ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
การแสดงหุ่นกระบอกในสมัยก่อนจะมีประเพณีและข้อห้ามที่เคร่งครัดมากมาย
อันเป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อๆกันมา เนื่องจากมหรสพในยุคนั้นมักจะเล่นประชันกัน
เช่น หุ่นกระบอกประชันกับโขน กับหนังตะลุง กับลิเก ฯลฯ
ดังนั้นนอกจากจะแข่งฝีมือและความคิดในด้านศิลปะการแสดงแล้วยังเล่นคุณไสยหักล้างอีกด้วย
ทำให้เกิดข้อห้ามต่างๆมากมาย เช่น ข้อห้ามที่มิให้คนลงจากโรงหุ่นในระหว่างการแสดง
เพราะถ้าก้าวลงจากโรงหุ่นอันเป็นบริวารที่มีครูบาอาจารย์คุ้มครองอยู่เมื่อใด
อาจจะถูกฝ่ายตรงข้ามกระทำเอาถึงกับเจ็บป่วย ในกรณีที่แต่งตัวหุ่นมาเสร็จ
เมื่อจะนำตัวหุ่นเข้าโรงแสดง หุ่นตัวแรกที่จะถือนำเข้าโรงแสดง คือ
หุ่นพระครูฤาษีหรือพ่อแก่ ต่อจากนั้น ก็เป็นหุ่นพระ นาง และยักษ์ ตามลำดับ
และจะมานำหุ่นยักษ์เข้าบริเวณโรงก่อนเพราะถือว่าทำให้ร้อน
การเข้าฉากออกฉากของตัวหุ่นก็ถือเป็นประเพณีว่า
หุ่นทุกตัวโดยเฉพาะตัวเอกอย่างตัวพระ นาง ยักษ์ ลิง
จะต้องร่ายรำออกฉากเข้าฉากทางประตูเสมอ
ไม่มีการโผล่ขึ้นมาจากกระจกบังมือหรือเวทีเป็นอันขาด นอกจากจะเป็นบทตลกบางตัว เช่น
ตาเงือก ยายเงือก ฯลฯ และหากขณะแสดง
ถ้าศีรษะหุ้นตัวใดเกิดหลุดตกออกจากตัวหุ่นขณะที่หุ่นกำลังร่ายรำถือกันว่า คอขาด
เป็นอัปมงลคลที่ถือกันว่าหนักหนา
แสดงให้เห็นถึงสามสะเพร่าของผู้จัดเตรียมแต่งตัวหุ่น
หรือในการเก็บรักษาหุ่นก่อนนำออกมาแสดง จะแยกเก็บระหว่างหัวหุ่นตัวหุ่น
ต่อเมื่อจะแสดงจึงจะแต่งตัว โดยถือกันว่าหัวยักษ์ หัวลิงจะต้องแยกกันเก็บเสมอ
หรือไม่ก็ต้องมีหัวพ่อแก่คั่นกลาง ส่วนหัวพระ หัวนางจะไว้อีกทางหนึ่ง
พวกหัวตัวตลกก็แยกไว้อีกทางหนึ่งเช่นกัน
ต่อมาในสมัยหลังประเพณีนี้กลับไม่ถือกันเคร่งครัด คงวางปะปนกันตามสบาย
แม้ในเรื่องที่มาใช้แสดงหุ่นกระบอก ก็ถืออันหนักหนาว่า ตัวเอกจะต้องไม่ตายตอนจบ
เพราะถือว่าเป็นการตายคาโรงหรือล้มทับโรง เช่นเรื่องลักษณวงศ์ตอนฆ่าพราหมณ์เกสร
เมื่อพราหมณ์ถูกตัดคอแล้ว
จะแสดงต่อจนถึงพระพรหมมานำศพพราหมณ์ขึ้นไปชุบให้ฟื้นบนสวรรค์จึงจะจบการแสดง
แต่อีกนัยหนึ่ง
หากคณะใดให้ตัวเอกของเรื่องตายก็เท่ากับเป็นการตัดทางของคณะอื่นที่จะแสดงต่อในเรื่องเดียวกัน
เพราะหากคณะอื่นมาเล่นซ้ำในเรื่องเดิมที่ตัวเอกตายแล้ว
ก็จะไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
จึงเป็นมารยาทนาทของการแสดงที่ถือเป็นประเพณีสืบมานอกจากนี้ในการวางตัวหุ่นทุกตัวตั้งแต่ตัวเอกจนถึงตัวประกอบตลอดจนเครื่องประกอบการแสดงทุกชนิด
จะต้องระมัดระวังไม่ให้มีการข้ามกายกัน เพราะถือว่าเป็นครูทั้งนั้น
และจะวางนอนทิ้งราบกับพื้นโรงหรือไว้ในที่ต่ำไม่ได้
แต่จะต้องตั้งเสียบอยู่บนแกนแบะหันหน้าออกสู่คนเสมอ
หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก