ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
รูปแบบของลายไทย
ภาพหรือลวดลายในงานศิลปะไทยนั้นเป็นภาพที่เกิดจากจินตนาการของช่างหรือศิลปินที่มีอยู่เป็นจำนวนมากหลายรูปแบบด้วยกัน
แต่ในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านั้นก็มีภาพที่จัดว่าเป็นภาพหลัก ซึ่งมีดังนี้ คือ
1. ภาพพระ
ภาพพระ หมายถึง บุรุษทั้งมนุษย์และเทวดา มีลักษณะสูงโปร่ง สุภาพอ่อนโยน
อาจจะเป็นภาพของพระราม พระลักษณ์หรือพระเวสสันดร
ก็ได้แล้วแต่การนำไปใช้และการปรับปรุงแก้ไข ภาพพระมีทั้งตัวนายชั้นสูงและตัวรอง
ซึ่งจะแสดงความแตกต่างของแต่ละตัวด้วยเครื่องประดับ หรือการดูจากสี เช่น
พระรามสีเขียว พระลักษณ์สีทอง ท้าวทศรถสีขาว เป็นต้น
2. ภาพนาง
ภาพนาง ได้แก่ นางเอก และตัวนางทั้งหลาย
ที่มีฐานะที่แตกต่างกันโดยสามารถสังเกตได้จากเครื่องประดับเช่นเดียวกับตัวพระ
3. ภาพยักษ์
ภาพยักษ์ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว จะมีใบหน้าที่โกรธเกรี้ยว ปากยื่น เขี้ยวยาว
ตาถลน เป็นต้น
4. ภาพลิง
ใบหน้าของลิงมี 2 ลักษณะ คือ ลิงอ้าปากและลิงหุบปาก
พบได้มากในเรื่องรามเกียรติ์
วิวัฒนาการของงานศิลปะไทย
ลักษณะของงานศิลปะไทย
คุณค่าของศิลปะไทย
การอนุรักษ์ศิลปะไทย
ศิลปะลายไทย
ความเป็นมาของลายไทย
ลักษณะของลวดลายไทยแบ่งตามกรรมวิธีการสร้างสรรค์
รูปแบบของลายไทย
ลวดลายไทย
ลายไทยในสถาปัตยกรรม
ภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
ประเภทของภูมิปัญญาไทย
ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์ภูมิปัญญาไทยกับการดำรงชีวิต
งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประเภทของงานศิลปหัตถกรรม
คุณค่าของงานหัตถกรรม
บรรณานุกรม