ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

หุ่นกระบอก

นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7

หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว

นางชื้น สกุลแก้ว สืบทอดการแสดงหุ่นจากบิดา คือนายเปียก ประเสริฐกุล ซึ่งเป็นคนเชิดหุ่นในคณะหุ่นกระบอกของ ม.ร.ว. เถาะ พยัคฆเสนา ผู้นำหุ่นกระบอกจากเมืองเหนือมาเผยแพร่ในภาคกลางเป็นครั้งแรกจนเป็นที่นิยม มีชื่อว่า “หุ่นกระบอกคณะเถาะ”

พอปี พ.ศ.2447 นายเปียกเริ่มสร้างหุ่นกระบอกขึ้นเป็นของตัวเอง และรับงานเล่นหุ่นกระบอกจนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ประกอบกับนางมิ่งผู้เป็นมารดา เคยเป็นละครของราชสำนักมาก่อน จึงนำท่าลีลาของละครมาดัดแปลงใช้กับหุ่น ทำให้หุ่นกระบอกคณะนายเปียกมีลีลาอ่อนช้อยและวิจิตรงดงาม เป็นที่รู้จักแพร่หลาย  ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 สถานีโทรทัศน์ได้เปิดดำเนินการ หุ่นกระบอกคณะนายเปียกได้รับการติดต่อให้แสดงเรื่อง “พระอภัยมณี” ตั้งแต่ต้นจนจบ จนได้รับความสนใจจากแฟนหุ่นกระบอกจำนวนมาก เมื่อนายเปียก ประเสริฐกุล ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2507 นางชื้น สกลุกัว ผู้เป็นบุตรีจึงรับงามการแสดงหุ่นกระบอกต่อ เนื่องจากมีชีวิตอยู่กับคณะหุ่นกระบอกมาตั้งแต่เกิด ประกอบกับพรสวรรค์และความสามารถเฉพาะตัวทั้งการร้อง การบรรเลง และการเชิดหุ่นที่เป็นเลิศ ทำให้นางชื้นมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ยังได้รับเชิญเป็นอาจารย์สอนและสาธิตการเชิดหุ่นให้แก่หน่วยงาน สถานศึกษาต่างๆ      อาทิ กรมศิลปากร     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงเรียนต่างๆ ฯลฯ นับเป็นการอุทิศตนเพื่ออนุรักษ์สืบสานและถ่ายทอดศิลปะหุ่นกระบอกอย่างสูง จนกระทั่งปี พ.ศ.2529 ครูชื้นได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง  (หุ่นกระบอก)

หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย