ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

วิวัฒนาการของศิลปะไทย

ลวดลายไทย

  1. ลายกระหนกสามตัวหรือกนก
    กระหนกหรือกนก แปลว่า ทอง นับเป็นแม่บทของลายไทยที่บรรจุ ก้าน เถา กาบใหญ่ กาบเล็ก กลีบเลี้ยง ตัวกนกและยอดกนกไว้อย่างครบถ้วน โดยปรกติการเขียนแม่ลายกนก ผู้เขียนจะผูกตัวลายร่วมกัน 3 ส่วนอยู่ในลาย ได้แก่
    - ตัวเหงา เป็นลายที่อยู่ส่วนล่างมีโครงสร้างที่ม้วนคว่ำหน้าลง แสดงความรู้สึกเศร้า ๆ เหงา ๆ
    - ตัวประกบ คือตัวลายส่วนที่ 2 ซึ่งจะประกบอยู่ด้านหลังตัวเหงา เป็นตัวลายที่ส่งให้เกิด ตัวลายที่ 3
    - ตัวยอดหรือเปลว คือส่วนปลายสุดของแม่ลายกนก ที่จะเขียนให้สะบัดไหวคล้ายเปลวไฟ ทั้งสามส่วนนี้รวมเรียกกันว่ากนก 3 ตัว ที่สามารถขยายและแบ่งละเอียดออกไปไม่ต่ำกว่า 9 ตัว มีชื่อเรียกต่าง ๆ เช่น กนกเปลว กนกอินทรธนู กนกก้านขด กนกก้ามปู กนกเครือจีน กนกเทศหางโต เป็นต้น
  2. ลายกระจัง
    จัดเป็นแม่ลายชนิดหนึ่งที่ดัดแปลงมาจากธรรมชาติ เช่น ตาอ้อย ดอกบัว เป็นต้น เป็นลาย ที่มีโครงสร้างเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วหรือทรงดอกบัว ใช้เป็นองค์ประกอบสำหรับการประดับตกแต่งเสริมขอบ ริม ในส่วนต่าง ๆ ของสถาปัตยกรรมจึงมักจะนำลายกระจังไปใช้เป็นองค์ประกอบของลายหน้ากระดาน กระจังมีอยู่หลายชนิด เช่น กระจังตาอ้อย กระจังฟันปลา กระจังใบเทศ กระจังเจิม และกระจังปฏิญาณ เป็นต้น
  3. ลายประจำยาม
    - ลายประจำยามหรือลายสามยาม เป็นลายที่ดัดแปลงมาจากลูกจันทร์ มีโครงสร้างเป็นรูป สี่เหลี่ยมด้านเท่ามีลักษณะเป็นลายดอกมี 4 กลีบ ตรงกลางเป็นรูปวงกลม รอบนอกสี่ด้านอาจจะเป็น ลายบัว - ----- ลายกระจังใบเทศ ลายกระจังหู อย่างใดอย่างหนึ่ง ลายประจำยามจัดอยู่ในจำพวกแม่ลายดอกลอย เป็นแม่ลายในการออกลายหรือใช้ห้ามลาย ลายประจำยามมีการสอดไส้แบ่งลายหลายชนิดตามความเหมาะสม ลายประจำยามมีหลายลักษณะ เรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ประจำยามก้ามปู ประจำยามก้านแย่ง ประจำยามลูกฟักก้ามปู เป็นต้น
    ลายประจำยามมักจะใช้ประดับอยู่ตามเสา ขอบประตูหน้าต่าง หน้าต่าง ของโบสถ์ วิหาร พลับพลาปราสาท พระเจดีย์และพระธาตุ เป็นต้น ในสมัยก่อนจะใช้เป็นยามรักษาการณ์ เพื่อป้องกันผู้ที่คิดมิดีมิร้ายโจรกรรมของมีค่า โดยอาจจะมีการลงคาถาอาคมประกอบไว้ด้วย
  4. ลายพุ่มข้าวบิณฑ์
    พุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นการเรียกชื่อตามลักษณะลายที่ความคล้ายคลึงกับพานพุ่มข้าวบิณฑ์ พานดอกไม้หรือพานแว่นฟ้า เป็นต้น ลายพุ่มข้าวบิณฑ์สามารถพบเห็นได้ตามสถาปัตยกรรมไทย เช่น เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในสมัยสุโขทัย พุ่มข้าวบิณฑ์ที่ประดับตกแต่งบริเวณปลายยอดของบุษบก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำลายอื่น ๆ มาร่วมตกแต่งในลายพุ่มข้าวบิณฑ์ทำให้เกิดความงามเพิ่มขึ้น เช่น ลายพุ่มข้าวบิณฑ์หน้าสิงห์ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์กระหนกใบเทศ เป็นต้น
  5. ลายดาว
    ลายดาวเป็นลายที่ใช้ตกแต่งบริเวณเพดาน ที่เปรียบเสมือท้องฟ้าหรือสรวงสวรรค์ที่มีดวงดาว ประดับอยู่ลายดาวสามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ ลายดาวตุ๊ดตู่ ลายดาวดอกจอกหรือลายดาว ฟันยักษ์ ลายดาวรังแตนหรือลายดาวกลีบขนุน ลายดาวกลีบดอกบัว ลายดาวรัศมี
  6. ลายกรวยเชิง
    ลายกรวยเชิง เป็นลายตกแต่งเชิงหรือขอบนอกสุด เช่น เชิงผ้า เชิงขอบลายประดับคานบน เพดานโบสถ์ วิหาร เป็นต้น ลายกรวยเชิงจะมีลักษณะคล้ายลายบัวที่ยืดยาวออกไปตามความต้องการหรือขนาดของพื้นที่ ตัวลายจะเป็นรูปกรวยปลายแหลม ตัวลายวางเรียงต่อกันตามความยาวของพื้นที่ ช่างเขียนถือว่าลายกรวยเชิงเป็นแม่ลายชนิดหนึ่งที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์

วิวัฒนาการของงานศิลปะไทย
ลักษณะของงานศิลปะไทย
คุณค่าของศิลปะไทย
การอนุรักษ์ศิลปะไทย
ศิลปะลายไทย
ความเป็นมาของลายไทย
ลักษณะของลวดลายไทยแบ่งตามกรรมวิธีการสร้างสรรค์
รูปแบบของลายไทย
ลวดลายไทย
ลายไทยในสถาปัตยกรรม
ภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
ประเภทของภูมิปัญญาไทย
ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์ภูมิปัญญาไทยกับการดำรงชีวิต
งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประเภทของงานศิลปหัตถกรรม
คุณค่าของงานหัตถกรรม
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย