ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
ลักษณะของลวดลายไทยแบ่งตามกรรมวิธีการสร้างสรรค์
กรรมวิธีการสร้างสรรค์ลายไทย มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีจะมีเอกลักษณ์และมีความงามเฉพาะตัว ดังนี้
- ลายเส้น ถือเป็นขั้นตอนแรกในการสร้างสรรค์งานศิลปะ ก่อนที่จะนำไปสร้างเป็นงานในลักษณะอื่น ต่อไป
- ลายสอดสี คือ
ภาพลายเส้นที่นำสีเข้ามาประกอบในการวาดและพัฒนาจนเป็นภาพจิตรกรรม
โดยมักจะเขียนเป็นเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ประวัติผู้สร้าง พุทธศาสนา วรรณกรรม
ภาพราชสำนัก ภาพสามัญชนและภาพตกแต่งที่จะเขียนตกแต่งบนกำแพง
ผนังด้านในอาคารและงานครุภัณฑ์ต่าง ๆ
ซึ่งส่วนใหญ่ที่ใช้เขียนนั้นเป็นสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น
สีแดงชาด ได้จาก หินสีแดง
สีหรดาล ได้จาก หินสีเหลือง
สีเขียว ได้จาก กรดเกลือสนิม
สีคราม ได้จาก ต้นคราม
สีรงค์ ได้จาก ยางรงค์สีเหลือง
สีขาว ได้จาก เปลือกหอย
สีดำ ได้จาก หมึกและเขม่าควันไฟ - ลายฉลุ มีลักษณะพิเศษ คือ ลายแต่ละลายจะแยกออกเป็นส่วน ๆ
ส่วนที่เป็นตัวลายจะถูก ฉลุเป็นช่อง ๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
- ลายฉลุปิดทอง ส่วนที่เป็นตัวลายฉลุ จะใช้ในการปิดทองคำเปลวมักใช้ประดับตกแต่ง คาน เสา ฝ้า และไขราของอาคาร
- ลายฉลุซ้อนชั้น เป็นการนำชั้นลายที่ฉลุออกมา มาวางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เพื่อเพิ่มมิติ ให้กับลายลายฉลุมักจะพบได้ในส่วนต่าง ๆ ของอาคาร เช่น ราวระเบียง ชายคา หูช้าง ฯลฯ - ลายรดน้ำ เป็นงานประณีตศิลป์ประเภทหนึ่งที่ใช้ในการลงรักและปิดทองเพิ่มความงดงาม ให้แก่สิ่งของการทำลายรดน้ำจะเริ่มตั้งแต่ การเตรียมแผ่นไม้ การขัดแต่งและรองพื้นด้วยรักสมุก จนแผ่นไม้เรียบ ทำการปรุลายที่จะเขียน แล้วนำแบบลายที่ปรุแล้วทาบลงบนแผ่นกระดาษ แล้วตบด้วยลูกประคบจากนั้นจึงเขียนด้วยน้ำยาหรดาน (ในส่วนที่ไม่ต้องการให้ทองติด) แล้วปิดด้วยทองคำเปลว แล้วคลุมปิดทับด้วยแผ่นกระดาษชุบน้ำ ทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่งจึงใช้น้ำราด ทองคำเปลวที่ติดอยู่บนน้ำหรดานก็จะหลุดออกมา ลายรดน้ำส่วนมากใช้ในการตกแต่งบานประตู หน้าต่าง และครุภัณฑ์ต่าง ๆ
- ลายประดับมุก เป็นการตกแต่งลวดลายด้วยเปลือกหอยมุกลงบนเครื่องเรือนไม้ โดยจะ เลื่อยมุกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตามที่กำหนดวางลงบนลวดลาย แล้วใช้รักถมลงในช่องว่างระหว่างตัวมุก จากนั้นก็ขัดรักให้เรียบ แล้วตัวลายมุกก็ขึ้นเงาใสเป็นมัน เปลือกหอยที่นิยมใช้ได้แก่ หอยอูด หอยนมสาว และเปลือกหอยโข่ง
- ลายแกะสลัก เป็นลวดลายที่เกิดจากการแกะสลักไม้ เพื่อใช้ในการตกแต่ง
เช่น ลายตาม เพดาน ลายหน้ากระดาน ลายหัวเสา ช่อฟ้า
ในบางครั้งการแกะสลักก็จะมีการปิดทองร่วมด้วย ดังนี้คือ
- ลายแกะสลักปิดทองเต็มพื้นที่ผิวเรียบ
- ลายแกะสลักปิดทองร่องกระจกสี คือ การทาสีแดงชาดในส่วนที่เป็นพื้นหลังส่วนที่เป็น ตัวลายปิดทองคำเปลว
- ลายแกะสลักปิดทองร่องกระจกสี คือ ส่วนที่เป็นช่องว่าง พื้น จะประดับกระจก ส่วนที่ เป็นตัวลายปิดทองคำเปลว
- ลายแกะสลักปิดทองลงยา เป็นการปิดทองพื้นผิวเรียบส่วนลายจะขุดลงไปในเนื้อไม้และ ประดับกระจกสี - ลายปูนปั้น ส่วนมากเป็นการปั้นประดับตกแต่งอาคาร
แบ่งตามกรรมวิธีและเทคนิคการสร้าง ได้เป็น 2 ประเภท
- ลายปูนปั้นสด ปูนที่ใช้นั้นจะผสมขึ้นเป็นพิเศษ (ปูนขาวหมักผสมทราย เส้นใย (ฟางข้าว กระดาษข่อย ป่านต้นกกฯลฯ) กาว (กาวหนังสัตว์ น้ำอ้อย น้ำมันทั่งอิ้ว ฯลฯ) แล้วโขลกให้เข้ากัน แล้วจึงนำมาปั้น) ในการปั้นจะต้องปั้นในขณะที่ปูนยังเปียกอยู่หรือปั้นสด นิยมใช้ปั้นหน้าบัน เครื่องลำยอง ซุ้มประตู ซุ้มหน้าต่าง บัวฐาน คันทวย ฯลฯ
- ลายปูนปั้นถอดพิมพ์ เป็นวิธีที่นิยมกันมากสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะได้รับอิทธิพลมาจาก ตะวันตกและใช้ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุในการปั้น ในการสร้างงานจะทำรูปต้นแบบและแม่พิมพ์ขึ้นมาก่อน จากนั้นจึงใช้ปูนซีเมนต์เทรูปหล่อทำให้สามารถสร้างงานได้หลายครั้ง ๆ ละมาก ๆ - ลายฉลักหิน เป็นงานศิลปะที่นิยมใช้กันมากในสมัยลพบุรี เพราะได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะ ขอมโดยจะสลักส่วนหน้าบัน บัวฐาน ฯลฯ. หินที่นิยมนำมาใช้สลัก คือ หินทราย หินอ่อน
- ลายบุดุล การบุ หมายถึง การทำให้โลหะเกิดเป็นรูปทรงด้วยการตีแผ่หรือกดทับ ส่วน การดุล หมายถึง การทำให้แผ่นโลหะเกิดเป็นรอยนูน นิยมใช้ทำเครื่องราชูปโภค เครื่องทอง เครื่องประดับตกแต่ง เครื่องประกอบพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ วัสดุที่นิยมใช้ได้แก่ ทองคำ เงิน ทองคำขาว ดีบุก ทองแดง อลูมินั่ม ทองเหลือง
- ลายหล่อโลหะ เป็นกรรมวิธีในการสร้างงานปฎิมากรรม โดยทำโลหะให้เป็นรูปทรงตามที่ ต้องการด้วยการหลอมโลหะให้ร้อนแล้วเทลงในแม่พิมพ์โดยมากนิยมใช้ทำพระพุทธรูป และรูปสัตว์ในป่า หิมพานต่าง ๆ
- ลายกระเบื้องเคลือบ เป็นศิลปกรรมพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3
โดยนิยมนำกระเบื้อง เคลือบมาประดับตกแต่งอาคารเครื่องก่อ ลวดลายจะมีสีสีสันสดใส
มันเงา และความโค้งของกระเบื้องก็สะท้อนแสงได้ดี
การประดับกระเบื้องเคลือบแบ่งออกได้เป็น 5 ลักษณะ คือ
- การประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งใบ (ใช้ถ้วยหรือชามทั้งใบ)
- การประดับด้วยกระเบื้องเคลือบที่ตัดเป็นชิ้น ๆ โดยตัดเป็นรูปทรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม หรือรูปหยดน้ำ
- กระเบื้องเคลือบที่มีการเขียนลายในตัว ซึ่งอาจจะเป็นลายที่เขียนก่อนหรือหลังการเผา กระเบื้องก็ได้
- กระเบื้องเคลือบสีที่ทำเป็นชิ้นลาย กระเบื้องแบบนี้เกิดจากการปั้นลวดลายก่อนแล้ว จึงนำไปและเคลือบสี โดยมากจะเป็นการสั่งทำตามลายที่ต้องการ
วิวัฒนาการของงานศิลปะไทย
ลักษณะของงานศิลปะไทย
คุณค่าของศิลปะไทย
การอนุรักษ์ศิลปะไทย
ศิลปะลายไทย
ความเป็นมาของลายไทย
ลักษณะของลวดลายไทยแบ่งตามกรรมวิธีการสร้างสรรค์
รูปแบบของลายไทย
ลวดลายไทย
ลายไทยในสถาปัตยกรรม
ภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
ประเภทของภูมิปัญญาไทย
ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์ภูมิปัญญาไทยกับการดำรงชีวิต
งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประเภทของงานศิลปหัตถกรรม
คุณค่าของงานหัตถกรรม
บรรณานุกรม