ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
คุณค่าของศิลปะไทย
- คุณค่าทางด้านศาสนา
ศิลปะไทยส่วนใหญ่สร้างขึ้นจากคติความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา
ศิลปะไทยจึงมีคุณค่าในการเผยแผ่ศาสนาและสืบทอดศาสนาในประเทศไทย เช่น
การเขียนภาพจิตรกรรมหรือจำหลักเรื่องราวทางศาสนา ชาดก พุทธประวัติ
หรือวรรณคดีที่เกี่ยวเนื่องกับความเลื่อมใสในเทพเจ้า
เมื่อคนได้สัมผัสหรือเห็นก็จะเกิดความคุ้นเคยและซึมซับเรื่องราว ความเชื่อ
คำสอนหรือข้อธรรมะที่แฝงอยู่ในผลงานนั้นๆ หรือการสร้างพระพิมพ์ พระพุทธรูป
พระโพธิสัตว์ หรือเทวรูปในศาสนาพราหมณ์
- คุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์
จากการศึกษาศิลปะในแต่ละยุคจะทำให้ทราบถึงวิวัฒนาการ
การเชื่อมโยงด้านวัฒนธรรมของชุมชน เส้นทางการติดต่อคมนาคม
ใช้เป็นหลักฐานเพื่อตรวจสอบว่าเป็นยุคสมัยใดซึ่งเป็นข้อมูลที่ทำให้การศึกษาเหตุการณ์ต่าง
ๆในประวัติศาสตร์ถูกต้องยิ่งขึ้น
- คุณค่าทางด้านสุนทรียะหรือความงาม หมายถึง
ความรู้สึกของอารมณ์และความงาม เช่น พระพุทธรูปสำริดปางลีลา ศิลปะสุโขทัย
กล่าวกันว่าเป็นงานศิลปะที่มีความงามเป็นเลิศ
เพราะมีความสมบูรณ์ทั้งด้านการสร้างสรรค์ลีลาที่อ่อนช้อย เลื่อนไหล
รวมทั้งอารมณ์ที่นุ่มนวล เยือกเย็น ก่อให้เกิดความศรัทธาและประทับใจ
- คุณค่าทางด้านการเมืองการปกครอง ในสมัยก่อนผู้ปกครองหรือพระมหากษัตริย์ได้นำศิลปะมาใช้เพื่อประโยชน์ในการเมืองการปกครอง เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีระหว่างกัน หรือใช้เป็นสัญลักษณ์ของการเข้าไปมีอำนาจเหนือเมืองอื่น การติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
จะเห็นได้ว่าศิลปะมีคุณค่าในหลาย ๆ ด้านต่อสังคม ไม่จำกัดเฉพาะการรับใช้ศาสนาหรือคุณค่าด้านความงาม
วิวัฒนาการของงานศิลปะไทย
ลักษณะของงานศิลปะไทย
คุณค่าของศิลปะไทย
การอนุรักษ์ศิลปะไทย
ศิลปะลายไทย
ความเป็นมาของลายไทย
ลักษณะของลวดลายไทยแบ่งตามกรรมวิธีการสร้างสรรค์
รูปแบบของลายไทย
ลวดลายไทย
ลายไทยในสถาปัตยกรรม
ภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
ประเภทของภูมิปัญญาไทย
ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์ภูมิปัญญาไทยกับการดำรงชีวิต
งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประเภทของงานศิลปหัตถกรรม
คุณค่าของงานหัตถกรรม
บรรณานุกรม