วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ลักษณะโดยทั่วไป
คุณค่าทางอาหารของพริก
การเพาะปลูก
ศัตรูพืชที่สำคัญและวิธีการป้องกันกำจัด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกพริกโดยลักษณะทางพืชสวน
ส่วนที่ใช้ ผลและใบสด
ส่วนที่ใช้ ผลและใบสด
ส่วนประกอบ คาร์โบไฮเดรต เส้นใย (4.5%) โปรตีนแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก
เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี มีสารรสเผ็ดร้อนชื่อ
แคปไซซิน (capsaicin) สารให้สีแดงส้มชื่อแคปแซนทิน(capsanthin) น้ำมันหอมระเหย
เมล็ดพริกมีแอลคาลอยด์จำพวกโซลานีน (solanine) และโซลานิดีน (solanidine)
สรรพคุณและวิธีใช้
ผล - ช่วยเจริญอาหาร ขับลม
แก้ตานซางในเด็กที่ซูบซีดพุงโรก้นปอด ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับเสมหะ
ใช้สารสกัดทาถูนวดแก้อาการตะคิว กลากเกลื้อน แก้การบวม เคล็ดและอาการปวดเมื่อย
ทำเป็นครีมแก้ไขข้ออักเสบและลดอาการปวด เพิ่มการไหลเวียนของเลือดช่วยเร่งระบบสลาย
ลิ่มเลือด ทำให้ทางเดินหายใจโล่ง สลายเมือกในปอด
ป้องกันหลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพอง มีสารต้านแบคทีเรียและสารต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยเร่งการสันดาป เร่งเมตาโบลิซึ่ม ช่วยใช้แคลอรีให้หมดไป ทำให้ลดน้ำหนัก
ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้ง LDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีในสัตว์ทดลองได้
ยอดพริก - มีรสเผ็ด ช่วยขับลม เพิ่มน้ำลาย เจริญอาหาร
ต้น -
รสเผ็ด ขับปัสสาวะ แก้กระษัย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อยตัว
พริกชี้ฟ้า ส่วนที่ใช้ ผล
ส่วนประกอบ มีสารประกอบทั่วไป มีสารแคปไซวิน สารเบต้าคาโรทีน
มีสารแอลคาลอยด์ เช่นเดียวกับพริกขี้หนู
สรรพคุณและวิธีใช้
ผล แก้ลมจุกเสียด แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม เจริญอาหารใช้ทาถูนวด
แก้เคล็ดขัดยอก แก้ปวดตามข้อ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น แก้ปวดเมื่อยต้น
เผาเป็นถ่านใช้ขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็นพิการ
- พริกทุกชนิดมีสารแคปไซซิน ซึ่งมีสรรพคุณ ช่วยระบบหายใจความดันโลหิต และหัวใจ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลม ลดกรดในกระเพาะ ขับเหงื่อ ลดน้ำหนักตัวได้ดี ลดอาการหวัดคัดจมูก
- สารต้านอนุมูลอิสสระป้องกันการเกิดมะเร็ง และโรคหัวใจ ช่วยทำให้โลหิตไหลเวียนได้ดี
- ปัจจุบันสารสกัดแคปไซซินจากพริกมาใช้ประโยชน์และยามากมาย เช่น ยาธาตุ ยาเจริญอาหาร ขับลม แก้ปวดท้อง เป็นเจลหรือครีมใช้ทาถูนวดแก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก
- พริกทุกชนิดมีไวตามินเอ สูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสสระ