ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

พุทธจริยศาสตร์กับการศึกษา

ความหมายของพุทธจริยศาสตร์
พื้นฐานจริยธรรมแบบพุทธจริยศาสตร์
จุดมุ่งหมายของพุทธจริยศาสตร์
หลักธรรมทางพุทธจริยศาสตร์กับการศึกษา
หลักจริยธรรม สำหรับปลูกฝังตัวเอง
การบูรณาการจริยธรรมแบบพุทธจริยศาสตร์กับการศึกษา
การประยุกต์วิธีการสอนแนวไตรสิกขากับการศึกษา
จริยธรรมกับหลักสูตรทางการศึกษา
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการบูรณาการเนื้อหาจริยธรรม
บรรณานุกรม

หลักธรรมทางพุทธจริยศาสตร์กับการศึกษา

หลักธรรมพุทธจริยศาสตร์กับการศึกษาประกอบด้วยหลักธรรมสำคัญดังต่อไปนี้

1. จริยธรรมสำหรับนักเรียน
2. การบูรณาการจริยธรรมแบบพุทธริยศาสตร์กับการศึกษา
3. การประยุกต์วิธีการสอนแนวไตรสิกขากับการศึกษา

จริยธรรมกับหลักสูตรทางการศึกษา

จริยธรมสำหรับนักเรียน

จริยธรรมสำหรับนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษา คือ จริยธรรมที่มาจากศาสนา เพราะศาสนาเป็นแหล่งรวบรวมคำสอนและหลักปฏิบัติในการกระทำความดี ละเว้นความชั่ว เป็นตัวกำหนดศีลธรรม จรรยา เพื่อให้มนุษย์มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน การประพฤติปฏิบัติจริยธรรมยิ่งปฏิบัติมากเท่าใดก็เท่ากับได้ใกล้ชิดกับศาสนามากเท่านั้น หลักจริยธรรมของพระพุทธศาสนาสอนให้ประพฤติตามหลักสัจธรรม คือ การนำเอาหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาปฏิบัติได้ตลอดเวลาและเป็นการสอนให้อยู่ในสังคมโดยใช้หลักความเมตตามากกว่าการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน และให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ปฏิบัติเป็นกลางๆไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป และเป็น “วิถีของคนดี” สามารถที่จะสร้างดุลยภาพในการดำรงชีวิตได้

หลักจริยธรรมที่นักเรียนควรยึดในการศึกษาเล่าเรียน

1. หัวใจนักปราชญ์
2. อิทธิบาท 4
3. หลักจริยธรรมสำหรับปลูกฝังตัวเอง

หัวใจนักปราชญ์ มี 4 ประการ คือ

1. สุ – สุตตะ - คือ การฟังอย่างตั้งใจ
2. จิ - จิตตะ - คือ คิดติดตามและไตร่ตรอง
3. ปุ – ปุจฉา - คือ การให้ถามหากมีความสงสัย
4. ลิ - ลิขิต - คือ การจดบันทึกย่อไว้ให้อ่าน

หัวใจนักปราชญ์เป็นหลักธรรมเบื้องต้นสำหรับนักเรียนถ้าหากปฏิบัติตามใน 4 ประการจะช่วยให้การเรียนดีขึ้นสามารถที่จะจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาก่อนหลังดังบทกลอนหัวใจนักปราชญ์ คือ

สุ. สดับถ้อยท่าน วิญญู ชนเฮย
จิ. จุ่งตริตรองดู ท่านให้
ปุ ถามเพื่อเพิ่มพูน เตือนสติ
ลิ. จิตบันทึกไว้ เพื่อได้กันลืม

อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินกิจการต่างๆ 4 ประการ คือ

1. ฉันทะ - มีความพอใจรักใคร่ในสิ่งที่กระทำ
2. วิริยะ - มีความเพียรพยายามในการปฏิบัติสิ่งนั้น
3. จิตตะ - การเอาใจใสในสิ่งที่กระทำอยู่
4. วิมังสา - หมั่นไตร่ตรองพิจารณาในการกระทำนั้น

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย