ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7
ลำตัวหุ่นกระบอก
ลำตัวของหุ่นกระบอกคือ กระบอกไม้ไผ่รวกยาวประมาณ 1-2 ฟุต กระบอกไม้ไผ่ที่ทำเป็นลำตัวหรือแกนให้คนเชิดจับถือควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 นิ้ว ปัจจุบันช่างประดิษฐ์หุ่นกระบอกบางคนใช้ท่อพลาสติกที่มีขนาดไล่เลี่ยกับกระบอกไม้ไผ่เป็นแกนลำตัวหุ่นกระบอก เพราะหาได้ง่ายและมีน้ำหนักเบา หุ่นกระบอกจะมีไหล่ทำด้วยไม่เนื้อเบาเจาะรูตรงกลาง สำหรับเสียบไม้กระบอกแกนลำตัวและเสียบหัวหุ่น โดยทั่วไปหุ่นกระบอกของแต่ละคณะจะมีสัดส่วนเท่ากันโดยประมาณ จะใหญ่เล็กกว่ากันไม่มากนัก ส่วนประกอบของลำตัวหุ่นกระบอกที่ทำด้วยไม้และไม้ไผ่จะอยู่ภายในเสื้อ ซึ่งต้องคลุมไว้อย่างมิดชิด สัดส่วนของหุ่นกระบอกที่เชิดได้สะดวกมีดังนี้
- ไหล่หุ่นยางจากปลายไหล่ด้านหนึ่งถึงปลายอีกด้านหนึ่ง 5 นิ้ว
- ไม้กระบอกยาวจากไหล่ถึงปลายไม้ 8 นิ้ว
- เสื้อหุ่น จากปลายเสื้อด้านล่างถึงไหล่14-15 นิ้ว และจากปลายมือด้านหนึ่งถึงอีกด้านหนึ่ง 17-20 นิ้ว
- ตะเกียบ (ไม้ไผ่เหลาเล็กเสียบต่อจากมือสำหรับจับเชิด) 15-16 นิ้ว
อย่างไรก็ตาม สัดส่วนเหล่านี้มิได้กำหนดไว้ตายตัว แต่อาจยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมกับลักษณะและสัดส่วนของตัวละคร เช่น กุมาร ยักษ์ เป็นต้น
หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก