ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
อะไรคือหัวใจสำคัญของคณิตศาสตร์
บทเรียนคณิตศาสตร์อะไรที่มีปัญหามากที่สุด
วัยเด็กคนดังของโลก : อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" ผู้เกลียดการเรียนหนังสือ
วัยเด็กคนดังของโลก : ปิกัสโซ อัจฉริยบุคคล ผู้เกลียดเลขคณิต
วัยเด็กคนดังของโลก : อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" ผู้เกลียดการเรียนหนังสือ
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein ค.ศ. 1879-1955) เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีสัมพัทธ์ (Theory of Relativity) ที่ท่านแถลงเมื่ออายุ 26 ปีนั้น ถือได้ว่า เป็นการปฏิวัติใหญ่มากครั้งหนึ่งในวงการวิชาฟิสิกส์ เมื่ออายุ 33 ปี เป็นศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยซูริก เมื่ออายุ 35 ปี เป็นศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ความสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์ของท่าน ได้เปิดศักราชใหม่แห่งวิชาฟิสิกส์ ทำให้ความรู้เกี่ยวกับจักรวาล อวกาศ วัตถุ และพลังงานเป็นต้น เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่เลยทีเดียว
ไอน์สไตน์เกิดในครอบครัวชาวยิวในเมืองอูล์ม (Ulm) ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ทางตอนใต้ของเยอรมนี พ่อของท่านดำเนินกิจการโรงงานผลิตเครื่องไฟฟ้าเล็กๆ โรงหนึ่ง ภายหลังเกิดมาไม่นาน ครอบครัวก็ย้ายไปอยู่ที่เมืองมิวนิก และท่านได้ใช้ชีวิตในเมืองมิวนิกจนถึงอายุ 15 ปี จึงได้จากไปเรียนต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมัยเรียนชั้นประถม ผลการเรียนของไอน์สไตน์อ่อนมาก อีกทั้งความสามารถในการใช้ภาษาพัฒนาไปได้ช้ามาก จนพ่อแม่ยังคิดว่า ไอน์สไตน์มีไอคิวต่ำมาก แม้เติบโตจนอายุ 9 ขวบ ก็ยังไม่สามารถสื่อความหมายด้วยภาษาพูดได้รู้เรื่องเท่าไร
ภายหลังเข้าเรียนในโรงเรียน ปรากฏว่า ไอน์สไตน์เป็นเด็กที่ไม่มีสติปัญญาความสามารถอะไร พวกเพื่อนนักเรียนเรียกท่านว่า "นักเพ้อฝันที่น่ารัก" และมักเยาะเย้ยกลั่นแกล้งท่านเป็นนิจศีลพ่อของท่านรับทราบจากคำวิจารณ์ของคุณครูว่า "สมองของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทึมทื่อ ความสามารถด้านการสมาคมอ่อนด้อย ไม่มีจุดดีเด่นอะไรสักอย่าง" พ่อรู้สึกผิดหวังมาก แต่ไอน์สไตน์ชอบวิชาวรรณคดีและคณิตสาสตร์ และความชอบในสองวิชานี้ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
แต่กระนั้นก็ตาม ผลการเรียนของสองวิชาก็ดีกว่าวิชาอื่นๆ เล็กน้อยเท่านั้น ท่านเกลียดวิชาประวัติ- ศาสตร์และภาษาละติน ในชั่วโมงเรียนวิชาประวัติศาสตร์และภาษาละติน ท่านจะนั่งอยู่ในที่นั่งด้วยสมองที่ว่างเปล่า แม้แต่หน้าหนังสือเรียนก็ไม่อยากพลิกดู คุณครูไม่พอใจพฤติกรรมของท่านมาก และเพราะผลการเรียนของท่านอยู่อันดับสุดท้ายเป็นประจำ คุณครูจึงรู้สึกเหลืออดเหลือทนต่อเด็กที่ถูกเข้าใจว่าเป็นคนปัญญาอ่อนคนนี้มาก จึงมักจะพูดดูถูกเหยียดหยามท่านอยู่เสมอ
เมื่ออายุ 10 ขวบ ไอน์สไตน์ถูๆ ไถๆ เข้าไปเรียนในโรงเรียนมัธยม แม้ผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์จะดีกว่าวิชาอื่นมาก แต่ก็ไม่ได้ช่วยยกระดับผลการเรียนทั่วไปให้ดีขึ้น ช่วงนี้ท่านเริ่มสนใจอ่านหนังสือที่ทางโรงเรียนไม่ได้สอน เช่นหนังสือของยูคลิด (Euclid) นิวตัน (Isaac Newton) สปิโนซา (Benedict Spinoza) และเดส์คาร์ตส์ (Rene Descartes) เป็นต้น และท่านพอเข้าใจเนื้อหาสาระของทฤษฎีความคิดในหนังสือเหล่านี้ไม่น้อย
ภายหลังไอน์สไตน์ได้เล่าถึงชีวิตในวัยเยาว์ช่วงนี้ว่า ท่านมีความต้องการใฝ่หาความรู้แรงกล้ามาก แม้ในโรงเรียนมีครูออกมากมาย แต่เป็นเรื่องแปลกที่ไม่มีครูสักคนที่มองเห็นความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของไอน์สไตน์เลย มิหนำซ้ำทางโรงเรียนกลับอ้างผลการเรียนอ่อนด้อยของท่านเป็นการถ่วงการเรียนของนักเรียนคนอื่นๆ เป็นเหตุผลอเปหิท่านออกจากโรงเรียน คนที่ค้นพบพรสวรรค์ด้านคณิตศาสตร์ของท่าน คือคุณอาของท่านที่เป็นนายช่างในโรงงานของพ่อเมื่อตอนอายุ 14 ปี พ่อเห็นชอบให้คุณอาช่วยสอนวิชาพีชคณิตและเรขาคณิตแก่ท่าน
ปรากฏว่าได้ผลดีมาก ความสามารถของท่านได้พัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นวิชาแคลคูลัสหรือเรขาคณิตวิเคราะห์ ท่านเข้าใจหมด และท่านยังเริ่มสนใจความรู้เกี่ยวกับแสง สิ่งเหล่านี้ส่อให้เห็นแววพรสวรรค์ด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ของท่านจะเปล่งประกายเจิดจ้าในอนาคต เมื่อตอนอายุ 15 ปี โรงงานของพ่อเป็นอันต้องเลิกล้มกิจการไป ครอบครัวของท่านจึงอพยพไปอยู่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี เหลือแต่ท่านอยู่ในเมืองมิวนิกคนเดียว เพื่อจะได้เรียนต่อจนจบหลักสูตร
เนื่องจากไอน์สไตน์มีความสนใจต่อวิชาคณิตศาสตร์มากเหลือเกิน คุณครูจึงเสนอแนะให้ท่านย้ายไปเรียนในโรงเรียนที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์ ท่านเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคุณครู ท่านจึงลาออกจากโรงเรียนที่เรียนอยู่ และทำใจปล่อยวาง เดินทางไปท่องเที่ยวในอิตาลีระยะหนึ่ง ระหว่างอยู่ในอิตาลี ท่านได้รับทราบข่าวการรับสมัครสอบคัดเลือกเข้าวิทยาลัยเฟเดอรัลโปลีเทคนิค (Federal Polytechnic) ในเมืองซูริก สอบวิชาคณิตศาสตร์เพียงวิชาเดียว ท่านจึงเดินทางไปสมัครสอบด้วยความมั่นใจ และท่านก็สอบเข้าเรียนในแผนกไฟฟ้าได้ตามคาด
ในวิทยาลัยเฟเดอรัลโปลีเทคนิค ไอน์สไตน์สนใจวิชาฟิสิกส์มากกว่าวิชาอื่นๆ
ท่านเรียนจบและได้ปริญญาเมื่ออายุ 21 ปี แต่เพราะท่านเป็นคนยิว ไม่มีสัญชาติสวิส
จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะรับราชการได้ ท่านจึงเป็นครูสอนหนังสือตามบ้านไปพลาง
ศึกษาค้นคว้าวิชาฟิสิกส์ไปพลาง จนกระทั่ง ค.ศ.1902 ท่านจึงได้สัญชาติสวิส
และท่านได้ไปรับราชการในเมืองเบิร์น
สามปีต่อมา
ไอน์สไตน์ได้เขียนบทความหลายเรื่องลงในวารสารอันนาเลนแดร์ฟิสิก (Annalen der
Physik) หลายเรื่อง เช่น "Quantum Theory", "Special Theory of Relativity" และ
"Brownian Movement Theory" เป็นต้น ความคิดเกี่ยวกับความรู้ด้านฟิสิกส์เหล่านี้
ทำให้ท่านได้รับความสนใจจากแวดวงวิชาการมาก ขณะนั้นท่านเป็นเด็กหนุ่มอายุเพียง 26
ปีเท่านั้น
หลังจากนั้นเป็นเวลานานถึง 10 ปี คือ ค.ศ. 1915
ท่านจึงได้เสนอบทความเรื่อง ทฤษฎีความสัมพัทธ์ทั่วไป (General Theory of
Relativity) ในทฤษฎีความสัมพัทธ์ทั่วไป มีข้อสันนิษฐานข้อหนึ่ง เห็นว่า
ลำแสงจากดาวฤกษ์ดวงหนึ่งส่องมายังโลก เมื่อลำแสงผ่านใกล้ดวงอาทิตย์จะเกิดการหักเห
ค.ศ.1919 นักวิทยาศาสตร์อังกฤษสองคนได้ทำการทดสอบพิสูจน์ข้อสันนิษฐานข้อนี้ในขณะที่เกิดสุริยคราส ผลการทดลองปรากฏว่าเป็นจริงตามที่ไอน์สไตน์ได้สันนิษฐาน ทำให้ชื่อเสียงของท่านขจรขจายไปทั่วโลก และในปี 1921 ท่านได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
ระหว่างปี ค.ศ.1920-1930 ไอน์สไตน์ได้รับเชิญไปบรรยายวิชาฟิสิกส์ในต่างประเทศบ่อยๆ และนับว่าโชคดีที่ท่านอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย ตอนที่ฮิตเลอร์ขึ้นครองอำนาจในเยอรมนีในเดือนมกราคม ค.ศ.1933 เพราะชาวยิวที่มีชื่อเสียงเป็นเป้าหมายศัตรูตัวสำคัญของพวกนาซี ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักวิจัยประจำในสถาบันวิจัยก้าวหน้า (Institute for Advanced Study) ที่เมืองพรินซตัน และ ค.ศ.1941 ท่านได้สัญชาติอเมริกัน ช่วงปัจฉิมวัย ไอน์สไตน์มีความห่วงใยต่อผลเลวร้ายของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อสังคมมนุษย์มากขึ้นทุกที ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1939 ท่านได้เขียนจดหมายถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ แฟรงกลิน รูสเวลต์ เตือนให้ระวังอันตรายที่นาซีเยอรมันกำลังพัฒนาระเบิดปรมาณูอยู่
ภายหลังปี ค.ศ.1945 ท่านมีบทบาทเป็นผู้นำรณรงค์เพื่อให้นานาชาติทำสัญญาควบคุมการใช้พลังงานนิวเคลียร์ อันที่จริงท่านเป็นนักรณรงค์เพื่อสันติภาพตั้งแต่ ค.ศ.1914 ท่านเห็นว่า วิทยาศาสตร์สามารถทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้นได้ แต่ก็ทำลายมนุษย์ได้ด้วย
ที่มา : ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 15 มีนาคม 2547