ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ นับเป็นหึ่นที่มีชื่อเสียงมากในปัจจุบันเพราะเจ้าตัวเป็นจิตรกร มรผลงานแพร่หลายได้รับการยกย่องในวงการศิลปะ ทั้งรูปเขียนสีน้ำมัน เขียนลายเส้นเป็นภาพประกอบเรื่องในนิตยสารบางเล่ม และยังเคยเขียนหนังสือท่องเที่ยวด้วยสำนวนที่ไม่เหมือนใคร และตอบปัญหาในหนังสือลลนาอยู่พักหนึ่งเป็นที่เกรียวกราวอย่างยิ่งจักรพันธุ์เป็นชาวกรุงเทพฯ รักการเขียนรูปและทำหุ่นมาตั้งแต่เด็ก ระหว่างที่เรียนหนังสืออยู่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ก็ได้เขียนภาพและเริ่มทำหุ่นด้วยตัวเองแล้ว ต่อมาเมื่อเข้าเรียนในแผนกจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ในหลักสูตรต้องไปพิพิธภัณฑ์ประกอบการเรียนด้วยทำให้ได้เห็นหุ่นต่างๆและนำกลับไปทำเองด้วยชุดหึ่ง ตัวสูงแค่คืบเป็นหุ่นกระบอกเล็ก จักรพันธุ์เริ่มทำหุ่นกระบอกอย่างจริงจังหลังจากที่ได้รู้จักกับครูชื้น สกุลแก้ว ทำให้รู้สึกเสียดายทีเห็นครูชื้นจะขายหุ่นกระบอกเก่าบางตัวไป จึงคิดซื้อเก็บไว้และหัดเชิดจากครูชื้น โดยขณะนั้นครูชื้นเป็นอาจารย์พิเศษอยู่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในที่สุดเมื่อครูชื้นเห็นความตั้งใจจริงของจักรพันธุ์ จึงขายและมอบหุ่นบางตัว จากนั้นจักรพันธุ์ได้เอาหุ่นเหล่านั้นมาซ่อมแซมเสียใหม่ตามแนวทางของตัวเอง โดยอาศัยที่ชำนาญทางจิตรกรรมไทย ทำให้หุ่นทั้งหมดอกมาสวยงามอย่างประหลาด เมื่อมีผู้มาเห็นเข้าจึงขอไปตั้งโชว์ในงานที่สยามสมาคม ท้ายที่สุดก็เกิดความคิดจัดตั้งคณะหุ่นออกแสดง ในปี พ.ศ. 2518 จึงเกิดหุ่นกระบอกคณะใหม่ขึ้นคือ หุ่นกระบอกคณะจักรพันธุ์ เล่นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2518 แสดงเรื่อง พระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อสมุทร ที่โรงละครแห่งชาติ โดยมีครูชื้นเป็นผู้ช่วยฝึกสอนให้ จนเป็นที่เกรียวกราวอยู่พักใหญ่ หลังจากนั้นก็เงียบไประยะหนึ่งแล้วจึงทำหุ่นชุดรามเกียรติ์ ตอนสีดาแปลง ออกเล่นที่วังสวนผักกาด เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ถัดจากนั้นไปเล่นที่เชียงใหม่ แล้วเล่นออกโทรทัศน์เป็นครั้งที่ 4 และ 5 เป็นการภายในที่ศูนย์ศิลปนวลนาง เมื่อปีพ.ศ. 2525 เป็นชุดสั้นๆ คือ พระรามตามกวาง รำจันรำพัด และรจนาเลือกคู่ ครั้งที่ 6 แสดงหุ่นจีนเรื่อง สามก๊ก ตอนโจโฉแตกทัพเรือ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2532 ล่าสุดได้นำหุ่นกระบอกมาแสดงรำถวายพระพรในมหกรรมหุ่นนานาชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539
หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก