ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

หุ่นกระบอก

นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7

การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น

ก่อนเริ่มการแสดง ขณะที่ผู้เชิดทำการสักการะบูชาครูอยู่ ทางดนตรีปี่พาทย์ก็จะจุดธูปเทียน ดอกไม้ และเงินค่ากำนน 6 บาท ใส่พานให้หัวหน้าวงจบพานอธิษฐานบูชาครูเช่นกัน จากนั้นจึงนำดอกไม้ธูปเทียนเสียบข้องตะโพน ด้วยถือว่าตะโพนเป็นสัญลักษณ์ของประโคนธรรพเทพเจ้าแห่งการดนตรี และยังเป็นเครื่องกำกับจังหวะที่มีความสำคัญอีกด้วย  สำหรับเงินค่ากำนนนั้น หัวหน้าวงจะนำไปใส่บาตรอุทิศส่วนกุศลให้แกครูบาอาจารย์ทางดนตรีต่อไป

พิธีบูชาครู

การไหว้ครูประจำปี หรือที่เรียกว่า “ไหว้ครูใหญ่” นั้นถือเป็นพิธีประจำปีที่มีการไหว้ครูโขน ละคร ดนตรีปี่พาทย์ แบะหุ่นไปพร้อมๆกันในคราวเดียว เพราะสมัยก่อนผู้เป็นเจ้าของคณะหุ่นนอกจากจะมีหุ่นกระบอกแล้ว ยังมีโขน ละคร ดนตรีปี่พาทย์อยู่ในครอบครองด้วย ซึ่งมักทำกันในวันพฤหัสบดีอันถือเป็นวันครู  สำหรับคณะหุ่นที่มีแต่หุ่น ไม่มีโขน ละคร ดนตรีปี่พาทย์นั้น จะมีพิธีบูชาครูหุ่นเฉยๆไม่มีพิธี “ครอบ” เช่น โขน ละคร หากทำพิธีใหญ่จะมีการนิมนต์พระสงฆ์มาฉันเช้า เป็นขั้นตอนในพิธีสงฆ์ เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์แล้วจึงเป็นพิธีบูชาครูต่างๆต่อไป แต่ถ้าไม่มพิธีสงฆ์ก็จะเป็นการบำเพ็ญกุศลใส่บาตรพระสงฆ์ 9 รูป อุทิศส่วนกุศลถวายครูบาอาจารย์ แล้วจึงต่อด้วยพิธีบูชาครู

พิธีบูชาครูต้องเตรียมเครื่องสังเวยดังนี้

  1. มัจฉมังสาหาร 6 สิ่ง ได้แก่ หัวหมู เป็ด ไก่ ปูต้ม กุ้งต้น ปลาแป๊ะซะนึ่ง
  2. เครื่องกระยาบวช คือของกินที่ปราศจากของสดคาว ได้แก่ เผือกต้ม มันเทศต้ม กล้วยน้ำไทย อ้อย มะพร้าวอ่อน ถั่วเขียว ถั่วเหลืองดิบ งาดำงาขาวดิบ
  3. บายศรีปากชาม 2 ที่
  4. ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง
  5. ขนมหวาน 7 หรือ 9 อย่าง เช่นทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ขนมชั้น วุ้นกะทิ ฯลฯ
  6. ผลไม้ 7 อย่าง หรือ 9 อย่าง
  7. นม เนย
  8. ข้าวรำ 3 ก้อน (โดยนำข้าวหน้าหม้อมาปั้นด้วยมือให้เป็นก้อนข้าวแบบข้าวตู แล้วคลุกถั่วดิบ งาขาวงาดำดิบ แล้วราดด้วยน้ำผึ้ง
  9. หมูดิบนองตอง คือหมู 3 ชั้นดิบ วางบนใบตองตานีที่มีจานรองอีกทีหนึ่ง กรณีสังเวยพระครูพิราพ
  10. หมู 3 ชั้นต้มนอนตอง
  11. เหล้าโรง
  12. ดอกไม้ 7 สี
  13. ข้าวตอก ดอกไม้ 1 พาน (นิยมดอกมะลิหรือดอกกุหลาบ)
  14. ธูปหอม
  15. เทียนปิดทอง เทียนปิดเงิน อย่างละ 1 เล่ม หนัก 4 บาทหรือ 6 บาทหรือ 9 บาทก็ได้ตามแต่งบประมาณ พร้อมทั้งเทียนธรรมดาสำหรับบูชาทั่วไป
  16. พวงมาลัยสำหรับคล้องมือหุ่นกระบอก

สำหรับเครื่องสังเวยประเภทบริโภคที่กล่าวมาข้างต้นสามารถตัดทอนลงบ้างตามเหตุการณ์และสภาพเศรษฐกิจ เพียงแต่ขอให้มีกล้วย อ้อย ขนมนมเนยเท่านั้น เมื่อเริ่มทำพิธีบูชาครู หัวหน้าคณะจุดธูป 3 ดอก ตั้งนะโม 3 จบ เพื่อไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พร้อมกล่าวตำสักการะดังนี้

“พระพุทธบูชามหาเตชะวันโต
ธัมมะบูชามหาปัญญะวัณโณ
สังฆะบูชามหาโภคะวะโท ติโลกะเสฏฐัง อะภอปูชะยามิ”
แล้วจึงกล่าวชุมนุมเทวดาว่า “สัคเคกาเม”

ต่อจากนั้นหัวหน้าคณะจุดเทียนและธูป 9 ดอก ผู้ร่วมคณะจุดธูปคนละดอก หัวหน้าคณะกล่าวโองการเชิญครู ถวายเครื่องสักการะจนเสร็จพิธีอ่านโองการ แล้วจึงนำธูปปักตามเครื่องสังเวยต่างๆที่ตั้งไว้

กรณีจัดพิธีบูชาครูอย่างใหญ่มีดนตรีปี่พาทย์ อาจจะเรียกหน้าพาทย์ คือการบรรเลงเพลงประกอบการมาของเทพหรือครูในฝ่ายต่างๆ ถ้าเป็นพิธีธรรมดาไม่มีดนตรีปี่พาทย์ก็ไม่ต้องมีการเรียกหน้าพาทย์

หลังจากปักธูปสังเวยพอสมควรแก่เวลาแล้ว “ลา” เครื่องเซ่นสังเวย โดยผู้ลาต้องอธิษฐานว่า “เสสัง มังคะลา ยาจามิ” เป็นการถอนเครื่องเซ่นเพื่อนำมาเลี้ยงดูกัน รวมทั้งแบ่งเครื่องสังเวยคาวหวานอย่างละเล็กละน้อยใส่ใยตองไปวางไว้ตามริมประตูหรือตีนบันได เพื่อเซ่นพวกตีนโรง-ตันศาล (อมมนุษย์ที่เป็นบริวารของแต่ละครูบาอาจารย์)   อย่างไรก็ตาม ในการำไหว้ครูของหุ่นกระบอกไม่เคยปรากฎหลักฐานใดๆว่ามีการครอบหุ่นเช่นเดียวกับพิธีครอบครูโขนละคร มีเพียงพิธีที่เรียกว่า “การประสิทธิ์” โดยครูอาวุโสจะจับหุ่นพ่อแก่ส่งให้ศิษย์ พอศิษย์จับไม้กระบอกลำตัวหุ่นและตะเกียบของพ่อแก่แล้ว ครูจะอุ้มประกบมือศิษย์ไว้พร้อมกับกล่าวบริกรรมประสิทธิ์ปราสาทวิชา และให้ศีลให้พรแก่ศิษย์เป็นอันเสร็จพิธีนอกจากนั้น ศีรษะหุ่นแต่ก่อนโดยเฉพาะตัวเอกมักได้รับการ “เบิกพระเนตร” จากครูบาอาจารย์ที่มีคมถาอาคม เพราะถือกันว่าหุ่นที่ได้รับการเบิกเนตรแล้ว เมื่อนำออกแสดงจะดูราวกับมีชีวิตจริงๆ เป็นที่ติดอกติดใจผู้ชม พอมาในสมัยหลังๆสำหรับหุ่นที่สร้างขึ้นใหม่ เมื่อมีพิธีบูชาครูครั้งใดมักจะนำมาตั้งเข้าพิธีด้วย ถือว่าเป็นการเบิกพระเนตรหุ่นทางอ้อม มิฮะนั้นหัวหุ่นจะเป็นเพียงหัวตุ๊กตาธรรมดาเท่านั้น

หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย