ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

หุ่นกระบอก

นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7

         หุ่น เป็นการแสดงที่มีกันเกือบทุกชาติในโลก เช่น จีน ชวา มอญ ญี่ปุ่น ฝรั่ง ฯลฯ แต่จะมีวิธีการประกอบเครื่องกลไกให้ตัวหุ่นเลื่อนไหวไปมา และมีลักษณะตัวหุ่นแตกต่างกันไปตามความนิยมของแต่ละชาติ สันนิษฐานว่า การเล่นหุ่นชนิดต่างๆ ในซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออกนั้นเกิดในระยะเวลาใกล้เคียงกัน   

อย่างไรก็ตาม เรื่องการสันนิษฐานการกำเนิดของของการเล่นหุ่นก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการสันนิษฐานจุดเริ่มแรกของศิลปวัฒนธรรมของสาขาอื่น คือ ในระยะก่อนที่จะมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและในยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นเป็นเรื่องที่ยากในกาสันนิษฐาน และยากแก่การกำหนดระยะเวลาที่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อใด และในระยะเริ่มแรกนั้นมีลักษณะอย่างไร   

ด้วยเหตุที่ไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรระบุแน่ชัดว่า ได้เกิดการเล่นหุ่นขึ้นในทางตะวันออกก่อน แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ประเทศทางตะวันตก จึงเกิดมีนิทานและตำนานเล่าสืบทอดกันมาว่า การเล่นหุ่นนั้นเริ่มขึ้นที่จีนเป็นประเทศแรก แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ประเทศต่างๆ ในเอเชีย หลังจากนั้นประเทศในยุโรปจึงได้รับการถ่ายทอดศิลปะการเล่นหุ่นนี้ไปอีกต่อหนึ่ง   

แต่จากหลักฐานที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบได้บันทึกไว้ว่า เริ่มมีการเล่นหุ่นในประเทศทางตะวันออกมาประมาณ 300-400  ปีก่อนในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาเดียวกับหลักฐานที่ปรากฏในประเทศทางตะวันตก การเล่นหุ่นนี้เกิดขึ้นไล่เลี่ยกับการแสดงละครโน และการแสดงคาบูกิซึ่งมีการค้นพบตัวหุ่นในโรงละครเหล่านี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 17   

ส่วนในประเทศจีนจากการศึกษาค้นคว้าและสันนิษฐานเรื่องการเล่นหุ่น ปรากฏว่าสามารถย้อนขึ้นไปได้ถึงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 10 แต่หลักฐานแน่ชัดเท่าที่ค้นพบในขณะนี้มีเพียงแค่ที่ปรากฏหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16 เท่านั้น   

การเล่นหุ่นของจีนโดยทั่วไปเรียกว่า วะหยั่ง ยกเว้นหุ่นที่ประดิษฐ์เป็นสามมิติ คือมีลักษณะเหมือนคนจริงนั้น จะมีชื่อเรียกว่า วะหยั่ง โก๊ะเล็ก ทั้งนี้เนื่องจากในประเทศจีนมีการเล่นหนังทำนองหนังใหญ่และหนังตะลุงด้วยเช่นกัน แต่ตัวหนังนั้นเป็นภาพสองมิติ จึงมีชื่อเรียกในภาษาจีนแตกต่างกันออกไปว่า  วะหยั่งกุ๊ลี   

สันนิษฐานว่าเดิมคงมีการเล่นหนังก่อน หลังจากนั้นจึงมีการคิดสร้างหุ่นขึ้นเป็นตุ๊กตาเล่นแทนคน แต่ใช้วิธีเชิดแบบตัวหนังแสดงเป็นเรื่องราวต่างๆ ขณะเดียวกันที่ประเทศอินเดียในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็มีการเล่นหนังและหุ่นแล้วเช่นกัน   

สำหรับการเล่นหุ่นในประเทศไทยไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อใดและได้รับอิทธิพลมาจากทางใด มีเพียงข้อสันนิษฐานของผู้รู้เท่านั้นซึ่งสันนิษฐานออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่าน่าจะได้แบบอย่างการเล่นหุ่นมาจากประเทศจีน โดยถือว่าประเทศจีนเป็นต้นกำเนิดของศิลปะการละเล่นนี้  

เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเล่นหุ่นกระบอกไทยนั้น มีหลักฐานบอกไว้แน่ชัดว่า ไทยได้แบบอย่างมาจากการแสดงหุ่นไหหลำแน่นอน แต่นำมาดัดแปลงประยุกต์ให้เหมาะสมกับความนิยมของคนไทย แต่หุ่นชนิดอื่นๆ  เช่น หุ่นหลวง และหุ่นในสมัยอยุธยานั้นก็ไม่ทราบที่มาแน่ชัดว่าได้แบบอย่างมาจากจีนหรือไม่    

ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งสันนิษฐานว่า คนไทยน่าจะได้แบบอย่างการเล่นหุ่นมาจากชวา โดยรับเข้ามาพร้อมๆกับการเล่นหนัง อิทธิพลของการเล่นหนังและการเล่นหุ่นจากชวาแพร่หลายเข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทยก่อน แล้วจึงเข้ามามีอิทธิพลในภาคกลาง    

การเล่นหนังแบบชวาเมื่อเข้ามาสู่ประเทศไทยก็กลายเป็นการเล่นหนังใหญ่และหนังตะลุง ส่วนการเล่นหุ่นแบบชวาได้กลายเป็นการเล่นหุ่นของชาวอยุธยา แต่มิใช่หุ่นกระบอก การละเล่นอีกอย่างหนึ่งที่สันนิษฐานว่าน่าจะเข้ามาในระยะเวลาไล่เลี่ยกันก็คือ การเล่นโขน ต้นเค้าดั้งเดิมของการละเล่นก่อนที่จะเกิดขึ้นที่ชวาและไทย ได้เกิดขึ้นที่ประเทศอินเดียเป็นแห่งแรก    

ส่วนการเล่นหุ่นในประเทศตะวันตกตามหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด เท่าที่ค้นพบปรากฏว่า แหล่งกำเนิดของการเล่นหุ่นอยู่ที่ดินแดนแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จากหลักฐานทางโบราณคดีและทางโบราณคดีและทางคติชาวบ้านตลอดจนเอกสารที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรชี้ให้เห็นว่า ผู้คนในดินแดนแถบนี้นิยมการเล่นหุ่น โดยเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกับที่ค้นพบในประเทศจีน รวมทั้งมีการค้นพบซากหุ่นในหลุ่มฝังศพของชาวอียิปต์อีกด้วย     

ต่อมาในยุคที่กรีกและโรมันเรืองอำนาจ  ได้มีข้อเขียนของนักปราชญ์คนสำคัญในยุคนั้นกล่าวถึงการเล่นหุ่นไว้ด้วยเช่นกัน แต่ไม่มีรายละเอียดพอให้สันนิษฐานได้แน่ชัดว่า หุ่นที่เล่นกันนั้นมีลักษณะและวิธีการแสดงอย่างไร

หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย