ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

หุ่นกระบอก

นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7

การแสดง

เมื่อได้เวลาเริ่มแสดง ปี่พาทย์จะทำเพลงวา ส่วนซออู้จะทำเพลงหุ่น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการแสดงหุ่นกระบอก จากนั้นปี่พาทย์ทำเพลงเสมอให้ตัวพระออกฉากมารำไว้ครูเบิกโรงด้วยเพลงช้าปี่ แล้วออกเพลงปีนตลิ่งจนจบ จากนั้นปี่พาทย์จึงทำเพลงรัวสามลา พอลาที่สามลงหุ่นจึงจะเข้าฉากได้

นอกจากนี้ หุ่นบางคณะพอปี่พาทย์ทำเพลงวาแล้ว จะทำเพลงเสมอให้หุ่นออกฉากมารำไหว้ครูทันที โดยไม่มีเพลงหุ่นคั่น

สำหรับเพลงวานี้เข้าใจว่าแต่ก่อนคงไม่นิยมใช้ประกอบการเดินออกมานั่งเตียงของโขนหรือละครอย่างในปัจจุบัน เพราะเพลงวาเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ดังจะเห็นได้ว่านักดนตรีและศิลปินโขนละครเมื่อได้ยินเพลงวาจะยกมือขึ้นไหว้เป็นการสักการะแก่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เทพเจ้าชั้นสูง และพระมหากษัตริย์ผู้เปรียบเสมือนสมมติเทพ

ดังนั้น โขนละคนสมัยก่อนถึงแม้จะสวมบทบาทเทพเจ้าหรือกษัตริย์องค์ใดก็ไม่นิยมออกฉากด้วยเพลงวา หรือใช้เพลงวามาประกอบการร่ายรำตอนใดตอนหนึ่งในเรื่อง แต่มักจะใช้เพลงเสมอเป็นการออกฉาก หลังจากปี่พาทย์ทำเพลงวาแล้ว  แต่เหตุที่โขนละครนิยมใช้เพลงวาเป็นเพลงสำหรับตัวโขนละครอย่างในปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงเล่าไว้ใน “บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ” ที่ทรงมีถึงพระยาอนุมาราชธนว่า       

          “...เหตุที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเพลงละครนอกนั้น มาแต่ละครหลวง ต้องคอยเสด็จละครจึงจะลงโรงได้ เมื่อเสด็จลงแล้วจะทำโหมโรงให้เสด็จมาคอยอยู่ก็ไม่ได้ ต้องตัดทำเพลง “วา” ท้ายโหมโรงเท่านั้น หรือถ้าทำโหมโรงก่อนเสด็จถึง “วา” ก็ต้องหยุดไว้ ทำ “วา” ต่อเมื่อเสด็จลง จึงพาให้เข้าใจไปว่า เพลงวาเป็นเพลงละครนอก”  ข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นว่า เพลงวาเป็นเพลงทำขึ้นเพื่อเป็นการเคารพสักการะเอาฤกษ์เอาชัย พร้อมกับเป็นการประกาศเริ่มการแสดง และเมื่อจบการแสดงแล้วยังมีการทำเพลง “วาลงโรง” เพื่อเป็นการเคารพสักการะอีกครั้งด้วยเหตุผลเดียวกัน แต่ในปัจจุบันปรากฏว่า การมหรสพไม่มีการทำเพลงวาลงโรงแล้ว แต่เปลี่ยนเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีแทน      

ดนตรีประกอบการแสดง สำหรับวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงหุ่นกระบอก โดยมานิยมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าเช่นเดียวกับการแสดงโขนละคร ซึ่งประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองแขก กลองทัด ต่อมาในสมัยหลังจึงได้มีการเพิ่มระนาดทุ้มเข้า เพื่อเป็นคู่ล้อคู่ขัดกับระนาดเอกในบางกรณี และใช้ฉิ่ง กรับ เป็นเครื่องกำกับจังหวะ สำหรับเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของการแสดงหุ่นกระบอกที่จะขาดเสียมิได้ ได้แก่

  1. ซออู้ เป็นซอสองสาย กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวขนาดใหญ่ ด้านหลังกะโหลกซอมักเป็นลายฉลุโปร่ง เพื่อให้สียงซอดังกังวาน คันชักทำด้วยไม้เนื้อแข็งเหนียว เช่น ไม้ชิงชัน ไม้แดง สายคันชักทำด้วยหางม้าเหมือซอทั่วไป ซออู้นี้มีเสียงทุ้มค่อนข้างเศร้า เหมาะแก่การสีเคล้าไปกับการร้องเพลงหุ่น
  2. กลองต๊อก เป็นกลองจีนขนาดเล็กมีสองหน้า หน้าใหญ่กว้างประมาณ 8 นิ้ว หน้าเล็กกว้างประมาณ 3 นิ้ว ใช้ไม้ตี 2 อัน มีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 10 นิ้ว ใช้ตีประกอบจังหวะไปพร้อมกับซออู้และการขับร้อง
  3. แต๋ว มีลักษณะกลมแบนยกขอบเล็กน้อย ทำด้วยทองบุหรือทองม้าล่อ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ่ว ใช้ถือตีด้วยไม้เล็กยาวประมาณ 6-7 นิ้ว ใช้ตีล้อตีขัดไปกับกลองต๊อก

นอกจากนี้ ยังมีม้าล่อ ล่อโก๊ะ หรือผ่าง ซึ่งทำด้วยโลหะผสมพิเศษ มีลักษณะกลมแบนยกขอบประมาณ 1 นิ้ว มีขนาดตั้งแต่ 15 นิ้วขึ้นไป ตรงขอบเจาะรูร้อยเชือกสำหรับถือหรือแขวน ตีด้วยไม้หัวหุ้มนวมหรือไม้หัวแข็ง ใช้ตียืนจังหวะหรือเล่นสลับกับกลองจีน

หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย