ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
ลายไทยในสถาปัตยกรรม
ลวดลายไทยในสถาปัตยกรรมที่กล่าวถึงนี้จะพบในวัดหรือวังเป็นส่วนใหญ่ หรืออาจมีบ้างตามบ้านเรือนของคหบดีที่มีฐานะ
- เพดาน ได้แก่ ลายดอกดาวกระจาย ดาวล้อมเดือน ดาวตุ๊ดตู่
- หน้าจั่ว มักจะใช้ลายเทพนม กอบัว หน้าขบ หน้าสิงห์ พระนารายณ์ทรงครุฑ พระพรหมหางหงษ์ เป็นต้น เป็นจุดเด่นอยู่ตรงกลางตัวกนกที่ผูกลายในวงกรอบของรูปสามเหลี่ยมอยู่ส่วนหน้าบันของพระอุโบสถ
- เครื่องบน กระจังตาอ้อย ใช้ตามแนวเชิงหน้าจั่ว ส่วนล่างที่ห้อยย้อยจะใช้ลายกระจังรวน ลายรวงผึ้ง และลายเฟื่องในส่วนที่ต่ำลงมา
- นาคสะดุ้ง ใช้เป็นตัวลำยอง ประกอบกับใบระกาและปั้นลม อยู่สาวนบนของอาคาร
- หางหงษ์ ใช้แทนตัวเหงาปั้นลม บางทีทำเป็นตัวนาค แต่โดยทั่วไปเป็นกนกสามตัวแบบโกลน
- ทวยรับชายคา มักจะทำเป็นตัวหงษ์ ตัวนาค และแขนนางประกอบด้วยลวดลายต่าง ๆ ในภาคเหนือมักจะใช้ทวยหูช้าง
- มุมเสา ใช้ลายหูช้าง ตัวสาหร่าย น่องสิงห์ กระจังตาอ้อย ลานเครือเถาฝรั่ง
- สันหลังคา ตัวเหราตรงปลายสัน
- ลูกแก้ว หรือลายบัว เป็นลายที่วางเป็นแถบยาว มักจะเป็นลายหน้ากระดาน ลายประจำยาม ลายลูกมะหวด ลายแข้งสิงห์ ลานรักร้อย ฯลฯ
- เชิงผนัง ลายกรุยเชิง ประกอบด้วยลายหน้ากระดานและช่องแทงลาย
- ฐาน ใช้ลวดบัวและลายบัวหงาย บัวคว่ำ บัวปากฐาน หัวลูกแก้ว เป็นต้น
- บานประตู หน้าต่าง ใช้ลายก้านขด ก้านแย่ง ลายเครือเถา เช่น ลายผักกูด กนกเปลว กนกรวงข้าว ฯ.
- ซุ้มประตู หน้าต่าง ใช้ซุ้มทรงบัวพนม ทรงหน้านาง กนกก้านขด กนกประกอบภาพเล่าเรื่อง
- หัวเสา ใช้บัวปากพานหรือบัวแวง บัวกลุ่ม ตีนเสาลายกาบพรหมศร
- เสาลอย ใช้หัวเม็ดทรงมัณน์ บัวกลุ่ม บัวตูม
- แม่บันได อาจทำเป็นหัวนาคและตัวนาคหรือสัตว์อื่น ๆ เช่น ตัวสิงห์
- เจดีย์และเรือนยอด ใช้ลวดบัวและฐานประเภทต่าง ๆ มีการย่อมุมในเจดีย์เหลี่ยมอย่างที่เรียกว่าย่อมุมสิบสอง เป็นต้น
วิวัฒนาการของงานศิลปะไทย
ลักษณะของงานศิลปะไทย
คุณค่าของศิลปะไทย
การอนุรักษ์ศิลปะไทย
ศิลปะลายไทย
ความเป็นมาของลายไทย
ลักษณะของลวดลายไทยแบ่งตามกรรมวิธีการสร้างสรรค์
รูปแบบของลายไทย
ลวดลายไทย
ลายไทยในสถาปัตยกรรม
ภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
ประเภทของภูมิปัญญาไทย
ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์ภูมิปัญญาไทยกับการดำรงชีวิต
งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประเภทของงานศิลปหัตถกรรม
คุณค่าของงานหัตถกรรม
บรรณานุกรม