วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

แนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์

ประเภทของวิทยาศาสตร์
พัฒนาการของวิทยาศาสตร์
ลักษณะสำคัญทางวิทยาศาสตร์
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes)

ประเภทของวิทยาศาสตร์

การแบ่งประเภทของวิทยาศาสตร์ มีการแบ่งหลายระบบ แต่ละระบบมีเหตุผลและหลักเกณฑ์ต่างๆ กัน และหากจำแนกตามธรรมชาติของวิชา สามารถจำแนกได้ 3 สาขา คือ

1) วิทยาศาสตร์กายภาพ
2) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
3) วิทยาศาสตร์สังคม

  • วิทยาศาสตร์กายภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและจักรวาล ในส่วนของสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เคมี ธรณีวิทยา และคณิตศาสตร์ ฯลฯ
  • วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและจักรวาล ในส่วนของสิ่งมีชีวิต เช่น ชีววิทยา สัตววิทยา ฯลฯ
  • วิทยาศาสตร์สังคม เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ และพฤติกรรมของมนุษย์ที่รวมกันอยู่เป็นชุมชนหรือสังคม เช่น สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ฯลฯ

ในส่วนวิทยาศาสตร์กายภาพและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เมื่อพิจารณารวมกันแล้ว สามารถจัดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science) คือความรู้ความเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติที่เป็นไปตามกฎพื้นฐานของธรรมชาติ รวมทั้งปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จัดเป็นความรู้ขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย กฎและทฤษฎีต่างๆ ตลอดจนความจริงหรือข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอดที่มาจากการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากความต้องการที่จะหาความรู้ด้านต่างๆ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) คือ การนำองค์ความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ มาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์

วิทยาศาสตร์มีส่วนที่แตกต่างจากศาสตร์อื่นๆ ในส่วนที่ว่าการค้นคว้าหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำการทดลองสรุป ตั้งสมมุติฐานและสามารถพิสูจน์ได้ ดังนั้นสิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์จะสามารถนำหลักฐานจากประสบการณ์มาประกอบได้วิทยาศาสตร์ไม่แท้ หรือวิทยาศาสตร์เทียม (Pseudo Science) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ขาดกระบวนการที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงไม่สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆได้ จึงไม่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ได้ แต่พยายามที่จะโน้มน้าวหรือสร้างให้มนุษย์มีความเชื่อโดยขาดเหตุผล

พัฒนาทางวิทยาศาสตร์พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเนื้อหาต่างๆ กันและมีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทั้งนี้ขอบข่ายของพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ในยุคต้นๆ อาจเกิดขึ้นจากการคิดค้น และการประดิษฐ์เครื่องมือ อาวุธ วิธีการหาอาหาร การเก็บรักษาอาหาร และการเพาะปลูก การจัดลักษณะและรูปแบบความเป็นอยู่ พัฒนาการทางภาษา การสื่อความหมาย การจดบันทึก ฯลฯ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย