สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
กำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน
ในหมู่บ้านหนึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ทำหน้าที่ปกครองราษฎรในเขตหมู่บ้าน
โดยมีที่มาจากการเลือกของราษฎรในหมู่บ้านนั้น
คุณสมบัติของราษฎรผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน
- มีสัญชาติไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือก
- ไม่เป็นภิกษุสามเณร นักพรตหรือนักบวช
- ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ และมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฏหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือนจนถึงวันเลือก
คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ ในวันรับเลือก
- มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ และมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการ ทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี จนถึงวันเลือกและเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นหลักฐาน
- เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
- ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
- ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ วิกลจริตจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
- ไม่เป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือของรัฐวิสาหกิจ หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือลูกจ้างของส่วนราชการ หรือลูกจ้างของเอกชนซึ่งมีหน้าที่ทำงานประจำ
- ไม่เป็นผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลหรือทางทุจริต หรือเสื่อมเสียในทางศีลธรรม
- ไม่เป็นผู้เคยถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะทุจริตต่อหน้าที่ และยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปีนับแต่วันถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
- ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ และยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปีนับแต่วันพ้นโทษ
- ไม่เป็นผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ในฐานความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ กฎหมายว่าด้วยที่ดิน ในฐานความผิดเกี่ยวกับที่สาธารณประโยชน์ กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง และกฎหมายว่าด้วยการพนัน ในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก
- ไม่เป็นผู้เคยถูกให้ออกจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านราษฎร เนื่องจากผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่บ้านนั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนร้องขอให้ออกจากตำแหน่ง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ออกจากตำแหน่ง เมื่อได้สอบสวนเห็นว่าบกพร่องในทางความประพฤติ หรือความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง และยังไม่พ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันถูกให้ออก
- ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก จากตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล หรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปีนับแต่วันถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
- มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ หรือที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ เว้นแต่ในท้องที่ใดไม่อาจเลือกผู้มีพื้นความรู้ดังกล่าวได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอนุมัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาจประกาศในราชกิจจานุเบกษายกเว้นหรือผ่อนผันได้
การเลือกผู้ใหญ่บ้าน
การเลือกผู้ใหญ่บ้านนั้นมีสาเหตุที่มา 2 ประการคือ
- มีการจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่
- ผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านว่างลง ซึ่งจะต้องมีการเลือกผู้ใหญ่บ้านใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบการว่าง
วิธีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน
กฏหมายกำหนดให้นายอำเภอเป็นประธาน พร้อมด้วยกำนันหรือ
ผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นอย่างน้อย 1 คน ประชุมราษฏรในหมู่บ้านที่มี
คุณสมบัติที่จะเลือกผู้ใหญ่บ้าน โดย วิธีลับหรือเปิดเผยก็ได้
ตามข้อบ้งคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2535
เมื่อเลือกผู้ใดแล้วถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ใหญ่บ้าน อยู่ในตำแหน่งคราว ละ 5 ปี
การพ้นจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้านจะต้องออกจากตำแหน่งด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้
- ขาดคุณสมบัติหรือเข้าลักษณะต้องห้ามของการเป็นผู้ใหญ่บ้าน ( ยกเว้นการลาบวช โดย ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด ไม่เกิน 120 วัน )
- ออกตามวาระ ( 5 ปี )
- ตาย
- ได้รับอนุญาตให้ลาออก
- หมู่บ้านที่ปกครองถูกยุบ
- ไปเสียจากหมู่บ้านที่ตนปกครองเกิน 3 เดือน
- ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านนั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ร้องขอให้ออกจากตำแหน่ง
- ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ออกจากตำแหน่ง เมื่อได้สอบสวนเห็นว่า บกพร่องในทางความ ประพฤติหรือความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง
อำนาจหน้าที่ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่ปกครองราษฎรที่อยู่ในเขตหมู่บ้าน
และมีหน้าที่ 2 ประการคือ
- อำนาจหน้าที่ในทางปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย สรุปได้ดังนี้ คือ
- รักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน
- เมื่อเกิดทุกข์ภัยแก่ลูกบ้าน ให้แจ้งกำนันเพื่อหาทางป้องกัน
- นำประกาศ คำสั่งของรัฐบาลแจ้งลูกบ้าน
- ทำบัญชีทะเบียนราษฎรในหมู่บ้าน
- มีเหตุการณ์ประหลาดให้แจ้งกำนัน
- พบคนแปลกหน้าให้นำตัวส่งกำนัน
- เมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้น ให้เรียกลูกบ้านช่วยกันป้องกันและระงับได้ และแจ้งกำนัน
- ควบคุมลูกบ้านให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ
- สั่งสอนลูกบ้านมิให้อาฆาตมาดร้ายกัน
- ฝึกอบรมลูกบ้านให้รู้จักหน้าที่และการทำการในเวลารบ
- ประชุมลูกบ้านเป็นครั้งคราวเพื่อแจ้งข้อราชการ
- ส่งเสริมอาชีพ
- ป้องกันโรคติดต่อ
- ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี
- ตรวจตรารักษาประโยชน์ในการอาชีพราษฎร
- จัดหมู่บ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
- ประชุมกรรมการหมู่บ้าน
- ปฎิบัติตามคำสั่งของกำนัน
- ให้ราษฎรช่วยเหลือสาธารณประโยชน์ - อำนาจในทางอาญา สรุปได้ดังนี้
-เมื่อทราบว่ามีการกระทำผิดกฎหมาย หรือสงสัยเกิดในหมู่บ้านให้แจ้งกำนัน
-เมื่อทราบว่ามีการทำผิดกฏหมายหรือสงสัยว่าเกิดในหมู่บ้านใกล้เคียง ให้แจ้งผู้ใหญ่บ้านนั้นทราบ
-พบของกลางทำผิดให้ส่งกำนัน
-เมื่อสงสัยผู้ใดว่าทำผิด หรือกำลังทำผิด ให้จับกุมส่งอำเภอหรือกำนัน
-เมื่อมีหมายสั่งจับผู้ใดหรือคำสั่งราชการให้จับผู้นั้นส่งกำนัน หรืออำเภอตามสมควร
-เจ้าพนักงานมีหน้าที่ออกหมายสั่งให้ค้น หรือให้ยึดผู้ใหญ่บ้าน ต้องจัดการให้
การรักษาการแทนผู้ใหญ่บ้าน
ถ้าผู้ใหญ่บ้านจะทำการในหน้าที่ไม่ได้ในครั้งหนึ่งคราวหนึ่ง
ให้มอบหน้าที่ให้แก่ผู้ช่วยผู้ใหญ่ บ้านฝ่ายปกครองคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทน
จนกว่าจะทำการในหน้าที่ได้ และต้องรายงานให้กำนันทราบ และถ้าเกิน 15 วัน
ก็ให้รายงานนายอำเภอทราบด้วย
เงินตอบแทนตำแหน่ง
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ
จะได้รับเงินตอบแทนตำแหน่งตามอัตราที่กระทรวง มหาดไทยกำหนด ดังนี้
อัตราเงินตอบแทน ตำแหน่ง อัตรา
-กำนัน 3,500
-ผู้ใหญ่บ้าน 2,500
-แพทย์ประจำตำบล 1,800
-สารวัตรกำนัน 1,800
-ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง 1,800
-ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ 1,800
(เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2545)
เงินตอบแทนกรณีเสียชีวิต
กรณีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ เสียชีวิตไม่ว่าจากกรณีใด
ๆจะได้รับเงินตอบแทนตำแหน่งสำหรับเดือนที่ตายตลอดทั้งเดือนและกับอีกจำนวน
สามเท่าของเงินตอบแทนตำแหน่งเดือนสุดท้ายเป็นค่าช่วยเหลือในการทำศพ
(ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนตำแหน่ง และเงินอื่น
ๆให้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2538)
วิธีการดำเนินการ
เมื่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ เสียชีวิตให้ทายาทนำหลักฐานการเสียชีวิต
หลักฐานการเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ติดต่อกับเสมียนตราอำเภอ
เงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ จะได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร
สำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย คนที่1 ถึงคนที่3
นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลังที่ศึกษาอยู่ไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ
และสายอาชีพ ทั้งสถาบันการศึกษาของรัฐบาลและเอกชน (ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนตำแหน่ง และเงินอื่น ๆให้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯลฯ
พ..ศ.2529)
วิธีการดำเนินการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ นำใบเสร็จรับเงิน
ที่จ่ายเป็นค่าบำรุงการศึกษาของบุตร นำไปเบิกกับเสมียนตราอำเภอ
ค่ารักษาพยาบาล
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ และบุคคลในครอบครัว ได้แก่
- บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
- คู่สมรส บิดาหรือมารดา
ได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
โดยมีสิทธิได้รับบัตรประกันสุขภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนสิทธิในการใช้บริการ
ห้องพิเศษ และอาหารพิเศษต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าสถานพยาบาลมีอำนาจใช้ดุลยพินิจให้สิทธิลดหย่อนหรือยกเว้นค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้
(ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยบัตรประกันสุขภาพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543)
วิธีการดำเนินการ
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ต้องทำบัตรประกันสุขภาพ
เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอเข้ารับบริการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
เงินเพิ่มพิเศษค่าภาษาใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ในเขตจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล
ที่สามารถพูดและใช้ภาษาไทยและภาษายาวีได้ดีทั้งสองภาษา จะได้รับเงินเพิ่มพิเศษคนละ
50 บาท ต่อเดือนตามนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้
(มติ ครม. 4 พฤศจิกายน 2523)
ส่วนลดค่าโดยสารรถไฟ
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนัน
จะได้รับส่วนลดค่าโดยสารรถไฟครึ่งราคาทุกชั้น (หนังสือการรถไฟ ฯที่ พ.5/คส.1/11
ล.ว. 22 มีนาคม 2516) สำหรับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านยังไม่ได้รับสิทธิลดค่าโดยสารรถไฟ
วิธีการดำเนินการ
ขอใบรับรองจากอำเภอว่าเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ (ใบรับรองดังกล่าวมีอายุ 6
เดือน ) และนำใบรับรองดังกล่าวพร้อมแสดงบัตรประจำตัวเวลาซื้อตั๋ว
การฌาปนกิจสงเคราะห์
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล หรือสารวัตรกำนัน
สามารถสมัครเป็นสมาชิกฌ.ก.น ได้ โดยชำระค่าสมัคร 10 บาท
และชำระเงินสงเคราะห์เมื่อสมาชิกคนอื่นเสียชีวิต ศพละ 50 สตางค์
(ระเบียบกรมการปกครอง ว่าด้วยฌาปนกิจสงเคราะห์กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล
และสารวัตรกำนัน พ.ศ. 2530)
วิธีการสมัคร
สมัครได้ที่ ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ ที่ผู้สมัครมีภูมิลำเนา
วิธีการรับเงินค่าทำศพ
ให้ทายาทเป็นผู้ยื่นคำร้องขอรับเงินสงเคราะห์จากนายอำเภอท้องที่
ซึ่งสมาชิกมีภูมิลำเนาตามที่ปรากฏในทะเบียน
สมาชิก
การช่วยเหลือเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือราชการ
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ เมื่อประสบภัยขณะปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือราชการ
จะได้รับการช่วยเหลือ
ตามพระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากช่วยเหลือราชการ
การปฏิบัติงานของชาติ หรือการ ปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543
โดยให้ผู้ประสบภัยหรือทายาทอื่นยื่นแบบคำขอรับเงินสงเคราะห์
ผู้ประสบภัยพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องถึงนายอำเภอซึ่งเป็นท้องที่ ที่เกิดเหตุ
ดังนี้
- กรณีสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะส่วนใด ส่วนหนึ่ง
หรือทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บจนไม่สามารถใช้กำลังกายหรือความคิดประกอบอาชีพได้ตามปกติ
หรือพิการทุพพลภาพขนาดหนัก ให้ยื่นแบบคำขอรับพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- หลักฐานหรือคำสั่งในการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม
- รายงานการสอบสวนข้อเท็จจริง
- รายงานการสอบสวนของพนักงานสอบสวน หรือคำพิพากษาของศาล (ถ้ามี)
- หลักฐานการสอบสวนพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์และหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องอื่น (ถ้ามี)
- ใบรับรองแพทย์ที่ทางราชการรับรองซึ่งตรวจและให้ความเห็นว่า ผู้นั้น สูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บจนไม่สามารถใช้กำลังกายหรือความคิดประกอบอาชีพได้ตามปกติ หรือพิการทุพพลภาพขนาดหนัก - กรณีผู้ประสบภัยถึงแก่ความตาย
ให้ทายาทผู้ประสบภัยยื่นแบบคำขอ รับพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ (1) ก ง พร้อมทั้งแนบหลักฐานเพิ่มเติม คือหลักฐานเกี่ยวกับการตาย หลักฐานเกี่ยวกับทายาท หลักฐานเกี่ยวกับคู่สมรส หลักฐานเกี่ยวกับบุตร หลักฐานแสดงการเป็นผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี
การสอบสวนข้อเท็จจริง
- เมื่อนายอำเภอได้รับคำขอรับเงินสงเคราะห์แล้วให้สอบสวนข้อเท็จจริง
และช่วยเหลือในการให้ได้มาซึ่งหลักฐานประกอบคำขอรับ
แล้วให้เสนอคำขอรับพร้อมหลักฐานไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัด ภายใน 30 วัน
นับแต่วันที่ได้รับคำขอรับ ถ้ามีความจำเป็นก็ขอให้ขยายเวลาต่อ ผู้ว่าราชการ
จังหวัด หากเห็นสมควรก็ให้สั่งขยายได้ไม่เกิน 15 วัน ในกรณีที่
นายอำเภอขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องสอบสวนข้อเท็จจริง
หรือขอให้ส่งหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณา
ให้ส่วนราชการนั้นถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการให้โดยเร็ว
- เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้พิจารณาคำขอรับเงินสงเคราะห์และหลักฐานต่าง ๆ
เห็นว่าถูกต้องแล้วให้ส่งคำขอรับพร้อมหลักฐานไปยัง
เลขานุการคณะกรรมการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย (อธิบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง)
ทั้งนี้ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าสมควรสอบสวนข้อเท็จจริง หรือ เห็นควรขอหลักฐานเพิ่มเติม ก็ให้ดำเนินการได้แต่ต้องส่งคำขอรับพร้อมหลักฐานไปยังเลขานุการ ฯ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง (ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการขอรับเงิน การพิจารณา และการขยายระยะเวลา ในการขอรับเงินสงเคราะห์เนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติหรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543)
เงินรางวัล
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ที่มีผลงานดีเด่นประจำปี จะได้รับรางวัล ดังนี้
- ตำแหน่ง รางวัลยอดเยี่ยม รางวัลชั้นที่ 2
- กำนัน รางวัลแหนบทองคำ
- เงิน 15,000 บาท
- เครื่องแบบปกติขาว
- รางวัลละ 3,000 บาท อำเภอละ 1 รางวัล
(ยกเว้นอำเภอที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมแล้ว) - ผู้ใหญ่บ้าน รางวัลแหนบทองคำ เงิน 10,000 บาท
เครื่องแบบปกติขาว รางวัลละ 2,000 บาท อำเภอละ 1 รางวัล
(ยกเว้นอำเภอที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมแล้ว) - แพทย์ประจำตำบล รางวัลละ2,000 บาท จังหวัดละ 1 รางวัล รางวัลละ 1,000
บาทอำเภอละ 1 รางวัล
(ยกเว้นอำเภอที่ได้ รับรางวัลชั้นที่ 1 แล้ว) - สารวัตรกำนัน รางวัลละ 1,500 บาท จังหวัดละ 1รางวัล รางวัลละ 1,000
บาทอำเภอละ 1รางวัล
(ยกเว้นอำเภอที่ได้ รางวัลชั้นที่ 1 แล้ว) - ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน รางวัลละ1,500 บาทจังหวัดละ 1รางวัล รางวัลละ 1,000 บาท
(ยกเว้นอำเภอที่ ได้รับรางวัลชั้นที่ 1 แล้ว)
(ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแบ่งชั้นเงินรางวัลของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ.2538)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ได้ดำรงตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่ง
รวมกันเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 5 ปี บริบูรณ์
หรือได้ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่งต่อเนื่องกัน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า
3 ปี บริบูรณ์
นับแต่วันที่ได้ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา (5 ธันวาคม)
ของปีที่ขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน (นับถึงวันที่ 6 ตุลาคม
ของปีที่จะขอพระราชทาน) มีสิทธิขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามลำดับชั้น
ดังนี้
(ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯพ.ศ
2536
ตำแหน่ง ชั้นเครื่องราชฯ ที่ขอได้
กำนัน ร.ท.ม. - ร.ท.ช. - บ.ม. - บ.ช. - จ.ม. - จ.ช.
ผู้ใหญ่บ้าน ร.ง.ม. - ร.ง.ช. - ร.ท.ม. - ร.ท.ช. - บ.ม. - บ.ช.
แพทย์ประจำตำบล ร.ง.ม. - ร.ง.ช. - ร.ท.ม. - ร.ท.ช.
สารวัตรกำนัน ร.ง.ม. - ร.ง.ช. - ร.ท.ม. - ร.ท.ช.
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ร.ง.ม. - ร.ง.ช. - ร.ท.ม. - ร.ท.ช.
หมายเหตุ ร.ง.ม =เหรียญเงินมงกุฏไทย ร.ท.ม. =เหรียญทองมงกุฏไทย บ.ม
=เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย จ.ม. =จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
แหล่งที่มา :
- เนชั่นฯ คลื่นสังคม / สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
- รักบ้านเกิด.2547.ประวัติความเป็นมาของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน