ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การการแสดงหุ่นกระบอกทุกครั้ง ตัวหุ่นพระครูฤาษีและหุ่นทุกตัวที่จะแสดงในวันนั้นๆจะถูกตั้งเสียบแกนไม่ไว้ทางขวามือของประตูขวาที่หุ่นจะออกอันเป็นที่ตั้งหุ่นประจำ เพื่อให้ครูอาวุโสหรือผู้ที่จะเป็นผู้เชิดตัวนายโรงรำช้าปี่ไหว้ครู จุดธูปเทียนบูชาคุณพระรัตนตรัย ต่อจากนั้นจะสักการะเทพเจ้า อันถือว่าเป็นบรมครูแห่งศิลปะ การแสดง และวิชาดนตรี อันได้แก่
- พระอิศวร
- พระนารายณ์
- พระครูฤๅษีทั้ง 5 พระองค์คือ พระฤๅษีนารอท พระฤๅษีนาไล พระฤๅษีตาไฟ พระฤๅษีตาวัว และพระฤๅษีประไลยโกฏิ
- พระพิฆเนศ
- พระพิราพป่า
- พระครูทศ(ทศกัณฑ์)
- พระครูนายโรง
- พระครูเหน่ง
- พระครูแหน
นอกจาหนี้ บางคณะยังมีเทพเจ้าทางศิลปะเพิ่มอีก 3 พระองค์คือ
- พระประโคนธรรพ เป็นเทพเจ้าทางศิลปะแห่งการดนตรี ถือเป็นครูแห่งปี่พาทย์
- พระปัญจสีขร เป็นเทพเจ้าแห่งการดนตรีถือเป็นครูเครื่องสาย
- พระวิสสุกรรม หรือบางทีเรียกว่า พระเพชฉลูกรรม เป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะวิชาการช่างต่างๆ ได้แก่ ช่างเขียน ช่างแกะ ช่างหล่อ ช่างปั้น
เมื่อครูอาวุโสหรือผู้เชิดตัวนายโรง หรือหัวหน้าคณะจุดธูป 3 ดอก ตั้งนะโม 3 จบ ไหว้คูณพระศรีรัตนตรัยแล้ว จากนั้นจึงจุดเทียน 1 เล่ม ธูป 9 ดอก สักการะเหล่าเทวดาและครูบาอาจารย์ ขอให้มาประสิทธิ์ประสาทให้เล่นได้ดีเป็นที่นิยมแก่คนทั่วไป จบแล้วจึงปักธูป ในการบูชาครูนี้ ผู้แสดงหรือผู้เชิดหุ่นทุกคนต้องจุดธูปคนละ1 ดอกร่วมบูชาครูด้วย พอตัวนายโรงจิอิกรำช้าปี่ไหว้ครู ผู้เชิดตัวนยโรงจะนำหุ่นตัวเอกมาบริกรรมอีกครั้งก่อนจะออกฉาก ทั้งนี้เป็นคำบริกรรมเฉพาะบุคคล สรุปใจความว่าให้การแสดงเป็นที่ติดตาต้องใจแก่ผู้ชมทั่วไป ปราศจากอุปสรรคใดๆ จากนั้นปี่พาทย์จะลงวา-ซออู้-เสมอ-รัว แล้วจึงร้องช้าปี่ เมื่อจบเพลงช้าปี่ ปี่พาทย์จะทำเพลงรัวสามลาจนจบเพลง หุ่นรำเข้าฉากแล้วจึงจะเริ่มเรื่องต่อไป สำหรับตัวรำไหว้ครูนี้ เท่าที่ปรากฎมักใช้ตัวนายโรงหรือตัวพระเอกออกรำ ด้วยถือกันว่าทำให้คนดูติดอกติดใจเพราะทั้งบทร้องและท่าร่ายรำมีเสน่ห์ชวนมอง จนดึงดูดใจให้ผู้ชมไม่ลุกหนีไปที่อื่น ดังนั้นการรำไหว้ครูจึงถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญ หุ่นบางคณะ เช่นคณะเชิดชูชำนาญศิลป์ จ.สมุทรสงคราม จึงให้ตัวพระ นางและสินสมุทร ออกรำไหว้ครูพร้อมๆกัน
หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก