ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

วิวัฒนาการของศิลปะไทย

วิวัฒนาการของงานศิลปะไทย

  1. พุทธศตวรรษที่ 11-20 ตรงกับยุคสมัยของอาณาจักรดังต่อไปนี้ คือ
    - สมัยทวาราวดี ที่เชื่อว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐม
    - สมัยศรีวิชัย ซึ่งนักประวัติศาสตร์หลายท่านเชื่อว่าศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ที่เมือง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีการพบ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สำริดที่มีทรวดทรงงดงามเป็นอย่างมาก
    - สมัยลพบุรี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากขอมผสมผสานในงานศิลปะ ศิลปะที่โดเด่นของยุคนี้ ได้แก่ พระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์
    - สุโขทัย เป็นยุคที่งานศิลปะไทยได้รับอิทธิพลทั้งในด้านสุนทรีย์และแนวความคิดจากสกุลช่างในประเทศอินเดีย เช่น สกุลศิลปะแบบอัมราวดี สกุลศิลปะแบบคุปตะหรือแบบคลาสสิก และสกุลศิลปะแบบปาละ

    ยุคสุโขทัยเป็นยุคที่งานศิลปะไทยมีความเจริญถึงขีดสุด นับเป็นยุคคลาสสิกศิลปะไทย สังเกตได้จาก พระพุทธรูปสำริดสุโขทัย ที่มีพุทธลักษณะอันงามเลิศ มีขนาดใหญ่โต เช่น พระศรีศากยมุณี พระประธานที่วัดสุทัศน์เทพวราราม จึงเป็นยุคสมัยที่ศิลปะไทยมีความงดงาม เป็นความเรืองรองของศิลปกรรมไทย
  2. พุทธศตวรรษที่ 21-23 อยู่ในช่วงยุคสมัยของอยุธยา เป็นช่วงที่มีอิทธิพลของขอมปรากฎ อยู่อย่างชัดเจน เช่น การสร้างปรางค์หรือปราสาทแบบขอม การสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง และการสร้างเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสองที่มีความงดงามมากอยู่ที่วัดชุมพลนิกายาราม เป็นต้น และในสมัยอยุธยานี้เองที่เริ่มมีชาวต่างประเทศ คือ โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส เปอร์เซีย อาหรับ ญี่ปุ่น และจีน โดยเฉพาะชาวตะวันตกและจีน ชาวต่างประเทศที่เข้ามาส่วนใหญ่จะเข้ามามีบทบาทในการก่อสร้างและปฏิรูปสถาปัตยกรรมไทย เช่น การสร้างอาคารแบบ 2 ชั้น การติดตั้งน้ำพุ การก่อสร้างป้อมกำแพงต่าง ๆ รวมทั้งมีการปูลานหรือถนนอิฐ จนทำให้เกิดรูปแบบของอาคารพุทธศาสนาที่เรียกว่า “อาคารทรงวิลันดา” (ฮอลันดา)
  3. พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา เป็นยุคของกรุงรัตนโกสินทร์ แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
    - สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นยุคที่เริ่มนิยมนำเอาโครงสร้างสถาปัตยกรรมแบบจีนมาใช้ ในการก่อสร้างอาคารโบสถ์วิหาร ที่ช่วยให้สามารถก่อสร้างได้สะดวก รวดเร็ว และมีขนาดใหญ่โต เช่น พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และพระวิหารวัดกัลยาณมิตร จนเกิดลักษณะสถาปัตยกรรมตามพระราชนิยมรัชกาลที่ 3 คือ โบสถ์ วิหาร จะไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงษ์ มีการสร้างมณฑปและซุ้มประตูทรงมงกุฎ เป็นต้น นอกจากนี้รูปแบบของอาคารยังมีลักษณะแตกต่างไปจากแบบเดิม คือ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หรือการจำหลักไม้ ทั้งหน้าบันด้านหน้าและด้านหลัง แต่จะก่ออิฐและปั้นปูนหน้าบัน และบนผนังปูนใช้เสานางเรียงรายด้านข้างซ้ายและขวาเพื่อรับน้ำหนักชายคาแทนคันทวย และนาคสำรวย จึงนับเป็นยุคที่สถาปัตยกรรมไทยเจริญรุ่งโรจน์ไปสู่รูปแบบใหม่
     
    - สมัยรัชกาลที่ 4-5 เป็นยุคที่ศิลปะตะวันตกเข้ามาสู่ศิลปะไทยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลายอย่าง เช่น การเขียนภาพจิตรกรรมไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเรื่องราว จากเรื่องศาสนา มาเป็นปริศนาธรรม ประวัติศาสตร์ หรือวิธีการใช้สี แสง-เงา ลักษณะกายวิภาค ระยะใกล้-ไกล ตามธรรมชาติ และมีการก่อสร้างตึก อาคารแบบยุโรป เช่น พระที่นั่งจักกรีมหาปราสาท ที่เป็นทรงตะวันตกผสมแบบไทย อาคารพระที่นั่งอนันตสมาคม ที่สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมในยุคเรอเนซองของอิตาลี และโบสถ์วัดนิเวศธรรมประวัติที่บางปะอิน สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมกอธิก จากอิทธิพลของศิลปะตะวันตกทำให้ศิลปะมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดสถาบันการสอนศิลปะการช่างแบบยุโรป คือ โรงเรียนเพาะช่างและโรงเรียนประณีตศิลปกรรมของกรมศิลปากร เป็นต้น ซึ่งสถาบันเหล่านี้มีบทบาทอย่างมากในการถ่ายทอดความรู้ทั้งศิลปะสากลคู่ไปกับศิลปะไทย
 

วิวัฒนาการของงานศิลปะไทย
ลักษณะของงานศิลปะไทย
คุณค่าของศิลปะไทย
การอนุรักษ์ศิลปะไทย
ศิลปะลายไทย
ความเป็นมาของลายไทย
ลักษณะของลวดลายไทยแบ่งตามกรรมวิธีการสร้างสรรค์
รูปแบบของลายไทย
ลวดลายไทย
ลายไทยในสถาปัตยกรรม
ภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
ประเภทของภูมิปัญญาไทย
ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์ภูมิปัญญาไทยกับการดำรงชีวิต
งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประเภทของงานศิลปหัตถกรรม
คุณค่าของงานหัตถกรรม
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย