ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

หุ่นกระบอก

นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7

หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม

หุ่นกระบอกสมุทรสงครามแสดงครั้งแรกในชื่อ “คณะศิษย์พ่อครูวงษ์” แสดงหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย ที่อุทยาน ร.2 ในปี พ.ศ. 2537 โดยมีพ่อครูวงษ์ รวมสุขซึ่งเป็นผู้สืบทอดการเชิดหุ่นกระบอกจากแม่ครูเคลือบ ทายาทของครูเหน่งผู้เชิดหุ่นกระบอกที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นครูฝึกสอน โดยใช้ตัวหุ่นที่ทายาทของคุณลอย รัตทัศนีย์ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไว้ ณ อุทยาน ร.2 ทำการแสดง   หุ่นกระบอกสมุทรสงครามได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้สร้างตัวหุ่นเพิ่มขึ้น โดยเก็บตัวหุ่นไว้ที่ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อมีการแสดงเพื่อเผยแพร่สืบสานวัฒนธรรมก็จะได้รับความอนุเคราะห์จากมูลนิธิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงครามนำหุ่นออกแสดงเพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการเชิดหุ่นกระบอกของจังหวัดสมุทรสงครามสืบไป

หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย