ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

วรรณกรรมพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่

ยุคใหม่ในสังคมไทย

การแบ่งยุคเก่ากับยุคใหม่ในสังคมไทย ส่วนมากนักประวัติศาสตร์จะกำหนดเอาสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นเส้นแบ่งของยุค สำหรับเหตุการณ์ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุค คือ ความเคลื่อนย้ายจากระบบความคิดความเชื่อที่ตั้งอยู่บนฐานของกระบวนทัศน์แบบเดิม (จักรวาลวิทยาแบบเดิม) มาสู่กระบวนทัศน์ใหม่ที่เข้าไปผูกพันกับวัฒนธรรมตะวันตกอย่างชัดเจน (จักรวาลวิทยาแบบวิทยาศาสตร์) นั่นหมายความว่ากระบวนทัศน์แบบเดิมถูกกระทบจากกระบวนทัศน์ใหม่ จนขาดพลังในการที่จะอธิบายชีวิต สังคม และจักรวาลได้อีกต่อไป จึงได้นำไปสู่การเปลี่ยนผ่าน (transitional period) เข้าหากระบวนทัศน์ใหม่ที่มีพลังในการอธิบายโลกและชีวิตได้สมเหตุสมผลมากกว่า ถ้ามองในเชิงรูปธรรม ช่วงรอยต่อระหว่างสังคมไทยยุคเก่ากับยุคใหม่ ก็คือช่วงที่ไทยถูกคุกคามจากการล่าเมืองขึ้นของประเทศตะวันตกอย่างหนักตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ลงมา จนต้องยอมเปิดรับเอาวิทยาการตะวันตกมาพัฒนาประเทศให้ทันสมัย และการเปิดเสรีทางด้านการค้ากับตะวันตกโดยการทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2398 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้เป็นเรื่องเกียวกับแนวโน้มวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงขอกล่าวถึงเฉพาะการแบ่งยุคสมัยที่สัมพันธ์กับการผลิตวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น

ยุคใหม่ในสังคมตะวันตก
ยุคใหม่ในสังคมไทย
วรรณกรรมแบบจารีตลังกา
จักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ
วรรณกรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมยุคใหม่
แนวโน้มวรรณกรรมพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่
โครงเรื่องแนวเหตุผลนิยม
การวิพากษ์เรื่องอภินิหาร
การตีความเรื่องอภินิหาร
การวิพากษ์ความไม่สมเหตุสมผล
ยุคใหม่ตอนกลาง : วรรณกรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ
ภาษาคน-ภาษาธรรม : ทฤษฎีการตีความของท่านพุทธทาส
การวิพากษ์พระไตรปิฎก อรรถกถา และวิสุทธิมรรค
การปฏิเสธจักรวาลวิทยาแบบอภิปรัชญา
การตีความปฏิจจสมุปบาทแนวใหม่
การฟื้นฟูมิติโลกุตรธรรม
วรรณกรรมของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
การฟื้นฟูมิติทางสังคมแนวพุทธ
การวิพากษ์ฐานคิดตะวันตกและเสนอแนวคิดแบบองค์รวมเชิงพุทธ
วรรณกรรมของฟริตจ๊อฟ คาปร้า
ทัศนะแบบจักรกล (mechanistic view)
ทรรศนะแบบลดทอน (Reductionistic view)
แนวคิดพิชิตธรรมชาติ (conquest of nature)
ควอนตัมฟิสิกส์ กับ พระพุทธศาสนา
กลุ่มวรรณกรรมที่เน้นพุทธจริยธรรมเชิงสังคม
วรรณกรรมของนายแพทย์ประเวศ วสี
วรรณกรรมของนิธิ เอียวศรีวงศ์
วรรณกรรมที่เน้นจริยธรรมแบบผูกพันกับสังคม
วรรณกรรมของนายแพทย์ประสาน ต่างใจ
นิพพานในฐานะเป็นวิวัฒนาการขั้นสูงสุดของจิต
วรรณกรรมของปริญญา ตันสกุล
โครงสร้างจิตและการทำงานของจิต
การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
การปฏิบัติเพื่อเข้าสู่นิพพาน
วรรณกรรมพระพุทธศาสนากับแนวคิดหลังสมัยใหม่
บทสรุป
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย