ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

หุ่นกระบอก

นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7

โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก

ในอดีตการแสดงหุ่นกระบอกเป็นที่นิยมทั้งในงานหลวงและงานราษฎร์ การแสดงในงานหลวงหรืองานทางราชการ ได้แก่ งานสมโภชตามนักขัดฤกษ์ต่างๆ งานพระศพของเจ้านายหรือที่เรียกว่า “งานพระเมรุ” ซึ่งจะต้องมีการแสดงมหรสพตามช่องระทา เช่นโขน ละคร หุ่นหนังใหญ่ เป็นต้น  

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้เลิกการแสดงมหรสพต่างๆตามช่องระทาเสีย งานหลวงที่มีหุ่นกระบอกแสดงจึงเหลือแต่งานประจำปีที่ทุ่งพระสุเมรุ หรือท้องสนามหลวงเท่านั้น เช่น งานสงกรานต์ งานปีใหม่ งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ฯลฯ สำหรับงานราษฎร์ ที่นิยมนำหุ่นกระบอกไปแสดงส่วนใหญ่มักเป็นงานศพซึ่งมี่ทั้งผู้ตายเป็นผู้สั่งเสียไว้ก่อนล่วงหน้า หรือไม่เจ้าภาพก็มีความประสงค์จะให้มีการเล่นละเล่นครึกครื้น อันถือเป็นประเพณีของไทยที่มีมายาวนาน

การเล่นหุ่นในงานศพ โดยทั่วไปมักเล่นใน 2 ช่วงเวลา กล่าวคือ เล่นตอนใส่ไฟตอนเย็นระยะเวลาหนึ่งด้วยเรื่องราวสั้นๆ แล้วจึงเริ่มเล่นอีกครั้งตองสองทุ่มไปจนถึงสองยาม บางครั้งเจ้าภาพก็ว่าจ้างเล่นเพียงคืนเดียว บางครั้งก็หลายคืน นอกจากนี้ยังนิยมว่าจ้างหุ่นกระบอกไปเล่นในงานทำขวัญจุก งานทำขวัญนาค และเล่นแก้บนต่างๆอีกด้วย  อย่างไรก็ตาม หุ่นกระบอกสมัยแรกๆมักมีผู้ว่าจ้างไปเล่นตามบ่อนการพนันเพื่อดึงคนให้เข้าบ่อน เพราะในสมัยนั้นคนนิยมเล่นการพนันกันมาก เช่น หุ่นคณะนายวิง รับเล่นในบ่อนแถววังหลังเป็นประจำแบบ “งานเหมา” คือเหมาเล่นเป็นเดือนโดยเล่นวันละสองเวลาคือ บ่ายและกลางคืนจนกระทั่งทางราชการสั่งให้เลิกบ่อน หุ่นกระบอกตามโรงบ่อนจึงเลิกไปด้วย  ปัจจุบันการหาหุ่นไปแสดงตามงานศพยังมีอยู่บ้างประราย แต่งานประจำปีต่างๆที่ท้องสนามหลวงได้เลิกไปแล้ว การแสดงหุ่นกระบอกจึงหาดูได้ยากมากขึ้นทุกที จะให้มีชมอยู่บ้างในวาระที่มีการจัดงานเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย หรือโอกาสพิเศษซึ่งมักจัดโดยหน่วยงานราชการ เช่น มหกรรม “หุ่นนานาชาติ” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้ายู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในมหามงคลวโรกาสกาญจนาภิเษก ฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2539  ความเชื่อและพิธีกรรมในการแสดงหุ่นกระบอก    หุ่นกระบอกทุกคณะจะมีพิธีกรรมและความเชื่อในการแสดงคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ตัวหุ่นที่สำคัญที่สุดที่ทุกคณะจะต้องมีคือ ตัว “พระครูฤๅษี” หรือที่เรียกกันว่า “พ่อแก่” ซึ่งถือกันว่าเป็น “พระภรตมหาฤๅษี” บรมครูแห่งนาฏศิลหุ่นพระครูฤๅษีหรือพ่อแก่นี้จะต้องนำไปตั้งบูชาด้วยดอกธูปเทียนทุกครั้งที่มีการแสดง หรือแม้ไม่มีการแสดงก็มักบูชาไว้ในที่อันสมควร

หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย