วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
พริก
พริกเป็นเครื่องเทศที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง
และมีความสัมพันธ์ต่อความเป็นอยู่ของชาวไทยเป็นเวลาช้านาน
เนื่องจากคนไทยนิยมรับประทานอาหารรสเผ็ด พริกจึงเป็นส่วนประกอบของอาหารไทยหลาย ๆ
ชนิด นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาสมุนไพรได้อีกด้วย โดยช่วยรักษาโรคหิด กลาก
ลดอาการปวดบวมเนื่องจากถูกความเย็นจัด
และพริกก็ยังเป็นพืชผักที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง
จะเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ปี พ.ศ.2530-2534
ระบุให้พืชผักเป็นหนึ่งในบรรดาสินค้าที่ได้รับการเสนอไว้ในแผนพัฒนาระบบการผลิตการตลาดและการสร้างงาน
ซึ่งพริกเป็นพืชผักกินผลชนิดหนึ่งในโครงการส่งเสริมการผลิตพืชผักเพื่อการส่งออก
และสามารถพัฒนาให้เป็นอุตสาหกรรมเกษตร
ชื่อภาษาอังกฤษ Capsicum. , Bird Chilli
ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum
frutescens Linn
ชื่อวงศ์ SOLANACEAE
พริกมีแหล่งกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้และกลาง
มีผู้พบผลพริกในหลุมฝังศพที่มีอายุถึง 2000 ปี ณ ประเทศเปรู
พริกถูกนำไปเผยแพร่ในประเทศสเปนตั้งแต่สมัยโคลัมบัสในปี ค.ศ.1493
หลังจากนั้นก็ได้กระจายไปยังประเทศต่างๆ แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอังกฤษ
ต่อมาชาวสเปนและชาวโปรตุเกสเป็นผู้นำไปเผยแพร่ในเอเชีย
การยอมรับพริกในการบริโภคนั้นได้รับการยอมรับในทันที
ไม่เหมือนมะเขือเทศและมันฝรั่งที่ใช้เวลานานกว่าผู้บริโภคจะยอมรับ จากหลักฐานพบว่า
ในประเทศอินเดียมีพริกปลูก 3 พันธุ์ ตั้งแต่ ค.ศ.1542
สำหรบประเทศไทยเข้าใจว่าพริกถูกนำเข้าประเทศโดยชาวโปรตุเกสเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว
และได้รับการยอมรับอย่างมากเป็นอาหารชูรสที่สำคัญของประชาชนในประเทศ
ชูรสที่สำคัญของพริกได้แก่รสที่เผ็ดอันเนื่องมาจากสาร capsaisin ในรูป vanilly
aminde ของ isodecyanic
ที่อยู่ในไส้พริกปัจจุบันวงการอุตสาหกรรมยังใช้ประโยชน์จากพริกในแง่ตัวยาสมุนไพร
โดยสกัดสาร capsaisin ไปเป็นส่วนประกอบของยาชนิดต่าง ๆ เช่น ยาธาตุ ยาเจริญอาหาร
ยาขับลม ยาแก้ปวดท้อง และยาแก้ปวดเมื่อย
รวมทั้งยังพบว่าสามรถใช้เป็นองค์ประกอบของตัวยาแก้โรคอื่น ๆ เช่น โรคไข้ในเขตร้อน
โรคคลื่นเหียนอาเจียน โรคปวดข้อหรือโรคเก๊าท์ โรคอัมพาต โรคท้องมาน จุกเสียด
และปวดฟันเป็นต้น
ลักษณะโดยทั่วไป
คุณค่าทางอาหารของพริก
การเพาะปลูก
ศัตรูพืชที่สำคัญและวิธีการป้องกันกำจัด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกพริกโดยลักษณะทางพืชสวน
ส่วนที่ใช้ ผลและใบสด