ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

หุ่นกระบอก

นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7

เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง

เรื่องที่หุ่นกระบอกที่นิยมแสดงก็คือเรื่องที่ละครนิยมนำมาเล่นแต่ไม่นิยมนำละครในมาเล่น เนื่องด้วยละครในดำเนินเรื่องช้า มีบทร้องและการบรรเลงที่ต้องการแสดงถึงความงดงามในการร่ายรำของตัวละคร ซึ่งไม่เหมาะกับการแสดงหุ่น ยกเว้นละครในเพียง 2 เรื่อง คือ อิเหนา และอุณรุทที่หุ่นกระบอกนำมาแสดง

เรื่องและตอนที่หุ่นกระบอกนิยมแสดงมีดังนี้

  1. พระอภัยมณี นิยมเล่นตอนหนีผีเสื้อ ศึกเจ้าละมาน ศึกเก้าทัพ และหลงรูปละเวง
  2. ลักษณวงศ์ นิยมเล่นตอนประหารลักษณวงศ์กับนางสุวรรณอำภา ยุขันพาพราหมณ์เข้าเฝ้าถวายตัว และตอนยี่สุ่นขึ้นหึง-ฆ่าพราหมณ์
  3. คาวี นิยมเล่นตอนสันนุราชชุบตัว-คันธมาลีขึ้นหึง
  4. สุวรรณหงส์ นิยมเล่นตอนกุมภณฑ์ถวายม้า และชมเขาเพชร
  5. ไชยเชษฐ์ นิยมเล่นตอนขับนางสุวิญชา และนางแมวเย้ยซุ้ม
  6. ไกรทอง นิยมเล่นตอนชาละวัน (เมื่อชาละวันคาบนางตะเภาทองลงน้ำและไกรทองจุดเทียนชนวนลงไปปราบชาละวัน) และตอนพ้อล่าง พ้อบน (ตะเภาแก้ว ตะเภาทองขึ้นหึงนางวิมาลา)
  7. ขุนช้าง-ขุนแผน นิยมเล่นตอนวันทองห้ามทัพพระไวยยก(พระไวยแตกทัพ) จับเถรขวาด และจับเสน่ห์สร้อยฟ้า
  8. วงศ์สวรรค์-จันทวาส นิยมเล่นตอนตรีสุริยา-จินดาสมุทร พี่น้องรบกัน และตอนจินดาสมุทรหนีแม่
  9. พระปิ่นทอง (แก้วหน้าม้า) นิยมตอนแก้วหน้าม้าถวายลูกและตอนลูกแก้วหน้าม้า

นอกจากนี้ยังมีนิทานคำกลอนและเรื่องจักรๆวงศ์ๆที่ “ที่โรงพิมพ์วัดเกาะ” พิมพ์ออกจำหน่ายและคนนิยมอ่าน จึงมีผู้นำมาดัดแปลงเล่นกับหุ่นกระบอก เช่น เรื่องศรนรินทร์ สุริยัน ลิ้นทอง มาลัยทอง โกมินทร์ ฯลฯ              
วรรณคดีอีกเรื่องหนึ่งที่นิยมนำมาเล่นในหุ่นกระบอกก็คือ “รามเกียรติ์” ดังเห็นได้จากศีรษะหุ่นกระบอกของทุกคณะที่ยังเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นศีรษะยักษ์ ลิงฯลฯ ขณะที่ตัวเอกบางตัวมีถึง 2 ศีรษะ เช่น คระหุ่นจางวางต่อ ณ ป้อมเพชร มีหัวหนุมาน 2 หัวทศกัณฑ์ทั้งหน้าเขียวและหน้าทองอย่างละหัว หรือคณะหุ่นจางวางทั่ว พาทยโกศล ก็เป็นอีกคณะหนึ่งที่มีหัวหุ่นเรื่องรามเกียรติ์อยู่ครบชุด              

เรื่องรามเกียรติ์ตอนที่นิยมนำมาแสดงในหุ่นกระบอกมีดังนี้

  1. สามทหารยก (พระรามใช้ให้ชมพูพาน หนุมาน องคต สืบมรรคาไปลงกา)
  2. นางลอย
  3. ท้าวมาลีวราชว่าความ
  4. สีดาหาย-พระรามตามกวาง
  5. จองถนน

แม้เรื่องรามเกียรติ์จะเป็นที่นิยมมาแสดงในคณะหุ่นกระบอกหลายคณะ แต่มีคณะหุ่นกระบอกอยู่คณะหนึ่งที่ไม่แสดงเรื่องนี้ นั่นก็คือหุ่นกระบอกคณะนายเปียก ประเสริฐกุล ทั้งนี้เพราะนายเปียกถือว่าการแสดงโขนมีเพลงหน้าพาทย์มาก แต่หุ่นกระบอกทำท่าได้ไม่มากเท่ากับคนจริง ทั้งยังต้องใช้คนเชิดเยอะ แต่ถึงแม้จะไม่ได้เล่นเรื่องรามเกียรติ์ คณะนายเปียกก็ยังมีศีรษะยักษ์-ลิงในเรื่องรามเกียรติ์อยู่เช่นกัน อาทิ หัวหนุมาน หัวทศกัณฑ์หน้าทอง อินทรชิต สุครีพ องคต ฯลฯ

หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย