่มไหน เผ่าไหน หรือชนชาติไหน ชาติไทยเป็นชาติเก่าแก่มาแต่โบราณกาล ชนชนติไทยได้แสดงภูมิปัญญาให้เป็นที่ปรากฏมาช้านานมีหลักฐานบันทึกไว้ในรูปของสารนิเทศประเภทต่าง ๆ ตลอดจนแสดงตัวออกมาเป็นรูปธรรม เช่น อาคารสถานที่ดังที่กล่าวมาแล้ว

วิวัฒนาการของงานศิลปะไทย
ลักษณะของงานศิลปะไทย
คุณค่าของศิลปะไทย
การอนุรักษ์ศิลปะไทย
ศิลปะลายไทย
ความเป็นมาของลายไทย
ลักษณะของลวดลายไทยแบ่งตามกรรมวิธีการสร้างสรรค์
รูปแบบของลายไทย
ลวดลายไทย
ลายไทยในสถาปัตยกรรม
ภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
ประเภทของภูมิปัญญาไทย
ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์ภูมิปัญญาไทยกับการดำรงชีวิต
งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประเภทของงานศิลปหัตถกรรม
คุณค่าของงานหัตถกรรม
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย