ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
ความเป็นมาของลายไทย
จากความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา เป็นเหตุสำคัญให้ช่าง หรือศิลปินประดิษฐ์ลายไทยโดยได้แนวคิดมาจาก ดอกบัว พวงมาลัย ควันธูป และเปลวเทียน เป็นต้น นำมาสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายกนก ลายเปลวเพลิง ลายใบเทศ ลายพฤษชาติ ฯลฯ. จึงได้มีการศึกษาถึงที่มาของลายต่าง ๆ ดังนี้ คือ
- การพัฒนาลายมาจากดอกบัว เป็นการนำรูปดอกบัวชนิดต่าง ๆ เช่น บัวหลวง บัวสัตตบงกช บัวสัตตบุษย์ ฯลฯ. มาพัฒนาโดยใช้จินตนาการเชิงสร้างสรรค์ด้วยการแบ่งครึ่งดอกบัว การรวมดอกบัวเข้าด้วยกันทำให้เกิดลายกนกสามตัวและคลี่คลายเป็นลายอื่น ๆ ต่อไป
- การพัฒนามาจากลักษณะของเปลวไฟ เป็นการนำลักษณะการเคลื่อนไหวของเปลวไฟ เช่น เปลวไฟของกองไฟ เปลวไฟของเทียนไข เปลวไฟของคบเพลิง ที่มีความพริ้วไหวมา สร้างสรรค์ให้เกิดลายที่สวยงาม
- การพัฒนามาจากลักษณะของใบไม้ ส่วนมากจะเป็นใบ ฝ้ายเทศ เพราะเป็นใบไม้ที่มีรูปร่างรูปทรงที่สวยงาม มาสร้างสรรค์เป็นลายใบเทศ
- การพัฒนามาจากลักษณะของดอกไม้ ได้แก่ ดอกพุดตาล ดอกจอก ดอกแก้ว ดอกมะลิ ดอกผกากรอง ดอกบานเย็น ดอกพังพวย เป็นต้น ซึ่งลายดอกไม้เหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งของลายไทย
- การพัฒนามาจากลักษณะของใบผัก ที่นิยมใช้เขียนได้แก่ ใบผักกูด ซึ่งมีลักษณะกลมมล ไม่แหลมคม ช่างหรือศิลปินจึงนำมาสร้างสรรค์เป็นลวดลาย เช่น กนกผักกูด
- การพัฒนามาจากลักษะของเถาวัลย์และไม้เลื้อย ทีมีการเกี่ยวพัน ลัดเลาะ การเลื่อนไหล ช่างหรือศิลปินจึงนำมาสร้างสรรค์ เป็นลายที่ต่อเนื่องกัน
- การพัฒนามาจากลักษณะของสัตว์ ในลายไทยจะพบการผูกลายที่นำรูปแบบของสัตว์มาใช้ อาจเป็นรูปเหมือนจริงหรือดัดแปลงตามความคิดสร้างสรรค์ เช่น สัตว์ในป่าหิมพานต์
- การพัฒนามาจากลักษณะของคน เนื่องจากในอดีตศิลปะไทยไม่นิยมเขียนภาพแบบเหมือนจริงแต่อาจใช้ลักษณะของคนแทนรูปเคารพของเทพเจ้าต่าง ๆ ในศาสนา เช่น พระพรหม พระนารายณ์ พระอิศวร ฯลฯ ทำให้ภาพคนในลายไทยไม่มีการแสดงกล้ามเนื้อเหมือนกับศิลปะแบบตะวันตก แต่จะเป็นภาพหรือลายที่มีลักษณะอ่อนช้อย สวยงาม ตามจินตนาการ
- การพัฒนามาจากอิทธิพลของศิลปกรรมต่างชาติ ที่เด่นชัด ได้แก่ จีน ขอม เขมร เห็นได้จาก ลายฮ่อลายประแจจีน ลายใบแกนตัส ฯลฯ
วิวัฒนาการของงานศิลปะไทย
ลักษณะของงานศิลปะไทย
คุณค่าของศิลปะไทย
การอนุรักษ์ศิลปะไทย
ศิลปะลายไทย
ความเป็นมาของลายไทย
ลักษณะของลวดลายไทยแบ่งตามกรรมวิธีการสร้างสรรค์
รูปแบบของลายไทย
ลวดลายไทย
ลายไทยในสถาปัตยกรรม
ภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
ประเภทของภูมิปัญญาไทย
ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์ภูมิปัญญาไทยกับการดำรงชีวิต
งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประเภทของงานศิลปหัตถกรรม
คุณค่าของงานหัตถกรรม
บรรณานุกรม